น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

ภาวะน้ำคร่ำน้อยคืออะไร น้ำคร่ำน้อยเกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยอันตรายแค่ไหน มีผลอย่างไรกับทารกในครรภ์ พบคำตอบได้ที่นี่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำคร่ำสำคัญอย่างไร

ในการตั้งครรภ์นั้นน้ำคร่ำมีบทบาทสำคัญหลายประการ อาทิเช่น เป็นการสร้างพื้นที่ให้ทารกสามารถขยับตัว เคลื่อนไหวได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ทารกสามารถกลืนน้ำคร่ำได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทารกสามารถหายใจได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาทางเดินหายใจ น้ำคร่ำยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากการกดทับสายสะดือหรือการบาดเจ็บจากการชน เป็นต้น

น้ำคร่ำมาจากไหน

ในช่วงเริ่มต้นน้ำคร่ำจะมาจากสารน้ำที่ซึมผ่านรกเข้ามาจากหลอดเลือดของทารก ต่อมาเมื่อทารกเริ่มพัฒนาระบบปัสสาวะจึงมีน้ำคร่ำมาจากน้ำปัสสาวะของทารกเป็นสำคัญ อีกส่วนน้อยนั้นมาจากสารน้ำของปอดที่สร้างและหลั่งออกมาทางหลอดลม โดยทั่วไปเมื่อครรภ์ครบกำหนดจะมีปริมาตรน้ำคร่ำประมาณ 2,800 มิลลิลิตร

ภาวะน้ำคร่ำน้อยคืออไร

ภาวะน้ำคร่ำน้อย หมายถึง ภาวะที่ปริมาตรน้ำคร่ำของทารกในครรภ์ลดลง เหลือน้อยกว่าร้อยละ 5 ของปริมาตรน้ำคร่ำปกติในอายุครรภ์นั้นๆ ซึ่งอาจตรวจทราบได้เบื้องต้นจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวน์) โดยทั่วไปพบร้อยละ 1-2 ของการตั้งครรภ์ เมื่อสงสัยภาวะนี้จำเป็นต้องแยกโรคจากน้ำคร่ำเดิน ซึ่งมักจะมีประวัติมีน้ำไหลออกทางช่องคลอดร่วมกับมีมูกเลือดปน หรือมีเจ็บครรภ์ร่วมด้วย

ภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดได้อย่างไร

ในกรณีที่พบมีน้ำคร่ำน้อย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ทารกมีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไม่มีไต หรือ มีการอุดตันของท่อปัสสาวะ
  • มีความผิดปกติของรก เช่น ภาวะรกเสื่อมทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซและสารอาหารไม่ดี
  • ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  • มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ อายุครรภ์เกินกำหนด
  • ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดลดอักเสบ (ponstan, brufen)

น้ำคร่ำน้อยอันตรายแค่ไหน

เมื่อสตรีตั้งครรภ์มีภาวะน้ำคร่ำน้อย มักจะสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ค่อยดี

  • เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด
  • เพิ่มโอกาสการสำลักขี้เทาของทารก
  • เพิ่มโอกาสผ่าตัดคลอดและการตายขณะคลอดของทารก
  • การที่มีน้ำคร่ำน้อยตั้งแต่เริ่มต้นตั้งครรภ์ จะส่งผลถึงการพัฒนาการของปอดทารกอีกด้วย ทำให้ปอดไม่พัฒนาจากไม่มีน้ำคร่ำที่ทำหน้าที่ถ่างขยายถุงลมและหลอดลม เป็นต้น

เมื่อตั้งครรภ์สูติแพทย์จะมีการตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อวัดปริมาตรน้ำคร่ำ ในกรณีที่พบภาวะน้ำคร่ำน้อย ก็จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป จะมีการตรวจติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมทั้งแจ้งพยากรณ์โรคให้ทราบ รวมทั้งการวางแผนการคลอดที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของทารกต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำคร่ำกดทับอวัยวะลูก เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน

น้ำคร่ำตีกลับขณะคลอด ทำให้เธอกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา