ทารกกินอิ่มไม่ได้ช่วยให้นอนหลับดีเสมอไป

พ่อแม่หลายคนเชื่อว่าถ้าให้ลูกวัยทารกกินอิ่ม ลูกก็จะหลับยาวตอนกลางคืน เหมือนกับการเติมแท็งก์น้ำให้เต็มด้วย นมแม่ นมผง หรืออาหาร ก็จะทำให้ลูกอิ่มจนร่างกายต้องพักและหลับไปในที่สุด ซึ่งฟังดูก็สมเหตุสมผลใช่ไหมคะ แต่งานวิจัยล่าสุดบอกว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการกุมารแพทย์ เผยว่า การกินของทารก กับ การนอน ของทารก มีความเชื่อมโยงกันอย่างหลวมๆ เท่านั้น โดยทีมวิจัยได้ศึกษารูปแบบการนอนของแม่และทารกอายุ 2-12 สัปดาห์ พบว่า การตื่นขึ้นมาระหว่างคืน คุณภาพการนอน และจำนวนชั่วโมงรวมของการนอน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการให้นมแม่หรือให้นมขวดเลย การกินนมขวดปริมาณมากๆ ก่อนนอนไม่ได้ส่งผลให้นอนหลับได้ดีในตอนกลางคืนแต่อย่างใด รายงานจากวารสารกุมารแพทย์ ยังระบุว่าการให้ทารกกินนมขวดปริมาณมากในตอนกลางคืนส่งผลเสีย เช่น จะทำให้แม่มีนมแม่ปริมาณลดลง ในช่วงเย็นทารกอาจจะรู้สึกหงุดหงิดเป็นเรื่องธรรมชาติ หากแต่มีแม่บางคนคิดว่านั่นเป็นเพราะลูกยังกินนมไม่อิ่ม จึงป้อนนมขวดลูกเพิ่มให้อีก (โดยไม่ได้ปั๊มนมแม่ออก) ผลก็คือ ผ่านไปสองสามสัปดาห์ คุณแม่คนนั้นมีปริมาณนมแม่ลดลง

ความเป็นจริงที่คุณแม่ควรทราบเกี่ยวกับการกินและ การนอน ของทารก

การที่เด็กหงุดหงิดร้องโยเยช่วงเย็นและการที่ต้องให้นมแม่บ่อยๆ นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับเด็กทารก เป็นการปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาท และกินนมบ่อยครั้งเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สถาบันกุมารแพทยศาสตร์ของสหรัฐอเมริการะบุว่า “การที่ทารกร้องโยเยในตอนกลางคืนหรือต้องการกินนมอย่างสม่ำเสมอในช่วงกลางคืน ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า นมไม่พอและต้องการนมผงเสริม” อย่างไรก็ดี รูปแบบการกินของทารก และ การนอนของทารก จะเปลี่ยนไปตามวัยที่โตขึ้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะกล่อมลูกนอนให้ได้ผลก็คือ การเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูก

 

ในช่วงเดือนแรกของชีวิต ทารกจะตื่นบ่อยและการตอบสนองลูกด้วยการให้กินนมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทารกวัย 1 เดือนจะมีกระเพาะที่เล็ก และความสามารถในการเก็บพลังงานเพียงเล็กน้อย การให้นมแม่บ่อยครั้งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก และเมื่อร่างกายเจริญเติบโต การตื่นในตอนกลางคืนไม่ได้หมายความว่าหิวเสมอไป ข้อเท็จจริงก็คือ ทารกตื่นเพราะเหตุผลมากมาย เช่น เสียงดัง อุณหภูมิที่ร้อนหรือหนาวเกินไป ความเคยชิน ความต้องการการปลอบประโลม เป็นต้น เด็กทารกมีวงจรการนอนหลับวนซ้ำ ทุกๆ 60 นาที และเป็นไปได้ที่จะตื่นเพราะเสียงดังหากยังหลับไม่สนิท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และหลังจากอายุ 6 เดือน นาฬิกาชีวิตของทารกก็จะบอกเด็กว่า ได้เวลานอนเมื่อถึงเวลากลางคืน และได้เวลาตื่นเมื่อถึงเวลากลางวัน แต่ก่อนหน้านั้นที่ทารกตื่นง่ายก็เพราะการทำงานของระบบประสาทนั่นเอง

และหลังอายุ 1 ปี พฤติกรรมการนอนของทารก และ การกินของทารก เด็กก็จะเหมือนผู้ใหญ่อย่างเราๆ มากขึ้น ถ้าเรากินอาหารมื้อใหญ่ หนักท้องและปริมาณมากก่อนนอนทันที จะทำให้ระบบประสาทของคุณทำงานอย่างหนัก คุณอาจจะนอนหลับอย่างอึดอัดและ ต้องตื่นมาปัสสาวะระหว่างคืน สำหรับเด็กก็เช่นกัน เมื่อโตขึ้นก็จะ มีความสามารถในการนอนหลับได้ยาวขึ้น เมื่อกินอิ่มมากก็จะทำให้เป็นการกระตุ้นร่างกายมากขึ้น และปัสสาวะใส่ผ้าอ้อมมากขึ้นด้วย

การนอนของทารก ช่วงวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือนแรก นอนแค่ไหนดี?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกแรกเกิด เมื่อเกิดมาช่วงแรกๆ จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายมาก ส่วนใหญ่จะมีแค่กินกับนอน และเล่นบ้างเล็กน้อย คุณแม่มือใหม่หลายคนจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า การนอนของทารก ในช่วงขวบปีแรกนี้ เขาควรนอนมากเท่าไหร่ถึงจะพอดี วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

การนอนของทารกแรกเกิดวัย 6 สัปดาห์

เด็กหลาย ๆ คนมีช่วงการเติบโตเร็ว (growth spurt) ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกตอน 2 สัปดาห์ ซึ่งทำให้เด็กตื่นมาหิวนมตอนกลางคืนเอง

  • ช่วง 1-2 วันหลังการเติบโตเร็วผ่านไป คุณแม่จะสังเกตได้เองว่าลูกนอนนานเป็นพิเศษ
  • การที่ลูกวัย 6 สัปดาห์ตื่นตอนกลางคืน 3-4 ครั้งเป็นเรื่องปกติ
  • เด็กวัยนี้บางคนยังไม่พร้อมที่จะนอนตามที่คุณแม่ต้องการได้ อย่าเพิ่งฝึกให้ลูกนอนเป็นเวลา หรือปล่อยให้ลูกร้องไห้จนหลับ เพราะสิ่งที่เข้ามากวนใจลูกช่วงแรกเกิดถึง 3 เดือนจะทำให้ลูกเครียด และจะยิ่งกลายเป็นเด็กนอนยาก
  • คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ประโยชน์จากการอยู่ที่ไหนก็หลับได้ของลูกตอนนี้ เพราะเด็กมักจะชอบนอนในคาร์ซีทหรือรถเข็นได้ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ร้านอาหาร บ้านเพื่อน หรือห้างสรรพสินค้า แต่ความสามารถนี้จะเริ่มหายไปเมื่อลูกเริ่มอายุ 4 เดือน ซึ่งเขาจะต้องการนอนในที่มืดและเงียบ

การนอนของทารกวัย 2 เดือน

คุณจะเริ่มรู้แล้วว่าลูกชอบหลับเวลาไหน สัก 3-4 ครั้งต่อวัน เราอยากให้คุณปล่อยให้ลูกนอนเวลาตามธรรมชาติของเขา ปล่อยไปซักพัก แล้วเวลาไหนเวลานั้น จะเป็นช่วงเวลาการนอนหลับที่สม่ำเสมอของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การหลับตอนกลางคืนของทารกวัย 2 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 9 ชั่วโมง (แบบมีตื่นบ้าง) และจะนอนตอนกลางวันรวม ๆ ประมาณ 5 ชั่วโมง
  • การรับรู้เรื่องกลางวันกลางคืนยังไม่ค่อยดีนัก เด็กวัยนี้จะนอนกลางวันมากหน่อยและบางคนอาจจะนอนไม่เป็นเวลา ลูกจะเป็นแบบนี้ไปจนอายุประมาณ 4 เดือนและค่อยเริ่มนอนสม่ำเสมอประมาณ 3-4 ครั้งตอนกลางวัน
  • เมื่อลูกเริ่มอายุ 2 เดือนปลาย ๆ หรือประมาณ 12 สัปดาห์ การนอนตอนเช้าจะเริ่มเข้าที่ โดยนอนประมาณ 1- 1 ชั่วโมงครึ่ง และจะเป็นเวลาที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
  • ช่วงกลางคืน ลูกอาจจะนอนได้ยาวขึ้นถึง 4 ชั่วโมงหรือมากกว่า เด็กบางคนอาจนอนกลางคืนนานถึง 8 ชั่วโมง (แต่เกิดขึ้นกับน้อยคนนัก) และทารกส่วนมากจะเริ่มลืมตาตื่นมาสำรวจโลกมากขึ้นช่วงกลางวัน
  • ทารกช่วงนี้จะตื่นอย่างน้อย 1 ครั้งช่วงกลางคืน
  • ตอนกล่อมนอน คุณแม่ควรอุ้ม กอด ให้นม โยกเยก หรือเดิน การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้เด็กติดนิสัยในช่วงนี้
  • เด็กบางคนมีเสียงเหมือนนอนกรน ซึ่งอาจเกิดจากน้ำมูกที่อยู่ในลำคอหรือจมูก บางทีการหายใจอาจจะหยุดแป๊บนึง กระบังลมของเด็กจะค่อย ๆ ปรับตัวไปเองอาจจะใช้เวลาถึง 1 ปี เรื่องการหายใจแบบนี้คุณแม่ไม่ต้องห่วง แต่หากคุณเป็นห่วงการหายใจของลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความแน่ใจ
  • การฉีดวัคซีนอาจจะทำให้ลูกนอนไม่ค่อยสบายได้นะ ไม่ต้องตกใจ

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21059713

นี่คือเหตุผลที่ว่าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีดีอย่างไร

5 สิ่งที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก

ท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกน้อย

บทความโดย

ธิดา พานิช