นมโคสำหรับลูก เริ่มดื่มได้ตอนไหน
แน่นอนครับว่านมแม่นั้นมีประโยชน์ต่อลูกน้อยมากที่สุด แต่เมื่อลูกโตขึ้น ลูกน้อยของคุณก็อาจต้องการสารอาหารต่างๆเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยในพัฒนาการต่างๆ และนมโคก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการเพิ่มสารอาหารให้ลูกน้อยครับ
เวลาที่เหมาะสม
คุณแม่ควรรอให้ลูกมีอายุครบปีก่อนจึงค่อยให้ลูกเริ่มดื่มนมโคจะดีที่สุด แต่คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจให้ลูกดื่มนมโคเร็วตั้งแต่ลูกน้อยยังมีอายุเพียงไม่กี่เดือน ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นไม่มีเวลาให้นมลูก ไม่มีน้ำนม หรือเพื่อความสะดวกสบายสำหรับตัวคุณแม่เอง แต่น้ำนมโคนั้นมีโพแทสเซียม โซเดียม และคลอไรด์ในปริมาณที่สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้แม้ว่าจะมีประโยชน์ก็จริง แต่สำหรับลูกน้อยที่ยังมีอายุไม่ถึง 1 ขวบนั้นยังมีระบบการย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ จึงอาจส่งผลเสียต่อไตของลูกน้อยได้ อีกทั้งในน้ำนมโคยังมีปริมาณวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอต่อความต้องการของเด็กแรกเกิดเหมือนนมแม่ ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง คุณจึงควรรอให้ลูกน้อยมีอายุครบปีเสียก่อนจึงค่อยเริ่มให้ลูกดื่มนมวัวครับ
ติดตามต่อเรื่อง นมโคสำหรับลูก ในหน้าถัดไปครับ
นมโคสำหรับลูกในช่วงอายุ 6เดือน
สารอาหารหลักที่ลูกต้องการในช่วงอายุระหว่าง 6เดือนนั้นยังคงเป็นน้ำนมแม่อยู่ แต่หากสมาชิกในครอบครัวของคุณไม่เคยมีประวัติเกี่ยวกับการแพ้นมหรือแพ้อาหารประเภทต่างๆ อีกทั้งหากคุณเริ่มป้อนอาหารแข็งให้ลูกน้อยบ้างแล้ว คุณแม่ก็อาจเริ่มป้อนนมโคให้ลูกทีละน้อย โดยอาจใช้นมโคเป็นส่วนผสมในอาหารแข็งป้อนลูกน้อยก่อน และไม่ควรให้ลูกดื่มนมโคเพียงอย่างเดียวครับ
หัดลูกดื่มนมโค
นมโคนั้นอาจมีรสชาติไม่เหมือนน้ำนมแม่หรือนมผงที่ลูกน้อยดื่มอยู่ทุกวัน ทำให้เด็กบางคนอาจจะไม่ชอบรสชาติของนมโคในครั้งแรกที่ได้ลองดื่ม ในขณะที่เด็กอีกหลายคนอาจไม่มีปัญหากับการดื่มนมโค และชอบตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ลองดื่ม ซึ่งหากลูกน้อยโตพอที่จะเริ่มดื่มนมโคได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกดื่มนมโค โดยการผสมนมโค 1 ส่วน กับนมที่ลูกเคยดื่มอยู่เป็นประจำ 3 ส่วน และค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำนมโคไปเรื่อยๆจนกระทั่งลูกน้อยสามารถดื่มนมโคอย่างเดียวได้ และหากลูกของคุณดื่มนมโควันละประมาณ 2 – 3 แก้วต่อวัน จะทำให้ลูกของคุณมีกระดูกและฟันที่แข็งแรงอีกด้วยครับ
อย่าลืมว่าควรเริ่มให้ลูกดื่มนมโคทีละน้อยเพื่อดูว่าลูกมีอาการแพ้หรือไม่ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับอาการแพ้อาหาร ก็ควรไปพบคุณหมอเพือขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ครับ
ที่มา ph.theasianparent.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
อาหารป้อนลูกน้อย 9 อย่าง ที่คุณแม่และคุณพ่อต้องระวัง
ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง