ท้องผูก ลูกถ่ายเหมือนขี้แพะ!! ท้องผูกแบบไหนที่เรียกว่าไม่ธรรมดา ทารกท้องผูกทำอย่างไร

หนึ่งในอาการยอดฮิตสำหรับทารกที่ต้องผ่านด่านกันแทบทุกคน คือ อาการท้องผูก ที่เป็นกันไม่มากก็น้อย อาการนี้คุณพ่อคุณแม่อย่ามองข้ามกันไปนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แค่ไหนถึงเรียกว่าท้องผูก? ทารกท้องผูกทำอย่างไร ?

โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดในช่วงสัปดาห์แรกจะมีการถ่ายอุจจาระทุกวันเฉลี่ยวันละ 4 ครั้ง โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดที่กินนมแม่อาจถ่ายได้วันละ 5-6 ครั้ง เพราะนมแม่ย่อยง่าย หรือถ่ายห่างกันทุก 3-7 วัน แต่มีอาการปกติ กินนมดี ร่าเริง ไม่อาเจียน มีน้ำหนักขึ้นปกติ แม้จะไม่ได้ถ่ายทุกวันหรือถ่ายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็ถือว่าไม่ได้เป็นอาการท้องผูกแต่อย่างใด เมื่อลูกโตขึ้นความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะลดลง อายุ 4 เดือนอาจจะเหลือวันละ 2 ครั้ง และเมื่อถึงอายุ 4 ขึ้นไปอาจจะถ่ายเพียงวันละ 1 ครั้ง

สังเกตดูว่าลูกท้องผูกจริงมั้ย?

แม้ว่าลูกจะอึ้ทุกวัน แต่หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าอึ้ของลูกนั้นเป็นก้อน ๆ เล็ก ๆ แข็ง ๆ เหมือนขี้แพะ คล้ายลูกกระสุน หรืออึ้ก้อนใหญ่ที่ทำให้รู้สึกปวดเวลาเบ่งถ่าย โดยอาจถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ นั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกท้องผูกได้ เด็กบางคนอาจจะมีการเบ่งที่ยากลำบาก มีอาการปวดท้อง จุกเสียดได้ เนื่องจากอุจจาระตกค้างอยู่ในร่างกาย เวลาถ่ายบางครั้งอาจมีเลือดติดออกมาด้วย ทำให้ลูกกลัวการเบ่งเพราะทำให้รู้สึกเจ็บจนกลั้นเอาไว้ ทำให้อุจจาระยิ่งมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้น และเพิ่มความเจ็บปวดในการขับถ่ายในแต่ละครั้งได้

สาเหตที่ทำให้เจ้าตัวเล็กมีอาการท้องผูก หน้าถัดไปนะคะ >>

อาการท้องผูกในเด็กพบได้ทุกวัยตั้งแต่ 6 เดือน- 4 ปี ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป เช่น

  • การเปลี่ยนนมผงหรือเปลี่ยนอาหาร
  • การดื่มน้ำน้อย
  • การเร่งให้ลูกฝึกขับถ่ายเร็วเกินไป ทำให้เด็กรู้สึกไม่พอใจและเกิดการต่อต้านไม่ยอมถ่าย
  • ลูกไม่ยอมกินผักหรือกินผลไม้น้อย
  • มีอาการอักเสบหรือเป็นฝีแถวก้น
  • ห่วงเล่นจนกลั้นอุจจาระ ไม่ยอมถ่าย
  • ปวดบริเวณทวารหนัก เวลาถ่ายอาจมีเลือดปนออกมา การเบ่งอุจจาระที่ทำให้รู้สึกเจ็บก้น ทำให้ลูกไม่ยอมถ่ายพยายามหยุดเบ่งโดยไม่รู้ตัว

ท้องผูกแบบไหนที่เรียกว่าไม่ธรรมดา พ่อแม่อย่ามองข้าม!!

#ท้องผูกแบบเฉียบพลันหรือกะทันหัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กเล็กประมาณ 5-10% จะมีอาการท้องผูกจะเป็นแบบกะทันหัน คือถ่ายปกติมาตลอดแต่จู่ ๆ เกิดท้องผูกฉับพลันขึ้นมาและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะอุดตันของทางเดินอาหาร

#ท้องผูกแบบเรื้อรัง

ภาวะนี้อาจพบได้บ่อยในเด็กที่เป็นโรคเอ๋อหรือเด็กที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ มีปัญหาท้องผูกมานาน มีการถ่ายแบบกะปริบกะปรอย ถ่ายไม่หมดในแต่ละครั้ง ร่วมกับการมีภาวะถ่ายเหลวออกมา อาการนี้จะส่งผลทำให้เด็กร้อยละ 30 ที่เป็นฉี่รดที่นอนด้วย นอกจากนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น มีเลือดออกทางทวารหนักจากแผลปริแตกที่ปากทวารได้ และบางรายอาจเกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบด้วย ซึ่งถ้าสงสัยว่าลูกมีอาการนี้ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ ซักประวัติการใช้ยาซึ่งยาบางชนิดทำให้มีอาการท้องผูกได้ ตรวจเลือดหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ตรวจภาวะผิดปกติทางระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

อาการท้องผูกที่เรียกว่าไม่ธรรมดาพร้อมวิธีช่วยลดอาการท้องผูก หน้าถ้ดไปค่ะ >>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#ท้องผูกจนคล้ายอาการริดสีดวง

ผลจากการท้องผูกจนทำให้ทวารหนักฉีดขาดเป็นแผลปริแตกเนื่องจากการเบ่งอุจจาระที่มีก้อนขนาดใหญ่ แห้ง และแข็ง ทำให้มีอาการบวมของผิวหนังใกล้ ๆ กับแผลที่แตกจนกลายเป็นติ่งเนื้อที่ก้น ส่งผลให้ลูกเจ็บปวดเวลาถ่ายและมีเลือดสีแดงสดออกปนมากับอุจจาระ อาการเช่นนี้ เบื้องต้นอาจจะรักษาได้ด้วยการให้ลูกนั่งแช่น้ำอุ่น ใช้ยาทาแผลให้ไม่เจ็บ รักษาอาการท้องผูกให้อุจจาระนุ่มลง อาการริดสีดวงทวารนี้มักพบในเด็กโตและจะมีโอกาสเกิดขึ้นกับเด็กเล็กน้อยมาก

#ท้องผูกจากภาวะที่มีความผิดปกติของลำไส้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คือ ภาวะที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายขาดปมประสาทไปเป็นช่วง ทำให้การบีบตัวของลำไส้ใหญ่ผ่านไปถึงทวารหนักไม่ได้ มักพบได้ถึงร้อยละ 60 ในทารกอายุ 3 เดือน โดยทารกที่มีภาวะดังกล่าวจะทำให้ทารกจะไม่สามารถถ่ายขี้เทาได้ มีภาวะรูทวารหนักเล็กตีบแคบไป มีอาการท้องอืดบ่อย ๆ อาเจียน เลี้ยงไม่โต มีอาการลำไส้อักเสบ ในกรณีนี้ต้องให้คุณหมอทำการตรวจทางทวารหนัก เอ็กซเรย์วินิจฉัยภาวะนี้ และรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น

ช่วยลูกลดอาการท้องผูกทำอย่างไร

  • ควรกระตุ้นให้ลูกได้กินผักผลไม้ที่มีกากใยหรือน้ำผลไม้ เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม สับปะรด ละมุด ฝรั่ง ลูกพรุน ฯลฯ เพราะใยอาหารจะช่วยเพิ่มกากอาหาร เพิ่มปริมาณเนื้ออุจจาระและอุ้มน้ำ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น
  • ให้ลูกดื่มน้ำเยอะ ๆ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ลองทำดูแล้ว อาการท้องผูกของลูกยังไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปหาหมอเพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขกันต่อไป และอย่าเพิ่งตัดสินใจใช้ยาระบายแก้อาการท้องผูกกับลูกเอง ควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอก่อนนะคะ


อ้างอิงข้อมูลจาก :

www.thairath.co.th

www.sabuykid.com

facebook.com/sungkomclinic

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ลูกท้องผูก อึแข็ง ถ่ายเจ็บ เรื่องของเด็กที่ไม่ควรมองข้าม

4 วิธีแก้ปัญหาเพื่อลดอาการท้องผูกให้ลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R