ปัญหาน้ำนมแม่ น้ำนมน้อย แม่ให้นมเครียดสุด เรื่องจริงหรือแม่คิดไปเอง

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องรู้ไว้! ปัญหาน้ำนมแม่ แม่น้ำนมน้อย เป็นเรื่องจริงที่ต้องกังวล หรือแม่ ๆ คิดไปเอง มาไขคำตอบไปกับ 7 ความเข้าใจผิด ของแม่ ๆ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาน้ำนมแม่ น้ำนมน้อย

ปัญหาน้ำนมแม่ น้ำนมน้อย เรื่องจริงหรือแม่คิดไปเอง! เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย โดยแอดมินกุ๊ก #มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้โพสต์เรื่องความเข้าใจผิด 7 ประการที่ทำให้คิดว่าตัวเองมี #น้ำนมน้อย ซึ่ง 7 เหตุผลที่คุณแม่ชาวออสเตรเลียเข้าใจผิดคิดว่าตัวเอง “มีน้ำนมน้อย” ความเข้าใจผิด 7 ประการนี้ก็ไม่ต่างกันนักกับแม่ไทย ควรหาสาเหตุก่อนที่จะโทษตัวเองว่ามีน้ำนมน้อยนะคะ

 

เต้านมไม่คัด

การรู้สึกว่าเต้านมไม่คัดตึงในอาทิตย์แรก ๆ ทั้ง ๆ ที่ความจริงลูกดูดนมได้ดีและดูดบ่อย (นมระบายออกจากเต้าตลอดเวลาจึงไม่คัด) ก็เลยคิดว่าน้ำนมไม่พอ ถ้าเด็กน้ำหนักขึ้นดี ขับถ่ายปกติ ไม่มีปัญหา

 

ลูกหลับยาวเลยไม่ปลุก

ความจริงช่วงแรกเกิดใหม่ ๆ เป็นช่วงที่ต้องปลุกให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ค่ะถึงจะได้มีน้ำนมพอ ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ถ้าหากว่าลูกหลับนานกว่า 3 ชั่วโมงก็ควรปลุกลูกขึ้นมาดูดนมด้วยเหมือนกันเพราะลูกอาจได้รับนมไม่พอ ตัวคุณแม่เองก็อาจจะมีปัญหาเต้านมคัดและน้ำนมลดลงได้เช่นกัน

คุณแม่สามารถให้ลูกดูดนมได้บ่อยตามความต้องการของลูก เรียกว่าหิวเมื่อไรก็ให้กินเมื่อนั้น แต่โดยมากลูกจะดูดนมประมาณ 8-12 ครั้งต่อวันซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็ว คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดกับการให้นมลูกตามเวลามากนักก็ได้ เพราะในแต่ละมื้อลูกอาจดูดนมได้ไม่เท่ากัน เพียงแค่หมั่นสังเกตว่า ลูกต้องการอย่างไรและเมื่อไรก็พอ เช่น บางครั้งลูกดูดนมแม่ไปสักระยะอาจผล็อยหลับได้ ก็ให้ใช้มือขยับเต้านมและบีบกดลงเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกดูดนมต่อเนื่อง เป็นต้น

สำหรับเทคนิคปลุกลูกขี้เซาให้ลุกขึ้นมาดูดนม

  • หรี่แสงไฟในห้องลง เพราะถ้าแสงจ้า ลูกจะหลับตา
  • ถ้าห่มผ้าหรือสวมเสื้อหนา ให้เปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่บางลง เพราะลูกจะหลับง่ายถ้าอุ่นมาก
  • พูดคุยกับลูก และพยายามจ้องตาด้วย
  • เขี่ยมือและเท้า หรือลูบหลังลูก
  • เปลี่ยนผ้าอ้อม
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณหน้าผากและแก้ม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ร้องหงุดหงิดขณะดูดนม

การที่ลูกมีอาการร้องหงุดหงิดขณะดูดนมแม่ ไม่ได้หมายความว่าแม่มีน้ำนมน้อย ยังมีหลายสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องขณะดูดนม เช่น น้ำนมพุ่งแรงเกินไปจนลูกกลืนไม่ทัน (fast let down reflex) ดังนั้น ถ้าลูกร้องต้องหาสาเหตุก่อน

  1. คุณแม่ที่มีน้ำนมไหลพุ่งแรงจนทำให้ลูกกลืนไม่ทัน มีอาการสำลักและเบือนหน้าหนีออกจากเต้าไม่ยอมดูด อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลูกจึงไม่ยอมดูด เป็นสาเหตุหนึ่งของการหันไปพึ่งนมผสมเสริม คุณแม่ที่มีน้ำนมพุ่งจะพบว่าพอลูกถอนปากเมื่อเริ่มดูดนมจะมีน้ำนมพุ่งแรงใส่หน้าลูกหรือเต้านมอีกข้างมีน้ำนมพุ่งออกแรงด้วย
  2. อาศัยท่าในการให้นม ให้แม่อยู่ในท่านอนหงาย ให้ลูกนอนคว่ำบนอกแม่ หรือใช้ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนเพราะจะทำให้น้ำนมไหลช้าลง เมื่อลูกดูดไปได้สักพัก น้ำนมจะไหลช้าลงเป็นปกติ คุณแม่ก็สามารถเปลี่ยนกลับท่าอื่นได้
  3. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบบริเวณลานนม หรือใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางคีบเหมือนคีบบุหรี่บริเวณลานนมเพื่อกดท่อน้ำนมทำให้น้ำนมไหลช้าลง แต่เมื่อน้ำนมไหลช้าลงแล้ว ก็เปลี่ยนมือเป็นท่าประคองเต้านมได้
  4. บีบน้ำนมออกเล็กน้อยก่อนให้ลูกดูด แต่อย่าบีบออกเยอะ มิฉะนั้น เต้านมจะสร้างน้ำนมมากขึ้น น้ำนมอาจพุ่งมากขึ้น

 

อ่านปัญหาน้ำนมแม่ น้ำนมน้อย ต่อหน้าถัดไป

ดูดนมแม่บ่อย+ดูดนาน

การดูดนมบ่อยหรือดูดนมนานในคู่แม่ลูกแต่ละคนแตกต่างกันไป ไม่ได้แปลว่าเพราะแม่มีน้ำนมน้อย ตราบใดที่ลูกกินนมแล้วแสดงอาการว่าได้รับน้ำนมเพียงพอ เช่น ถอนปากเอง ฉี่บ่อย 6-8 ครั้งต่อวัน อึอย่างน้อย 1 ครั้งทุกวัน น้ำหนักขึ้นปกติ แต่ถ้ากินไปหลับไปไม่ดีแน่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พญ.ปิยาภรณ์ บวรกีรติขจร อธิบายไว้ว่า แม่เห็นลูกหลับจึงเอาลูกออกจากเต้าเพราะเข้าใจว่าลูกอิ่มแล้ว พอจะเอาออกก็ร้องขอดูดต่อ หรือหลับได้ครู่เดียวก็ร้องหิวใหม่อีก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองน้ำนมน้อย แนะนำให้คุณแม่สังเกตว่าถ้าลูกหลับขณะกินนมและคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม แต่ถ้ายังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบาๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อโดย

  • ใช้นิ้วชี้ที่ประคองด้านล่างของเต้านมเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้ดูดต่อ
  • ใช้ มือบีบเต้านมเพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง แต่ถ้าบีบไล่น้ำนมสักพักแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะน้ำนมในเต้านั้นลดน้อยลงและไหลช้าลง ก็ให้เปลี่ยนไปอีกเต้าหนึ่ง ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง
  • ถ้าไม่ยอมตื่นดูดต่อ ให้เอาลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่นก่อน จึงนำเข้าเต้าเพื่อดูดนมอีกครั้ง

www.facebook.com/Thaibf/photos/a.387000974740813.1073741830.210210932419819/408890799218497/?type=3&theater

 

บีบน้ำนมได้น้อย

การดูดของลูกเป็นการเอาน้ำนมออกจากเต้าดีที่สุด การบีบน้ำนมเป็นทักษะที่แม่ต้องฝึก บีบผิดวิธีนมก็ออกน้อย แม่มักจะมีน้ำนมมากตอนเช้ามากกว่าตอนสาย ๆ ช่วงก่อนลูกดูดนมและหลังดูดนมก็ต่างกัน ดังนั้น การบีบน้ำนมได้น้อยไม่ได้หมายถึงมีน้ำนมน้อยเสมอไป วิธีบีบนมด้วยมือที่ถูกต้องทำตามนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

www.facebook.com/Thaibf/photos/a.387000974740813.1073741830.210210932419819/504564392984470/?type=3&theater

 

ดูดนมขวดต่อได้

ถึงแม้ลูกจะดูดนมแม่ได้เพียงพอแล้ว แต่ถ้าแม่ให้นมขวดเพิ่ม ลูกสามารถดูดนมต่อได้อีกจนได้รับปริมาณนมมากเกินต้องการ แต่แม่มักจะคิดว่านมตัวเองมีไม่พอ กลับสร้างปัญหาใหม่จากการเสริมนมผสม

 

อยู่ ๆ ก็ไม่ยอมดูดนมทั้งที่ยังหิว

ลูกอายุ 5 สัปดาห์ กำลังดูดนมแม่แล้วอยู่ ๆ ก็ไม่ยอมดูดนม ทั้ง ๆ ที่มีอาการหิวนมอยู่ เลยคิดว่านมแม่ไม่พอ ลูกเดือนแรกมักจะหลับคาอกแม่ หลังจากหนึ่งเดือนแล้ว ถ้าน้ำนมแม่ไหลช้าลง ลูกอาจยังหิวนมอยู่ อาจจะร้องขณะดูดนม ทำให้แม่ไม่มั่นใจคิดว่านมแม่ไม่พอ แม่สามารถช่วยด้วยการทำ breast compression (บีบด้านบนเต้า) หรือเปลี่ยนให้ลูกดูดนมอีกข้างค่ะ

 

ที่มา : https://www.facebook.com/pg/Thaibf

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่ ลูกถ่ายจนก้นแดง เป็นสิบครั้ง ทั้งที่กินนมแม่อย่างเดียว

ลูกอาเจียน แหวะนม สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

ลูกบ้านไหนชอบ หลับคาเต้า ทำไมน้า เด็กๆ เข้าเต้าแล้วเฝ้าพระอินทร์ตลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team