บันทึกการตั้งครรภ์ สำหรับแม่ท้องมือใหม่ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 8

บันทึกการตั้งครรภ์ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านคงสงสัยใช่ไหมว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอายุครรภ์เท่าไร มีวิธีการนับอายุครรภ์ทำได้อย่างไรบ้าง แล้วการจดบันทึกนั้นมีประโยชน์กับแม่ท้องอย่างไรบ้างวันนี้เรามีคำตอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บันทึกการตั้งครรภ์ มีประโยชน์อย่างไร คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านคงสงสัยใช่ไหมว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอายุครรภ์กี่เดือนแล้ว มีวิธีการนับอายุครรภ์ทำได้อย่างไรบ้าง วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับประโยชน์ของบันทึกการตั้งครรภ์ การนับลูกดิ้น วิธีดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์มาฝากคุณแม่กัน

 

อย่างที่กล่าวไปว่าการบันทึกอายุครรภ์นั้น หลาย ๆ ท่านคงมีความสงสัยว่าควรจะนับอย่างไร จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจเข้าใจผิดอยู่ เพราะคุณแม่บางท่านอาจเข้าใจว่าการนับอายุครรภ์นั้น เริ่มจากการนับที่ประจำเดือนวันสุดท้าย

 

แท้จริงแล้วการนับอายุครรภ์เริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการเป็นประจำเดือนครั้งสุดท้าย เช่น ประจำเดือนครั้งล่าสุดคือวันที่ 9 มกราคม วันแรกของรอบเดือนถัดไปจะอยู่ในช่วงวันที่ 6 - 12 กุมภาพันธ์ หากไม่มีประจำเดือนมาในวันดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่ามีโอกาสตั้งครรภ์ โดยวิธีการนับที่กล่าวมาอาจขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้หญิงแต่ละคน

 

โรงพยาบาลเปาโล ได้อธิบายถึงการนับอายุครรภ์ไว้ว่า โดยปกติแล้วอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน โดยจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายอย่างที่กล่าวไปด้านต้น (ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน) หรือนับจากวันที่ประจำเดือนถึงกำหนดจะมาแต่ไม่มา เช่น ประจำเดือนมาครั้งล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม และประจำเดือนหมดวันที่ 5 มีนาคม และกำหนดที่ประจำเดือนครั้งต่อไปควรจะมาอีกครั้งคือวันที่ 28 - 29 มีนาคม ดังนั้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาคือวันที่ 1 มีนาคมนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทางโรงพยาบาลเปาโลยังให้เทคนิคง่าย ๆ ในการคำนวณการคลอดไว้ดังต่อไปนี้ โดยอันดับแรกให้นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย แล้วบวกไปอีก 9 เดือน จากนั้นนับบวกต่อไปอีก 7 วัน เช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายคือวันที่ 1 มกราคม ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม จากนั้นนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้กำหนดคลอดตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม หรือทำการนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน เช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของแม่ท้องคือวันที่ 1 มีนาคม ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ กุมภาพันธ์ มกราคม และธันวาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน กำหนดวันคลอดก็ จะตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม เหมือนกับวิธีแรกนั่นเอง

 

คุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่ทราบกำหนดการคลอด อย่าลืมนำเทคนิคดี ๆ จากโรงพยาบาลเปาโลไปใช้กัน และคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายอย่าลืมเข้ารับการฝากครรภ์และตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัด เนื่องจากการเข้าตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดเป็นสิ่งที่ทำให้คุณแม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของลูกน้อยอย่างถี่ถ้วน ถูกต้อง และปลอดภัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บันทึกการตั้งครรภ์

บันทึกการตั้งครรภ์

การบันทึกอายุครรภ์ไม่ได้มีการกำหนดวิธีตายตัว บางครั้งคุณแม่บางคนก็เลือกที่จะจดการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ เหมือนไดอารี่ประจำวัน เช่น วันนี้ลูกดิ้นกี่ครั้ง ทานอาหารบำรุงลูกน้อยอะไรไปบ้าง ลูบท้องคุยกับลูกบ่อยแค่ไหน เพราะการจดบันทึกจะช่วยให้คุณแม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ชัดมากขึ้น นอกจากการนับอายุครรภ์แล้ว การจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยให้คุณแม่สังเกตความผิดปกติของตัวเองได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การจดบันทึกข้อมูลระหว่างการตั้งครรภ์

 

  • การเปลี่ยนแปลงของแม่-ลูก

การจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะจดเกี่ยวกับน้ำหนักตัว เพื่อให้ได้ทราบว่าคุณแม่มีน้ำตัวเกินกว่ามาตราฐานที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ในส่วนของการจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อยนั้นทุก ๆ ครั้งที่คุณแม่ไปพบแพทย์ คุณแม่อาจจะจดว่าการไปอัลตราซาวด์ในครั้งนี้เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรของลูกน้อยในครรภ์บ้าง หรือจดคำอธิบายของคุณหมอว่าในขณะนี้ลูกน้อยกำลังพัฒนาอวัยวะส่วนใดบ้าง

 

  • การกระตุ้นพัฒนาการลูก

ในขั้นตอนนี้คุณแม่อาจจะจดคำแนะนำของคุณหมอว่า การกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ควรทำอย่างไรบ้าง หรือบางครั้งหากเจอแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มาแนะนำวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกก็ควรจดไว้จะได้ไม่ลืม โดยการจดคุณแม่อาจจะจดจำนวนครั้งที่กิจกรรม หรือสิ่งนั้น ๆ ทำไปแล้วกี่ครั้งและอย่างไร จากนั้นปรึกษาคุณหมอว่าสิ่งที่ทำดีพอหรือไม่อย่างไร

 

  • โภชนาการสำหรับลูกน้อยในครรภ์

โภชนาการในช่วงตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญกับทั้งคุณแม่และลูกน้อยเป็นอย่างมาก คุณแม่อาจจะจดข้อมูลสำคัญจากคำแนะนำคุณหมอว่า สารอาหารใดที่เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับลูกน้อย เมนูไหนควรทานและให้ประโยชน์อย่างไรแก่ลูกน้อย เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยบางครั้งคุณแม่อาจจะจดเมนูอาหารที่นอกเหนือจากที่คุณแม่แนะนำเอาไว้ด้วย เพื่อนำไปปรึกษาว่าอาหารดังกล่าวจะส่งผลกระทบอะไรกับลูกน้อยหรือไม่ และที่สำคัญคุณแม่ต้องอย่าลืมดื่มน้ำเยอะ ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน

 

โภชนาการของคุณแม่นั้น นอกจากเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อย ก็ยังส่งผลดี ๆ ให้กับคุณแม่เสมอ  แต่จะต้องระวังในเรื่องของน้ำหนักตัวเป็นอย่างมาก เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่นั้นส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน โดยน้ำหนักแรกเกิดของลูกน้อยเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของลูกน้อย

 

  • สิ่งที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

สิ่งที่คุณแม่ควรรู้ นอกจากจะเป็นโภชนาการต่าง ๆ แล้ว การจดบันทึกสิ่งที่คุณหมอให้คำแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อยก็เป็นสิ่งสำคัญ อาหารชนิดใดจะเสริมสร้างลูกน้อยได้บ้าง และจะเสริมสร้างอย่างไร นอกจากนี้การออกกำลังกายที่ถูกต้องก็สำคัญเช่นกัน ในส่วนนี้สิ่งที่คุณแม่ต้องจดอาจจะเป็นคำแนะนำที่ควร และไม่ควรทำจากคุณหมอที่ดูแล เพื่อความปลอดภัยทั้งกับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • สุขภาพรายวันของคุณแม่

อย่างที่กล่าวไปว่าทุก ๆ การกระทำของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์นั้นส่งผลถึงลูกน้อยในครรภ์ไม่มากก็น้อย ในเรื่องของสุขภาพนั้น คงเป็นเรื่องดีหากคุณแม่จดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และอาการแปลกต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต เพื่อนำข้อมูลตรงนี้ไปปรึกษาเพิ่มเติมกับคุณหมอ เพราะคุณแม่บางท่านอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยที่ไม่รู้ตัว ฉะนั้นการจดบันทึกพฤติกรรมและอาการของตัวเองขณะตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องจำเป็น

 

บันทึก การตั้งครรภ์

การนับลูกดิ้น

การนับลูกดิ้นเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะการนับลูกดิ้นนั้นเป็นการทำให้คุณแม่ได้ทราบถึงสุขภาพ และความผิดปกติของลูกน้อยได้ครรภ์ได้ การดิ้นของลูกน้อยบ่งบอกสิ่งต่าง ๆ ให้กับคุณแม่เป็นอย่างมาก

 

โดยในกรณีที่ลูกน้อยไม่ดิ้น พญ.ธาริณี ลำลึก สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า การนับจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์นั้นสามารถบอกถึงสุขภาพ หรือความผิดปกติของลูกน้อยได้ โดยเมื่อไรก็ตามที่ลูกดิ้นน้อยลง อาจเกิดจากภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย อาจเกิดจากน้ำคร่ำน้อย หรือสายสะดือผูกเป็นปม โดยทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นเป็นเวลา 12 - 48 ชั่วโมงก่อนที่จะเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้น แนะนำว่าให้นับลูกดิ้นวันละ 1-2 ครั้ง โดยอาจะแบ่งเป็นเช้า 1 ครั้ง และเย็น 1 ครั้ง

คุณหมอยังแนะนำอีกว่า ให้คุณแม่เริ่มนับเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 โดยให้นับจากการที่ลูกน้อยในครรภ์กระแทกที่ครรภ์ 1 ครั้ง ให้นับเป็นลูกดิ้น 1 ครั้ง และลูกกระแทกอีก 1 ครั้ง ให้นับเป็น 2 ครั้ง โดยภายใน 1 ชั่วโมงจะต้องได้มากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป ถ้าในชั่วโมงแรกไม่ถึง 4 ครั้ง เริ่มนับชั่วโมงที่ 2 และหากในชั่วโมงที่ 2 ก็ยังไม่ถึง 4 ครั้ง คุณแม่ต้องรีบมาโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์โดยด่วน และที่สำคัญคุณหมอยังแนะนำอีกว่า ในการนับลูกดิ้นนั้นให้คุณแม่ใช้เวลาเดิมในการนับทุก ๆ วัน หรือถ้าไม่แน่ใจ และรู้สึกว่าทารกดิ้นน้อยลงให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์

 

วิธีดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์

บันทึก การตั้งครรภ์

 

นอกจากการจดบันทึกเพื่อให้คุณแม่ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์แล้ว ยังช่วยในเรื่องของการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์อีกด้วย เพราะการจดบันทึกนั้นจะช่วยให้คุณแม่ได้กลับมาดูว่า ในหนึ่งวันคุณแม่ทานอาหาร และดูแลตัวเองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยอย่างไรบ้าง หรือขาดเหลือสิ่งใดที่ยังไม่ได้ทำ ซึ่งบางครั้งการจดบันทึกดังกล่าวนั้นก็ช่วยทำให้คุณแม่ได้เห็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายเรา โดยบางครั้งอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ฉะนั้นการจดบันทึกจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน

 

วันนี้เราจึงอยากนำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดมาฝากกัน หากคุณแม่พร้อมแล้วก็เตรียมตัวจดบันทึกข้อมูลดี ๆ จากแพทย์หญิงวันวิสาข์ ไชยขนะ สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลรามคำแหงได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้เลย ดังนี้

 

ในเรื่องของอาหารบำรุงครรภ์ควรเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางสูง หากมีอาการแน่นท้องให้ทานอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง เช่น น้ำขิง อีกทั้งน้ำขิงยังช่วยเร่งการผลิตน้ำนมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ในส่วนของผักผลไม้ โดยเฉพาะผักใบเขียว เพราะมีประโยชน์ให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างสมวัย และช่วยให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรงอีกด้วย

 

เมื่อพูดถึงอาหารเร่งน้ำนมคุณหมอแนะนำให้คุณแม่ทาน แกงเลียง ยำหัวปลีและผัดขิง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมนูที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านเคยได้ยินกันมาอยู่แล้วว่าเมนูดังกล่าวช่วยในเรื่องของน้ำนมนั่นเอง นอกจากนี้การเดิน การนั่ง การนอน คุณแม่จะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าการนอนคว่ำในช่วงไตรมาสแรกอาจไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องเริ่มมีขนาดใหญ่ ท่านอนที่เหมาะสมที่สุดก็จะเป็นท่านอนตะแคงด้านซ้าย เพราะท่านอนนี้จะช่วยพยุงท้องได้ดี อีกทั้งยังช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย

 

ในส่วนของการทานยา ไม่ว่าจะเป็นยาอะไรก็ตาม แนะนำให้คุณแม่ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนทุกครั้งเสมอ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ในเรื่องผิวพรรณของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่คุณแม่จะเจอปัญหาผิวแตกลายซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการที่ท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณหมอได้แนะให้ป้องกันโดยทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอไรเซอร์ ซึ่งช่วยลดรอยแตกลายได้บ้าง หากมีอาการอึดอัดหรือแน่นท้อง คุณแม่สามารถบรรเทาได้ด้วยการทานอาหารให้น้อยลง แต่แบ่งเป็นหลาย ๆ มืื้อ

 

สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การออกกำลังกายซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการออกกำลังกายส่งเสริมให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ แข็งแรงขึ้น และช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก และสิ่งที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการพักผ่อน แนะนำให้คุณแม่พักผ่อนให้มากกว่าปกติ และควรได้พักผ่อนในช่วงกลางวันด้วย และต้องไม่ลืมใส่ใจในเรื่องของการแต่งกายด้วยเช่นกัน คุณแม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม ไม่รัดรูป ปรับขนาดยกทรงให้พอเหมาะกับเต้านมที่เพิ่มขนาดขึ้น และใส่รองเท้าที่ไม่มีส้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม

 

 

Source : paolohospital phyathai ramkhamhaeng

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 เทคนิคแม่ท้องจิตใจแฮปปี้ ลูกในท้องก็แฮปปี้ กับ เทคนิคอารมณ์ดี

การนอนตะแคงซ้าย หญิงตั้งครรภ์ ในแต่ละไตรมาสสำคัญอย่างไรบ้าง

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

บทความโดย

Khattiya Patsanan