ท้องแล้วตะกละ รับมือยังไงดีนะ ถึงจะท้องแต่ก็ไม่อยากอ้วนขึ้นนี่นา

ท้องแล้วตะกละ รับมือยังไงดีนะ ถึงจะท้องแต่ก็ไม่อยากอ้วนขึ้นนี่นา ทำไมกันนะทำไม ทำไมท้องแล้วต้องตะกละขึ้นมากมายขนาดนี้ อยากจะกินทุกสิ่งอย่างที่ขวางหน้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องแล้วตะกละ รับมือยังไงดีนะ ถึงจะท้องแต่ก็ไม่อยากอ้วนขึ้นนี่นา

ท้องแล้วตะกละ รับมือยังไงดีนะ ถึงจะท้องแต่ก็ไม่อยากอ้วนขึ้นนี่นา สาวๆ ที่ตั้งท้องแต่ละคนก็มีช่วงเวลาตอนท้องที่แตกต่างกันออกไปนะคะ สาวๆ บางคนตอนท้องแพ้ท้องเสียจนแทบจะกินอะไรไม่ได้เลย ทั้งน้ำหนักลงและอาเจียนอยู่บ่อยครั้งจนร่างกายเพลีย แต่ก็มีสาวๆ ที่ตอนท้องอยากอาหารไปเสียทุกสิ่งอย่าง ราวกับปอบสิงก็ไม่ปาน แล้วอย่างนี้จะไม่ให้อ้วนขึ้นมากได้ยังไงกันละ

ของมีประโยชน์ก็กิน ไม่มีประโยชน์ก็ชอบ

อะไรที่เขาว่ากันว่า มีประโยชน์นักหนา ดีมากๆ ถ้าจะกินตอนท้อง แต่อารมณ์คนท้องที่ไม่อยากอาหารนั้นนี่นา แต่สิ่งที่อยากกินมากๆ ต้องเป็นอันนี้เท่านั้น กว่า 50% ของสาวๆ ที่ตั้งครรภ์นั้น จะมีความอยากอาหารมากเป็นพิเศษค่ะ มีอะไรบ้างที่สาวๆ ชอบกินตอนท้อง มาดูกันเลย

  1. ขนมหวาน
  2. อาหารแคลอรี่สูง คาร์โบไฮเดรตเพียบ อย่างพิซซ่า
  3. เนื้อสัตว์
  4. ผลไม้
  5. ผลิตภัณฑ์จากนมวัว
  6. อาหารจานด่วน
  7. ของเย็นๆ เช่น สเลอปี้ และไอศกรีม
  8. ผักต่างๆ
  9. ของหวานที่แคลอรี่สูงและทำจากนมวัว เช่น มิลก์เชค

เท่าที่ดู จะมีของที่มีประโยชน์ก็แค่ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์เท่านั้นเองค่ะ แต่สาวๆ หลายคนก็ต้านทานก็ความอยากอาหารนั้นไม่ได้แน่นอน

ทฤษฎีความตะกละระหว่างตั้งครรภ์

1. ปัจจัยในการอนุญาต

มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมพบว่า แม่ท้องจะได้รับอนุญาตให้กินอะไรก็ได้ที่เธออยากกินในช่วงที่ตั้งครรภ์ และน่าสนใจที่พบว่าหลายๆ วัฒนธรรมจากหลายๆ ประเทศนั้นมีความคล้ายคลึงกันหมดค่ะ แน่ละถ้าคนท้องจะอยากกินไอติมตอนเที่ยงคืน เธอก็ลุกมากินได้ ใครจะมาขวางละ

2. อารมณ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีงานวิจัยที่มีพบว่า ความอยากอาหารของคนท้อง เกี่ยวข้องกับความเครียด ระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะเป็นการบ่งชี้และอธิบายถึงการกินเพื่อคลายเครียดได้ค่ะ

3. ฮอร์โมนที่ขึ้นลง

แม้จะไม่มีหลักฐานที่บอกว่าฮอร์โมนที่ขึ้นลงระหว่างการตั้งครรภ์ จะเกี่ยวข้องกับความอยากอาหารก็ตาม แต่การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหล่านี้ จะมีส่วนต่อการรับรสของคุณแม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่คุณแม่หลายๆ คน กินอาหารรสจัดขึ้น หรืออ่อนลง หรือจากเดิมไม่ชอบอาหารรสเปรี้ยวเลย ในช่วงนี้ก็อาจจะกินรสชาติเหล่านี้บ่อยขึ้นได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ส่วนผสมในอาหารแต่ละจาน

คุณแม่บางคนอาจจะมีประสาทรับรสได้ไวขึ้น เป็นกลไกทางธรรมชาติที่จะช่วยให้คุณแม่และลูกในท้อง ปลอดภัยจากสารพิษที่อาจพบได้ในอาหารค่ะ เช่น คุณแม่อาจจะรับรสขมจากผักต่างๆ ได้มากขึ้น ได้รสไข่ เนื้อ และนมได้มากขึ้น โดยมีทฤษฎีที่บอกว่าความอยากอาหารอาจจะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ เช่น คลื่นไส้อยากอาเจียนเป็นต้นค่ะ

5. ภาวะบกพร่องด้านโภชนาการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทฤษฎีนี้บอกเอาไว้ว่า ความอยากอาหารในการตั้งครรภ์ นั้นเกี่ยวข้องกับสารอาหารที่คุณแม่นั้นขาด แต่ความอยากอาหารแปลกๆ เช่น ดิน กระดาษ ฯลฯ อาจเกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางของคุณแม่ได้ค่ะ

6. จุลินทรีย์ในลำไส้เล็ก 

แม้ว่าจะไม่มีเอกสารที่บอกว่า จุลินทรีย์ในลำไส้เล็กนั้นจะเกี่ยวข้องกับความอยากอาหารของคุณแม่ แต่มีหลักฐานบางอย่างค่ะ ที่บอกว่าความอยากอาหารนั้นเกิดจากจุลินทรีย์ในลำไส้เล็ก ที่ติดต่อมาจากเพื่อนและครอบครัว เช่น การทานอาหารเหมือนๆ กัน รสเดียวกัน

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ความอยากอาหารที่เกิดขึ้นกับคุณแม่นี้ ดีกว่าการกินอะไรไม่ได้เลยค่ะ แต่จงจำไว้ก่อนกินว่า อะไรที่กินเข้าไป จะเอาออกยากกว่านั้นหลายเท่านัก เท่านี้ก็อาจจะเป็นตัวขัดขว้าง การหยิบโดนัท เฟรนช์ฟราย และไอศกรีมเข้าปากคุณแม่ได้บ้างแล้วนะคะ

ที่มา Mothering

บทความที่น่าสนใจ

โภชนาการช่วงแรกของชีวิต เริ่มได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

ผลไม้ต้องห้ามแม่ลูกอ่อน มีอะไรบ้าง และทำไมถึงห้ามกิน