ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ มีไข้ มีวิธีลดอาการปวดของลูกอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ที่มีลูกน้อยวัยเริ่มทานอาหารเสริม มักจะคอยสังเกตว่า ทารกฟันขึ้น แล้วหรือยัง เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสม หรือบางคนอาจจะเป็นกังวลเพราะว่า ทารกร้องไห้มาก งอแงไม่หยุด บางครั้งก็เป็นไข้ นั่นเป็นเพราะฟันขึ้นหรือเปล่า แล้วเวลาทารกฟันขึ้นจะมีอาการอย่างไร มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจพัฒนาการของฟันลูกมากขึ้นค่ะ

ทารกฟันขึ้น ตอนกี่เดือน

โดยทั่วไปแล้ว ทารกจะเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นเมื่อมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน  แต่ทารกบางคนก็อาจจะขึ้นเร็วกว่านี้ บางคนก็อาจจะเกิดมาพร้อมกับฟันเลยก็เป็นไปได้  ในขณะที่บางคน ฟันก็อาจจะขึ้นช้า หรือทารกบางคน ฟันน้ำนมอาจจะขึ้นหลังจาก 1 ขวบไปแล้วก็มี

 

 

ทารกฟันขึ้นมีอาการอย่างไร

  • เริ่มมีน้ำลายเยอะ เนื่องจากเหงือกได้รับการกระตุ้นด้วยฟันที่เริ่มงอก
  • มีผื่นแดง ๆ แห้ง ๆ ขึ้นบริเวณหน้าและลำคอ เนื่องจากมีน้ำลายไหลออกมามาก
  • ชอบกัดสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เนื่องจากเด็กจะรู้สึกรำคาญ ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หรือแม้แต่หัวนมของคุณแม่
  • เหงือกบวมแดง และจะเริ่มร้องไห้ งอแง เพราะอาการเจ็บเหงือก
  • ทารกบางคนอาจมีอาการไข้ แต่จะมีไข้ไม่มาก และมักจะเป็นไข้ไม่เกิน 3 วัน ซึ่งหากลูกเป็นไข้นานกว่านั้น ควรพาลูกไปพบคุณหมอ
  • ชอบเอามือมาจับที่แก้ม เพราะรำคาญที่เหงือก หรือขากรรไกร

ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ รับมืออย่างไร

ลูกฟันขึ้น ฟันซี่แรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ใช้ยางกัด

เมื่อทารกฟันขึ้น เด็กก็มักจะชอบกัดทุกอย่างที่ขวางหน้า ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้ยางกัด หรือของเล่นสำหรับเคี้ยวแบบปลอดสาร BPA ซึ่งจะสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ เพราะการเคี้ยวจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่เหงือกแยกออก และฟันก็จะแทงขึ้นมาได้ง่ายขึ้น

2. นวดเหงือกทารก

ก่อนที่จะนวดเหงือกให้ลูก ต้องล้างมือให้สะอาด และเหงือกของลูกต้องไม่บวม หรือเจ็บมาก ถ้าลูกยอมให้คุณสอดนิ้วเข้าไป ให้นวดเหงือกของลูกเบา ๆ อย่างช้า ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ความเย็นช่วยลดอาการบวม

คุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้ยางกัดในข้อ 1 หรืออาจจะใช้จุกนมหลอก แช่ตู้เย็นไว้ แต่อย่าให้เย็นจัดจนเกินไป หรืออาจจะใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นแล้วบิดหมาด ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดบวมของเหงือกทารกก็ได้นะครับ

4. ใช้ยาแก้ปวด

แต่ก่อนที่จะใช้ยาแก้ปวด-ลดไข้สำหรับเด็กนั้น ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง และหากอาการปวด บวม หรืออาการไข้ของลูกยังไม่บรรเทาลง ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจอาการต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

7 วิธีที่ทารกใช้บอกรักคุณ “แม่จ๋าหนูรักแม่นะ”

ถุงเท้าทารก รองเท้าเด็กอ่อน ยังเดินไม่ได้ จะให้ใส่ทำไม?

หลังจากให้นมแม่แล้ว ควรให้ทารกกินน้ำตามไหม?

 

บทความโดย

P.Veerasedtakul