ทารกสำลักนม แม่อย่าวางใจ เสี่ยงเสียชีวิตได้เลย

ข่าวทารกสำลักนมจนเสียชีวิต มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ แล้วการที่ทารกสำลักนมนั้น เกิดจากอะไร แม่ควรป้องกันลูกสำลักน้ำนมได้อย่างไร ไปอ่านกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกสำลักนม เสี่ยงเสียชีวิต

ปัจจัยที่ทำให้ ทารกสำลักนม มีอยู่หลายข้อ ทั้งจากตัวเด็กเอง และปัจจัยอื่นๆ ภายนอก

ทารกที่มีความเสี่ยงสำลักนม

ทารกแรกเกิดที่เป็นโรคเหล่านี้ คือ โรคหัวใจหรือโรคปอด เด็กจะหายใจเร็วขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้สำลักนมได้ง่ายกว่าเด็กทั่วๆ ไป หรือแม้แต่เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า และเด็กที่มีประวัติการชัก ก็เสี่ยงต่อการสำลักนมได้ง่ายเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีทารกที่แม่ต้องให้ความใส่ใจ คือ ทารกปากแหว่งเพดานโหว่ ที่มีปัญหาในการดูดกลืนอาหาร ไม่สามารถควบคุมการไหลของนมได้ เสี่ยงต่อการสำลักนม แม่ๆ ต้องดูแลให้ดี

ลูกดูดนมจากขวดต้องสังเกตให้ดี

นมจากขวดนมนั้นจะไหลออกจากรูเล็กๆ ไปเรื่อยๆ ทารกควบคุมได้ยาก จึงง่ายต่อการสำลักนม เพราะไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ น้ำนมจากขวดก็ไหลออกมาอยู่ดี จึงอยู่ที่ท่าอุ้มลูกของแม่ และต้องคอยสังเกตการกลืนของลูกให้ดี นอกจากนี้ ต้องเลือกจุกนมที่มีขนาดพอดีกับวัยของลูก เลือกที่มีคุณภาพ หมั่นดูว่าจุกเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง นอกจากนี้ ไม่ควรให้ลูกดื่มนมบ่อยๆ จนทำให้ลูกอิ่มเกินไป ไม่ใช่ว่า ป้อนนมทุกครั้งที่ลูกร้อง เพราะลูกอาจจะไม่สบาย หรือร้องเพราะไม่สบายตัว อยากให้เปลี่ยนผ้าอ้อม การให้ลูกดื่มนมบ่อยเกินไป เกินกว่ากระเพาะน้อยๆ จะรับไหว ก็เสี่ยงให้ลูกสำลักน้ำนมได้

สำหรับน้ำนมแม่ หากลูกเข้าเต้าดูด ปัญหาการสำลักนมจะน้อยกว่า เพราะน้ำนมแม่ที่ไหลสัมพันธ์กับการดูดนมของทารก ยกเว้นเสียแต่ว่า น้ำนมแม่พุ่งแรง จนลูกกลืนไม่ทัน ทำให้ทารกสำลักนม ซึ่งแม่สามารถชะลอน้ำนมได้ด้วยการกดบริเวณลานนมด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ เพื่อลดความแรง (ทำเฉพาะช่วงแรกๆ) หรือแม้แต่บีบน้ำนมออกมานิดหน่อยก่อน แล้วค่อยให้ลูกเข้าเต้า ก็จะชะลอความเสี่ยงการสำลักนมของทารกได้

 

อ่านวิธีช่วยทารกที่เกิดการสำลักนม หน้าถัดไป

สังเกตอาการลูกสำลักนม

เวลาให้นมลูก แม่ควรจะสบตา พูดคุย และยิ้ม กับลูก เมื่อคุณแม่ทำอย่างนี้แล้ว จะสังเกตอาการสำลักนมได้ง่ายมาก ระหว่างนั้น หากลูกไอ ลักษณะคล้ายขย้อนนมออกมา ถ้าสำลักนมไม่มาก จะไอเพียง 2-3 ครั้ง ก็หยุดไปเอง แต่ถ้าไอแรงขึ้น มีเสียงหายใจที่ผิดปกติ ก็ต้องรีบพาลูกไปหาหมอให้เร็วที่สุด

วิธีช่วยทารกที่เกิดการสำลักนม

จับทารกนอนตะแคง ให้ศีรษะลูกต่ำลง ป้องกันไม่ให้นมไหลย้อนกลับไปที่ปอด ห้ามเด็ดขาดที่จะอุ้มลูกขึ้นมาทันทีที่สำลัก

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกสำลัก

1.ช่วง 6 เดือนแรกของลูก ไม่ควรให้ลูกกินสิ่งอื่นใด นอกเหนือจากน้ำนมแม่ เพราะอวัยวะต่างๆ ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ พอเกิน 6 เดือนไปแล้ว การดูดกลืนของลูกจะทำงานได้ดี และชันคอได้ จึงทำให้สำลักได้น้อยลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.หลังจากลูกอิ่มอร่อยกับน้ำนมเต็มที่ แม่ควรจับลูกเรอทุกครั้ง

ถ้าแม่ให้อาหารเสริม หรือให้ลูกกินอย่างอื่นนอกเหนือจากนมแม่ ก่อน 6 เดือนแรกของลูก นอกจากจะทำให้ลูกสำลักได้ง่ายแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นลําไส้อุดตัน และภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ได้อีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : natur.co.th และ thaibreastfeeding.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำอย่างไรเมื่อลูกแหวะนมสำรอกบ่อย

แม่แชร์ลูกเข้าไอซียูเพราะภาวะร้องกลั้นและสำลักนม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya