ประสบการณ์ตรง แม่ติดเชื้อ แบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ส่งผลคร่าชีวิตลูกแรกเกิด

ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่ ที่สูญเสียลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอด เนื่องจากคุณแม่ติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ในช่องคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประสบการณ์ตรงจากกลุ่ม คนท้องคุยกัน เมื่อคุณแม่ Mai Little Pick ได้โพสต์เรื่องราวในกลุ่ม เล่าถึงการสูญเสียลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอด เนื่องจากคุณแม่ติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ในช่องคลอด จนทำให้ลูกได้รับเชื้อตัวนี้เข้าสู่กระแสเลือด โดยติดเชื้อจากแม่ด้วยวิธีการคลอดธรรมชาติ

ข้อความจากแม่ Mai Little Pick เล่าถึงประสบการณ์ว่า…

ขอแชร์ประสบการณ์นะค่ะ คลอดน้องวันที่ 18/01/2016 น้องหนัก 3800 ตอนนี้น้องเสียแล้ว เสียวันที่ 20/01/2016 สาเหตุเกิดจากเชื้อ streptococcus agalactiae ทางเยอรมัน ญี่ปุ่น อเมริกา จะบังคับคุณแม่ให้ตรวจหาเชื้อตัวนี้ตอนตั้งครรภ์ มัจจุราชเงียบนี้ไม่แสดงอาการออกมาเลย เราได้รับเชื้อนี้มา แต่ตอนท้องคุณแม่แข็งแรงมาก ไม่เคยป่วย และเชื้อตัวนี้ก่อไม่แสดงอาการออกมา ตอนคลอดน้อง คลอดธรรมชาตินะคะ ทำให้น้องได้รับเชื้อนี้ด้วย  ทำให้น้องเกิดมามีภาวะหายใจเร็ว หายใจเหนื่อย สุดท้ายน้องต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อมาเชื้อตัวนี้ได้ไปตามกระแสเลือดทำให้เลือดน้องเป็นกรด สุดท้ายน้องช๊อค ออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงสมอง ทางคุณพ่อเลยตัดสินใจปล่อยน้องไป เหตุการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้น 1 ใน 100 แต่อยากแชร์ประสบการณ์ไว้ให้คุณแม่ทั้งหลาย ดูแลตัวเอง หมั่นเช็คตัวเองดีๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจเหมือนครอบครัวของเราตอนนี้นะคะ

ผศ.นพ. เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ว่า

เชื้อนี้เป็นแบคทีเรียก่อโรคที่พบในช่องคลอดและทวารหนัก ในสตรีตั้งครรภ์พบมีความชุกของเชื้อร้อยละ 10 – 15 ในจำนวนนี้มีเพียง ร้อยละ 3 ที่จะก่อโรคอย่างรุนแรงในทารกแรกเกิด มักแสดงอาการภายใน 7 วันหลังคลอด ในมารดาสามารถตรวจคัดกรองในช่วงสัปดาห์ที่ 35 – 37 ด้วยการเพาะเชื้อจากช่องคลอดและทวารหนัก หรือสามารถเพาะเชื้อจากปัสสาวะในรายที่มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้ ในประเทศไทยจะไม่ได้ตรวจคัดกรองทุกราย แต่จะเลือกให้ยารักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อนี้จากการคลอดโดยให้ตามความเสี่ยง คือในรายที่เจ็บคลอดก่อนกำหนด รายที่น้ำคร่ำรั่วมากกว่า 18 ชั่วโมง รายที่มีการตรวจคัดกรองพบเชื้อในขณะตั้งครรภ์ รายที่มีประวัติบุตรคนก่อนติดเชื้อนี้ โดยการฉีดยาปฏิชีวนะในช่วงรอคลอด เพนนิซิลิน ทุก 6 ชั่วโมง อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนคลอด หรือ ก่อนน้ำคร่ำเดินครับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอเป็นกำลังใจให้กับครอบครัวคุณแม่ Mai Little Pick ด้วยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาจาก กลุ่ม – คนท้องคุยกัน

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ข้อห้าม 7 อย่างที่คุณไม่ควรทำกับช่องคลอด

อาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์บอกอะไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team