บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า เรื่องดีได้บุญหรือเรื่องอันตรายในสายตาคนอื่น ภาพการให้นมที่แสนอบอุ่นนี้ใครเลยจะรู้ว่า หนึ่งคนนั้นไม่ใช่ลูกในไส้ แต่เป็นเด็กที่เธอไม่เคยเห็นหน้าเลยด้วยซ้ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า

Rebecca Wanosik ในวัย 30 ปี เธอเป็นแม่บ้าน มีหน้าที่ดูแลลูก ๆ ทั้ง 6 คน วันนั้นเป็นแค่หนึ่งวันธรรมดา ขณะออกไปทานอาหารเย็นนอกบ้าน เธอได้รับข้อความจากเพื่อน แล้วเธอก็บอกสามีว่า ถือเวลาเรียกเก็บเงินแล้ว และสิ่งที่เธอหลังจากนั้นคือ บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า

บางคนอาจรู้สึกอิดออดเมื่อถูกร้องขอให้ทำบางอย่าง แต่เธอไม่เลย เธอตัดสินใจได้ในทันทีเมื่อได้รับข้อความขอร้องเธอ “ให้นมกับเด็กที่ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน”

เธอพร้อมจะให้น้ำนมตัวเองกับเด็กแปลกหน้า เด็กที่ไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน

Wanosik เห็นคุณค่าของน้ำนมแม่ ไม่ใช่แค่การให้นมแม่แก่ลูก ๆ ทั้ง 6 คนเท่านั้น เธอยังขายคุ้กกี้เพิ่มน้ำนมอีกด้วย แต่สิ่งที่สร้างบาดแผลลึก ๆ ในใจให้กับผู้เป็นแม่คือ เธอเคยถูกจับแยกจากลูกคนที่ 5 หลังจากที่ลูกคลอดออกมาได้ 9 สัปดาห์เท่านั้น!

เนื่องจากความเข้าใจผิดว่า เธอทำร้ายลูก ๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว เด็ก ๆ มีความเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นโรคที่หาได้ยาก (connective tissue disorder) ทั้งยังมีภาวะขาดวิตามินดี ทำให้กระดูกหัก จากความเข้าใจผิดนี้เอง ทำให้เธอถูกพรากแม่พรากลูก เป็นเวลายาวนานนับ 10 เดือน ที่ต้องทนทรมานตลอดการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง ระหว่างนั้น ยังให้ลูก ๆ ของเธอดื่มนมผง ทั้งยังมองว่า การปั๊มนมและบริจาคน้ำนมของเธอ ผิดจรรยาบรรณทางการแพทย์

จากเหตุการณ์อันเลวร้ายในปีที่ผ่านมา ทำให้เธอตั้งมั่นจะให้นมแม่แก่เด็ก ๆ ที่แม่ของพวกเขาไม่สามารถให้นมได้ ในวันนี้ ครอบครัวของเธอกลับมาพร้อมหน้าพร้อมตา ลูก ๆ ทั้ง 6 คนกลับสู่อ้อมอกแม่ ซึ่งตอนนี้ลูกคนโตมีอายุ 9 ขวบ ส่วนน้องคนสุดท้ายอายุเพียง 8 เดือนเท่านั้น

 

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นมจากเต้าของแม่นม

สำหรับแม่ของเด็กแปลกหน้ามีชื่อว่า Melissa Rios จากวันนั้นจวบจนวันนี้ก็ยังไม่เคยเจอ Wanosik ตัวเป็น ๆ ซึ่ง Rios เกิดเหตุการณ์บางอย่าง ทำให้ต้องผ่าตัด และไม่สามารถให้นมลูกสาว Gabby ในวัย 5 เดือนได้ ทั้งที่เธอตั้งใจจะให้นมแม่

หนูน้อย Gabby ได้รับการดูแลจากคนในครอบครัว เธอไม่ยอมดื่มนมจากขวด ภายใน 13 ชั่วโมง หนูน้อยยอมกินแค่เพียงครึ่งออนซ์ จึงต้องหาตัวช่วย! ซึ่ง Wanosik ก็ตัดสินใจในทันที เนื่องจากทารกนั้นร่างกายจะขาดน้ำได้ง่ายมากและก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

 

เนื่องด้วยลูกชายของเธอก็ยังต้องให้นม ภาพที่ออกมาจึง น่ารักอย่างที่เห็น ทั้งคู่สมานสามัคคีในการดูดนม มือน้อย ๆ กุมกันไว้ ราวกับว่า กำลังให้กำลังใจอีกฝ่าย จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เธอรู้สึกชื่นชมคุณแม่ลูกแฝดที่ให้นมลูกพร้อม ๆ กันทั้งสองเต้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม จากภาพนี้ที่เธอโพสต์ลงเฟซบุ๊ก ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง แถมยังถูกรีพอร์ต จนเธอต้องพิสูจน์ตัวเองกับเฟซบุ๊ก กว่าจะได้บัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของตัวเองกลับคืนมา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็ไม่ทำให้เธอย่อท้อ เธอตั้งมั่นที่จะให้นมกับเด็กแปลกหน้าต่อไป

ที่มา : https://www.babble.com

 

บริจาคนมแม่

ประเทศไทยเกิดวัฒนธรรมบริจาคนมแม่มานานแล้ว หรือที่เรียกกันว่า “แม่นม” แต่ปัจจุบันมีเชื้อโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงเกิดคำถามขึ้นมาแล้วทารกจะได้รับเชื้อนั้น ๆ หรือไม่

ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน กล่าวว่า มีงานวิจัยจากสมาคมธนาคารนมแม่ระบุว่า คุณแม่ที่มาบริจาคนม 1,091 คนแม้จะมาด้วยจิตใจเมตตาที่บริสุทธิ์ที่จะเป็นผู้ให้ อีกทั้งตอบแบบสอบถามการคัดกรองเบื้องต้นที่น่าจะเข้าข่าย “ผู้เสี่ยงโรคต่ำ” สามารถบริจาคนมได้

เมื่อตรวจทางแล็บโดยละเอียดกลับพบว่า มีคุณแม่จำนวนมากที่ติดเชื้อไวรัสเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว เช่น ติดเชื้อ HTLV 6 คนเชื้อซิฟิลิส 6 คน เชื้อตับอักเสบ บี 17 คน เชื้อตับอักเสบ ซี3 คน และติดเชื้อ HIV 4คน ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถติดเชื้อต่อไปยังทารกที่กินนมได้ ดังนั้น ก่อนที่จะให้ลูกกินนมคนอื่นต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะติดโรคและธนาคารนมแม่ทุกแห่งควรตรวจหาเชื้อโรคก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยของทารก”

นายแพทย์ประชา นันท์นฤมิต หัวหน้าหน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ของเชื้อโรคสู่ทารกว่า โดยทั่วไปเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย มีโอกาสติดต่อผ่านทางน้ำนมได้

กรณีที่แม่ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ไม่ได้หมายความว่าลูกจะกินนมแม่ไม่ได้ ในกรณีทารกปกติทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรง เช่น ถ้าแม่เป็นหวัด เป็นไปได้ว่าอาจมีเชื้อหวัดจำนวนเล็กน้อยออกทางน้ำนมได้ แต่ทารกจะไม่มีอาการและเป็นปกติ เพราะการติดเชื้อหวัดส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับเสมหะ การไอ การจาม แต่ถ้าเป็นทารกที่มีความเสี่ยง เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดมีปัญหาได้ แต่ที่น่ากลัวมาก ๆ คือ เอดส์ หรือเชื้อเอชไอวี เพราะมีข้อมูลชัดเจนว่าถ้าแม่ติดเชื้อ HIV เราจะไม่ให้กินนมแม่ เพราะเด็กมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV จากแม่ได้ ทั้งนี้นายแพทย์ประชา ได้แสดงความคิดเห็นถึงการรับนมจากแม่คนอื่นว่า แม่ควรให้นมลูกด้วยตนเอง หากมีความจำเป็นจริง ๆ ควรรับนมจากหน่วยงานที่ได้รับมาตรฐานเพราะมีการตรวจสุขภาพผู้มาขอบริจาคและซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับทารกได้

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำว่า การบริจาคหรือการให้นมแก่ลูกคนอื่นนั้นต้องอยู่ภายในความสมัครใจและความยินยอมทั้งสองฝ่าย และสิ่งสำคัญการคุ้มครองสิทธิเด็กให้ได้รับอาหารที่ปลอดภัย โดยแม่ที่ให้นมแก่ลูกคนอื่นนั้น จะต้องได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ว่าไม่มีโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้แก่ เชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ บี และซี และไซโตเมกกาโลไวรัส (CMV) รวมทั้งแม่ที่เสพสารเสพติดทุกชนิด เช่น สูบบุหรี่ และดื่มสุรา สรุปว่า การให้นมแม่แก่ลุกคนอื่นนั้นมีความเสี่ยงแม้จะไม่สูง แต่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ทารกสูงสุด จึงควรมีระบบการจัดการในการบริจาค ต้องมีกระบวนการคัดกรองเป็นอย่างดี

สิ่งที่ต้องระวังคือ การรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เพราะมีความเสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง ดังนั้น ไม่ว่าจะบริจาคนมแม่หรือรับบริจาคนมแม่ ก็ควรผ่านธนาคารนมแม่

อ่านเพิ่มเติม ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ บริจาคหรือรับบริจาคนมแม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ เช็กได้นะ

ส่งนมแม่ บขส. วิธีแพ็คนม ให้ละลายน้อยที่สุด ให้ลูกน้อยอิ่มนมแม่และได้ประโยชน์

ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย ?

เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกของคุณหนักขึ้นตามนี้หรือเปล่า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team