คนท้องท้องแข็งอันตรายมั้ย เมื่อรู้สึกว่าท้องแข็งห้ามทำ 4 เรื่องนี้เด็ดขาด!!

ท้องแข็ง คนท้อง อันตราย อาการท้องแข็ง คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร เมื่อรู้สึกว่าท้องแข็ง 4 เรื่องที่ห้ามทำมีอะไรบ้าง ไปติดตามกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องท้องแข็งอันตรายมั้ย ? อาการท้องแข็ง คือ การปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว ส่วนท้องแข็งตึงนั้น คือ การที่มดลูกบีบรัดตัวแข็งเป็นก้อนกลม ซึ่งหากทิ้งไว้นาน จะทำให้ปากมดลูกเปิด เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ

คนท้องท้องแข็งอันตรายมั้ย อาการท้องแข็ง คือ การปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว ส่วนท้องแข็งตึงนั้น คือ การที่มดลูกบีบรัดตัวแข็งเป็นก้อนกลม

ท้องแข็งแบบต่าง ๆ แยกอย่างไร

อาการท้องแข็ง ตามความหมายของคุณหมอมักจะหมายถึง การบีบตัวของมดลูก เป็นอาการที่พบได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการท้องแข็งนี้ มักจะสร้างความกังวลใจให้กับแม่ท้องไม่น้อย บางครั้งพอลุกยืนท้องก็แข็ง ล้มตัวนอนท้องก็แข็งอีก จนแม่ท้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายบ้าง กลัวว่าจะเป็นอาการใกล้คลอดบ้าง เรามาดูกันว่า ท้องแข็งแบบต่าง ๆ แยกอย่างไร มีลักษณะแบบไหนบ้าง

  • ท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว

อาการท้องแข็งแบบแรกที่เจอกันบ่อย ๆ นั่นก็คือท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว โดยแม่ท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องแข็งแบบ “แข็งบางที่ นิ่มบางที่” ท้องแข็งแบบนี้ เกิดจากเด็กในท้องดิ้น หรือโก่งตัว โดยอวัยวะของลูกในท้องอย่างเช่น ศอก ไหล่ เข่า หัว หรือก้น จะนูนตรงนั้นตรงนี้ไปทั่ว ส่วนที่มักจะนูนโก่งแข็งจนมดลูกเบี้ยวไปข้างนึงเลยก็มักจะเป็นหลัง กับ ก้น อีกด้านนึงก็จะนิ่มกว่า แล้วก็จะรู้สึกลูกด้นเป็นจุดเล็กจุดน้อย ด้านนั้นก็จะเป็นส่วนของมือ ส่วนของเท้า

  • ท้องแข็งเพราะกินอิ่ม

สำหรับแม่ท้องบางคน โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแก่ อาจจะมีอาการท้องแข็งหลังกินข้าว กินอะไรเข้าไปก็รู้สึกแน่นไปหมด บางครั้งก็แน่นจนแทบหายใจไม่ออก ต้องนั่งสักพัก ยืดตัวยาว ๆ สักพักอาการก็จะดีขึ้นเอง อาการท้องแข็งแบบนี้เกิดจากการที่ความจุของช่องท้องมีพื้นที่จำกัด มดลูกที่โตขึ้นตามอายุครรภ์ไปเบียดแย่งที่กับอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้อง กระเพาะปัสสาวะถูกเบียด กระเพาะอาหารลำไส้ก็ถูกเบียดขึ้นไปจนติดอยู่ใต้กระบังลม  พอกินอะไรเข้าไปก็จะรู้สึกแน่นไปหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่ตัวเล็ก ๆ สั้น ๆ ก็จะมีอาการแบบนี้ง่ายเป็นพิเศษ

อาการท้องแข็งแบบนี้ ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดนะครับ โดยมากจะเป็นความรู้สึกท้องแข็งแน่นท้องมากกว่า ถ้าไปพบคุณหมอเมื่อจับมดลูกดูก็จะพบว่า ท้องไม่ค่อยแข็งมาก หรือเรียกว่าอาการท้องตึงมากกว่า และไม่ได้เกิดจากมดลูกมีการบีบตัว คำแนะนำที่ช่วยลดอาการนี้ คือ ควรกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ รับประทานครั้งละน้อย ๆ หลังทานแล้วก็ต้องนั่งให้เรอออกมาก่อน แล้วพยายามอย่าให้ท้องผูก และควรขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน ก็จะแน่นท้องน้อยลงครับ

  • ท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัว

อาการท้องแข็งแบบนี้ มดลูกในท้องของคุณแม่จะมีอาการแข็งทั้งหมด ไม่แข็งเป็นบางจุดเหมือนอาการท้องแข็งเพราะเด็กโก่งตัว และจะมีอาการปวดท้อง เหมือนปวดประจำเดือน อาการท้องแข็งแบบนี้นี่แหละครับที่มักมีปัญหา โดยอาการท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัวนั้น สามารถแยกย่อยได้ดังนี้

  • ท้องแข็งของแท้ (มดลูกบีบตัวก่อนกำหนด)

ปกติแล้ว มักจะไม่ค่อยเกิดขึ้นช่วงก่อน 28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ช่วงที่พบว่ามีอาการท้องแข็ง มดลูกบีบตัวก่อนกำหนดบ่อยที่สุด ก็คือช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ซึ่งก็เป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุด การที่ลูกดิ้นมาก ๆ ก็อาจมีส่วนไปกระตุ้นทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้นได้ด้วยเหมือนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และถ้าผ่านช่วง 32-34 สัปดาห์นี้ไปแล้ว อาการท้องแข็งก็จะน้อยลง คุณแม่ท้องบางคน พอถึงเวลาครบกำหนดคลอด แต่กลับไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด จนบางทีเลยกำหนดไปเลยก็มี

แต่หากแม่ท้องมีอาการท้องแข็งบ่อย และถี่ขึ้น ไม่ได้แข็งเป็นบางจุด และบางทีรู้สึกแข็งมาก หรือแข็งจนรู้สึกแน่นหายใจไม่ออก และอาการไม่ดีขึ้น ควรจะรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด เพราะหากท้องแข็งแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษา มดลูกจะบีบตัวจนปากมดลูกเปิด ตามมาด้วยการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้

  • ท้องแข็งตามธรรมชาติ (Braxton Hicks Contraction)

แม่ท้องบางคนอาจมีอาการท้องแข็งที่เกิดจากมดลูกบีบตัวได้ เป็นการแข็งตัวนิด ๆ หน่อย ๆ ที่เกิดขึ้นได้เองเป็นธรรมชาติ หรือที่เรียกกันว่า Braxton Hicks Contraction แบบนี้ไม่เป็นอันตรายครับ

  • ท้องแข็งจากสาเหตุอื่นๆ

  • การร่วมเพศอย่างรุนแรง
  • การทำงานหนัก
  • พักผ่อนน้อย เป็นผลทำให้มดลูกหดรัด และอาจแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดได้

อย่างไรก็ดี ในคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติ อาจมีอาการท้องแข็งตึงได้บ้าง เช่น เวลาพลิกตัว หรือลูกดิ้น แต่หากรู้สึกว่าท้องแข็งบ่อยกว่าปกติ ควรนอนพักผ่อนให้มาก ๆ และถ้าหากนอนพักแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการท้องแข็งตึงทุกครึ่งชั่วโมงติด ๆ กัน เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ควรให้รีบไปพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการขึ้นพร้อมกัน เพราะจะเป็นสาเหตุให้ทารกคลอดก่อนกำหนดได้

อาการท้องแข็ง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการคลอดก่อนกำหนดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องแข็ง อันตราย ห้ามทำสิ่งเหล่านี้

เมื่อแม่ท้องมีอาการท้องแข็ง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรห้ามทำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

1. เมื่อท้องแข็ง อย่าจับท้องบ่อย

เพราะยิ่งจับบ่อย ก็ยิ่งแข็งบ่อยนะคะ เพราะมดลูกเป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วย กล้ามเนื้อมากมาย และไวต่อการกระตุ้นมาก เอามือจับไปจับมามดลูกก็แข็งตัวขึ้นมาได้ คุณแม่ที่รู้สึกว่าท้องแข็งบ่อย ๆ มักจะชอบเอามือไปลูบ ๆ คลำ ๆ อยู่ตลอด ด้วยเป็นกังวลว่า มดลูกมันจะแข็ง ดังนั้น  ไม่ควรใช้มือไปลูบท้องบ่อย ๆนะคะ

2. เมื่อท้องแข็ง ห้ามมีเพศสัมพันธ์

ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ช่วงที่ท้องแข็งบ่อย หากถึงจุดสุดยอดขึ้น  มดลูกก็จะมีการบีบตัวเป็นจังหวะตามมาอีก  นอกจากนั้นในทางการแพทย์ก็ยังพบว่า  ในน้ำอสุจิจะมีสารเคมีที่ชื่อว่า โปรสต้าแกลนดิน สารตัวนี้เป็นตัวการสำคัญของธรรมชาติ ที่ทำให้ปากมดลูกขยายตัวในระหว่างการคลอด  ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ คุณหมอจะสั่งห้ามให้หลีกเลี่ยงการปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปข้างใน เพราะอาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการท้องแข็ง และการคลอดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4 ข้อห้าม สำหรับคนท้อง ห้ามทำหากมีอาการท้องแข็ง

3. เมื่อท้องแข็ง ห้ามบิดขี้เกียจ

คุณแม่อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ ห้ามบิดขี้เกียจจริง ๆ  เพราะจะทำให้เกิดอาการท้องแข็ง เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนกับตอนที่เราบิดผ้าเปียก ๆ นั่นแหละน้ำที่ค้างอยู่ในผ้า จะไหลออกมา เช่นเดียวกับตอนเราบิดขี้เกียจเหมือนกัน ช่องท้องของเราปริมาตรจะเล็กลง ความดันในมดลูกก็สูงขึ้น ท้องก็เลยแข็ง

4. เมื่อท้องแข็ง ห้ามกลั้นปัสสาวะ

อย่ากลั้นปัสสาวะ เพราะบริเวณดังกล่าวอยู่ตรงตำแหน่งที่มดลูกอยู่เดิมนั้น เคยเป็นพื้นที่ของกระเพาะปัสสาวะมาก่อน พอท้องโตขึ้นมา กระเพาะปัสสาวะกับมดลูก ก็เลยต้องเบียด แย่งที่กันอยู่ตรงนั้น  ยิ่งท้องโตขึ้นเรื่อย ๆ กระเพาะปัสสาวะ ก็ยิ่งจะถูกเบียดเล็กลงเรื่อย ๆ คุณแม่เลยต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น คราวนี้หากกลั้นปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะก็จะโป่งมากขึ้น แล้วก็จะไปกดเบียดมดลูก จนมดลูกมีความดันสูงขึ้น ดังนั้น คุณแม่ก็มักจะท้องแข็งบ่อย ตอนกำลังจะปวดปัสสาวะ พอปัสสาวะออกไปแล้ว อาการท้องแข็งก็บรรเทาลง

 

ที่มา

1

2

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สร้างสมอง สู่พรสวรรค์ ให้ลูกน้อยไปกับ S- Mom Club ผู้ช่วยที่ดีของคุณแม่ลูกวัย 1-2 ขวบ

อาหารอันตราย ห้ามกินตอนท้องแก่ ใกล้คลอดแล้วห้ามกินอะไรบ้าง

เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนใกล้คลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Weerati