ลูกโดน น้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน วิธีปฐมพยาบาล ใช้ยาสีฟันหรือแช่น้ำเย็น

หากลูกโดนน้ำร้อนลวก พุพอง ปวดแสบปวดร้อน พ่อแม่ควรทำอย่างไร ใช้ยาสีฟันหรือแช่น้ำเย็น วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นน้ำร้อนลวก วิธีรักษาโดนน้ำร้อนลวก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำร้อนลวก

หากลูกโดน น้ำร้อนลวก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร? ใช้ยาสีฟันทาถูกต้องหรือไม่? หรือน้ำร้อนลวกต้องแช่น้ำเย็น วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นน้ำร้อนลวก

 

ลูกโดนน้ำร้อนลวก

เมื่อลูกน้อยเริ่มเดินได้เข้าสู่วัยเตาะแตะ ย่อมมีความอยากรู้อยากเห็นและอยากสำรวจโลกอาจจะมีอันตรายจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ตามมาได้ หากคุณพ่อคุณแม่คลาดสายตาแม้เพียงชั่ววินาที อุบัติเหตุหนึ่งที่มักเจอบ่อยในเด็กวัยนี้คือการโดน “ความร้อนลวก” ซึ่งหมายถึงการบาดเจ็บที่เกิดจากความร้อนไม่ว่าจะเป็นของเหลว เช่น ลูกโดนน้ำร้อนลวกหรือลูกโดนน้ำมันร้อนลวก แม้กระทั่งการโดนวัสดุที่ร้อน เช่น หม้อหรือกระทะร้อน และไฟไหม้

 

น้ำร้อนลวกจนพอง ปวดแสบปวดร้อน

การสัมผัสกับความร้อนจัดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างไร?

หากสัมผัสกับความร้อนเหล่านี้จะทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายลูกมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะมีความรุนแรงมากเท่าใดขึ้นกับอุณหภูมิความร้อนและระยะเวลาที่สัมผัส เช่น

  • หากสัมผัสอุณหภูมิที่สูงเนื้อเยื่อจะถูกทำลายภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
  • ความรุนแรงของการสัมผัสความร้อนยังขึ้นอยู่กับ อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ดีกรีความลึกของบาดแผล และขนาดความกว้างพื้นที่ของบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกนั้น

หากมีการทำลายของหลอดเลือดที่รุนแรงจะทำให้เนื้อเยื่อตาย มีการไหลของสารน้ำออกจากหลอดเลือดจึงเกิดการบวมและมีการขยายตัวของหลอดเลือดจึงมีความแดงของผิวหนัง ซึ่งหากเนื้อเยื่อโดนความร้อนเป็นบริเวณกว้างจะทำให้สารน้ำไหลออกจากหลอดเลือดที่มีพยาธิสภาพมาก จนทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะช็อคได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำร้อนลวกปวดแสบปวดร้อน ลูกโดนน้ำร้อนลวก ใช้ยาสีฟันหรือแช่น้ำเย็น ได้ไหม

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นน้ำร้อนลวก

หากลูกโดนน้ำร้อนลวกควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร?

หากลูกน้ำร้อนลวกหรือความร้อนจากสิ่งอื่น ๆ ลวก สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ

  1. ล้างผิวหนังบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติหรือน้ำเกลือปราศจากเชื้อ
  2. แล้วซับด้วยผ้าแห้งสะอาด
  3. จากนั้นจึงสังเกตว่ามีตุ่มพองใส บาดแผลหรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไปหรือไม่

โดยทั่วไปหากความร้อนที่สัมผัสมีอุณหภูมิไม่สูงมากและระยะเวลาการสัมผัสสั้น ๆ อาจทำให้มีอาการเพียงแค่ผิวหนังแดง ไม่ค่อยปวด ไม่มีลักษณะผิวที่ซีดหรือเปลี่ยนสีเป็นขาวหรือดำ ซึ่งแสดงถึงเนื้อเยื่อตาย และไม่มีตุ่มน้ำพองใส รอยแผลลักษณะนี้จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน โดยไม่มีแผลเป็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่หากผิวหนังบริเวณที่สัมผัสความร้อนมีลักษณะที่ซีดหรือเปลี่ยนสีเป็นขาวหรือดำ มีตุ่มน้ำพองใสขนาดใหญ่ มีบาดแผล หรือมีอาการปวดมาก หรือน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ที่บริเวณใบหน้าหรืออวัยวะเพศ ก็ควรจะรีบพาลูกไปรับการรักษาจากคุณหมอโดยเร็วที่สุด หากมีแผลอาจใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือปิดแผลไว้ โดยไม่ต้องใส่ยาใด ๆ ก่อนไปพบคุณหมอนะคะ

 

วิธีรักษาโดนน้ำร้อนลวก

หากไปโรงพยาบาลคุณหมอจะทำการรักษาน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้อย่างไรบ้าง?

  1. คุณหมอจะทำการล้างแผลให้สะอาด
  2. ทายาปฏิชีวนะเฉพาะที่ ให้กับแผล
  3. พิจารณาตัดแต่งแผลบริเวณที่มีเนื้อตายออกเท่าที่จำเป็น
  4. บางครั้งอาจต้องผ่าตัดแก้ไขโดยประเมินจากลักษณะและความรุนแรงของบาดแผล

นอกจากนี้ คุณหมอจะพิจารณาให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามลักษณะของแผลและประวัติวัคซีนของผู้ป่วย และพิจารณาให้ยาแก้ปวดชนิดรับประทานหรือชนิดฉีดตามความรุนแรงของอาการปวดอีกด้วยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำร้อนลวกใช้ยาสีฟันได้ไหม

ข้อควรระวังและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก

มีความเข้าใจผิดว่าเมื่อโดนไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกควรจะใช้ ยาสีฟัน มาบีบใส่บริเวณนั้นเพื่อให้เย็นและลดอาการอักเสบ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะในความเป็นจริงแล้วยาสีฟันอาจยิ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อแผล และเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นมาได้ ถึงไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คุณพ่อคุณแม่คงจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลลูกน้อยเมื่อประสบกับปัญหาการโดนน้ำร้อนลวกหรือความร้อนอื่น ๆ ลวกในเบื้องต้นเป็นอย่างดีแล้ว สิ่งสำคัญที่หมออยากจะฝากไว้ก็คือทุกบ้านที่มีเด็กเล็กควรระมัดระวังอุบัติเหตุเหล่านี้ โดยจัดวางวัสดุที่มีความร้อนให้ห่างจากมือเด็กเอื้อมถึงได้ และควรให้เด็กอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น จะดีที่สุดนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกเป็นหวัด ทำอย่างไรให้หายป่วยเร็ว แม่สงสารจับใจ ตัวเล็กแค่นี้ป่วยบ่อยเหลือเกิน เมื่อไหร่จะหาย

6 คำพูดไม่ควรพูดทำร้ายลูกวัยเตาะแตะ

แบบนี้ลูกเป็น RSV หรือเปล่า ฝนตกแทบทุกวัน ลูกมีไข้ หายใจแรง เป็นไหมเนี่ย


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว