คุณแม่คัพ A กังวลเรื่องขนาด นมเล็ก นม เล็ก ๆ ต้องดูมเบอร์ไหนเจ้าตัวเล็กถึงจะอิ่ม หน้าอกแบนใช้เครื่องปั๊มนมช่วยได้หรือเปล่า นมเล็ก นมเล็ก ๆ น้ำนมน้อย จริงหรือ ทำยังไงให้มีสต็อกเยอะ
น้ำนมน้อย นมเล็ก เกิดจากอะไรกันแน่?
ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของน้ำนมสักหน่อยค่ะ ช่วงเวลาการผลิตน้ำนม อาหารแสนวิเศษของลูกน้อยนั้น แบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน
- Lactogenesis I ช่วงสัปดาห์ที่ 16-22 ของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะเริ่มผลิต Colostrum (หัวน้ำนม) ขึ้นมาเล็กน้อย
- Lactogenesis II หลังจากคลอดลูก 30-40 ชม. ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำนมในปริมาณมากขึ้นๆ คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำนมมาแล้ว หลังจากคลอดไปได้ 2-3 วัน
- Lactogenesis III ร่างกายจะหยุดการสร้างน้ำนมเองตามธรรมชาติ แต่จะผลิตขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกไป จากการดูดของลูก บีบด้วยมือ หรือปั๊มด้วยเครื่อง
ยิ่งนำน้ำนมออกไปมากเท่าไร กลไกในร่างกายก็จะยิ่งผลิตกลับคืนได้มากเท่านั้น รู้อย่างนี้แล้ว…อย่าปล่อยให้เวลานาทีทองของแม่หลุดลอยไปเด็ดขาด! แม้ 2-3 วันแรกแม่ยังอ่อนเพลียจากการคลอด ลองอาศัยจังหวะลูกหลับปุ๋ย ใช้มือบีบหรือเครื่องปั๊มประสิทธิภาพดีๆ ช่วยนำน้ำนมออกให้มากที่สุด มันอาจจะเจ็บปวด ทรมานในช่วงแรก แต่หลังจากน้ำนมพุ่งปรี๊ดดีแล้ว ชีวิตจะดีขึ้นทั้งคุณแม่และคุณลูกเลยล่ะค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง นม หรือ น้ำนม ประโยชน์ของนมมีอะไรบ้าง นมแพะมีประโยชน์อย่างไร
ขนาดคัพ เล็กใหญ่ นมเล็ก ไม่ใช่ปัญหา น้ำนมน้อย
เต้านมขนาดใหญ่มีส่วนช่วย “กักเก็บน้ำนม” ไว้ในปริมาณมากกว่าเต้านมขนาดเล็ก แต่ไม่ได้มีผลต่อการประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนมแต่อย่างใดค่ะ ขนาดหน้าอกเล็กมีข้อได้เปรียบตรงที่น้ำนมเต็มเต้าไวกว่า ยิ่งแม่ขยันระบายน้ำนมออกบ่อยๆ เต้าพร่องปุ๊บ น้ำนมผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อเติมพื้นที่ว่างในเต้านมให้เต็ม ผลิตอยู่ตลอดๆ แบบนี้ มีน้ำนมเหลือเฟือแน่นอน! สิ่งที่คุณแม่ต้องทำก็คือ
- ให้นมลูกทุกครั้งที่ลูกหิว (ช่วงแรกอาจให้นมถี่ทุก 2-3 ชั่วโมง)
- พยายามให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- ระหว่างให้นมลูก ใช้มือบีบนวดเต้านมช่วยอีกทาง
- พยายามให้ลูกได้ดูดเต้านมทั้งสองข้างในแต่ละมื้อ
- ถ้าลูกอิ่มแล้วยังไม่หมดเต้า ให้บีบหรือปั๊มนมออกอีกให้เหลือน้อยที่สุด
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เน้นสมุนไพร ผัก ผลไม้ ที่ช่วยเพิ่มน้ำนม
- หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ โกโก้ โคล่า แอลกอฮอลล์ เพราะส่งผลต่อคุณภาพน้ำนม
น้ำนมน้อย ก็ปั๊มเต็มขวดได้นะ
เครื่องปั๊มนม ตัวช่วยของคุณแม่
การนำน้ำนมออก สามารถทำได้โดยไม่ต้องรอให้น้ำนมสะสมจนเต็มเต้านะคะ เพราะการเว้นช่วงห่างระหว่างมื้อนมหรือเว้นช่วงปั๊มนานๆ จะทำให้การผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อยๆ แม้เจ้าตัวเล็กยังไม่ร้องโยเยหิวนมก็ไม่เป็นไร น้ำนมที่นำออกมาไม่สูญเปล่าแน่นอน สามารถเก็บไว้เป็นสต็อกให้ลูกหม่ำในวันข้างหน้าได้นานอีกหลายเดือน โดยเฉพาะในวันที่ต้องกลับไปทำงาน Full Time เตรียมนมให้แน่นตู้! ลูกน้อยก็จะอิ่มพุง หลับสบ๊าย…สบาย ดังนั้น คุณแม่ควรพกเครื่องปั๊มนมเอาไว้ใกล้ๆ ตัว แล้วปั๊มให้บ่อยเท่าที่จะทำได้นะคะ
“ เครื่องปั๊มนมที่ผลิตด้วยวัสดุคุณภาพต่ำ
อาจทำให้รู้สึกเจ็บ และไม่ประสบความสำเร็จในการปั๊มนม
คุณแม่จึงควรเลือกเครื่องปั๊มนมเกรดโรงพยาบาลเป็นหลัก
กรวยแนบสนิทกับเต้านม นุ่ม และยืดหยุ่นได้ดี ”
แนะนำให้คุณแม่เลือกกรวยที่ทำจากซิลิโคนแท้ 100% ที่ผ่านการรับรอง FDA และปลอดสารก่อมะเร็ง จาก Attitude mom ไม่ว่าจะไซส์เล็กหรือใหญ่ กรวยซิลิโคนพิเศษนี้จะแนบสนิทติดกับฐานเต้านม แถมยังนุ่มนิ่ม กระชับพอดี เวลาคุณแม่เอนหลังพิงหมอน 45 องศา กรวยซิลิโคนก็จะปรับยืดหยุ่นได้ ทำให้การปั๊มนมกลายเป็นเรื่องชิลล์ๆ ไปเลย
Attitude mom รุ่น Galaxy Double electric breast pump
Attitude mom รุ่น All in Mom (Durable)
เครื่องปั๊มนม Attitude mom มี 2 รุ่นให้เลือกคือ All in Mom (Durable) และ Galaxy Double electric breast pump (แยกการทำงานซ้ายขวาอย่างอิสระ) ทั้งสองแบบมาพร้อมโหมดการทำงานสุดอัจฉริยะ ช่วยกระตุ้นเต้านม บรรเทาอาการคัดตึง ปั๊มไปจี๊ดไป น้ำนมพุ่งอย่างที่ต้องการ
Tip! เทคนิคสำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ร่างกายยังผลิตน้ำนมน้อย ให้ใช้โหมด Massage 15 นาที ต่อด้วยโหมด 2in1 อีก 15 นาที ส่วนคุณแม่คนไหนปล่อยนมค้างเต้านานหลายชั่วโมงก็สามารถใช้โหมด Double Frequency รีดน้ำนมให้เกลี้ยงเต้ามากขึ้น โหมดนี้ยังป้องกันไม่ให้เต้านมอักเสบอีกด้วยนะคะ
การเริ่มต้นปั๊มนมแต่ละข้างใช้เวลา 10-15 นาที จนเมื่อปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นแล้วค่อยปั๊มให้นานขึ้น และบ่อยเท่าที่จะทำได้ ยิ่งปั๊มพร้อมกัน 2 ข้าง ก็ยิ่งทำให้น้ำนมออกได้ดีขึ้นด้วย ไม่ต้องหนักใจกับปัญหา น้ำนมน้อย อีกแล้วนะ ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่นักปั๊มทุกคน มีน้ำนมพุ่ง สต็อกแน่นสมใจค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
หัวนมแตกป้องกันได้ ครีมทาหัวนมแตก ครีมทาแก้หัวนมแตก
10 ท่าออกกำลังกายให้นมใหญ่ ตู้มแบบไม่ต้องศัล อยากนมใหญ่ทำไง มาดู
วิธีป้องกันหน้าอกหย่อนคล้อย หลังลูกน้อยหย่านม
ที่มา : si.mahidol