ทารก 4 เดือน ติดเชื้อในกระแสเลือด
สมาชิกเฟซบุ๊กท่านหนึ่ง โพสต์ขอความช่วยเหลือ ทารก 4 เดือน ติดเชื้อในกระแสเลือด ที่โรงพยบาลนครพนม ว่า
ใครที่มีเลือดกรุ๊ปโอ O ช่วยหลานหนูด้วย ตอนนี้หลานหนูต้องการเกล็ดเลือดด่วนพี่จ๋าใครก็ได้ที่เคยบริจาคเกล็ดเลือด ไม่อย่างงั้นก็เคยบริจาคเลือดมาแล้ว 10 ครั้ง ช่วยหลานหนูที ตอนนี้น้องเริ่มไม่ไหวแล้ว ใครมีติดต่อหนูด้วยนะคะ
#เด็กชายน้อมเกล้ากันหาวงษ์ หรือน้องมีตังอายุเพียง 4 เดือน ที่ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ตอนนี้น้องรักษาตัวอยู่ที่โรงบาลนครพนม ใครที่สามารถ ติดต่อได้ที่ตึกใหญ่ธนาคารเลือดชั้น 3 ที่โรงบาลนครพนม 0636183279 เบอร์แม่น้องค่ะ
ช่วยแชร์ด้วยนะคะ ป.ล.น้องต้องใช้ทุกวันจนกว่าจะหายดี
ภาพคลิปวิดีโอนี้ ได้ถูกเผยแพร่กันอย่างเป็นวงกว้าง และทุกคนก็เฝ้าภาวนาให้ทารกรายนี้ปลอดภัยหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว มีภาวะ Ectopia Cordis หรือมีหัวใจอยู่นอกร่างกาย โดยแหล่งที่มาของวิดีโอและเนื้อหาข่าวนั้นไม่ได้ระบุว่า เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร
หากทราบแต่เพียงว่า ทารกน้อยรายนี้กำลังนอนรอรับการผ่าตัดอยู่ อย่างไรก็ตาม ทารกผู้น่าสงสารรายนี้ก็ไม่ใช่รายเดียวที่มีภาวะดังกล่าวนะคะ ยังมีเด็กอีกหลายคนที่มีหัวใจเต้นอยู่นอกร่างกายและสามารถใช้ชีวิตเป็นปกติได้หลังเข้ารับการผ่าตัด และจากสถิติพบว่าแค่ 1 ใน 8 ล้านคนเท่านั้นที่จะพบภาวะดังกล่าวนี้ค่ะ
www.facebook.com/TheReactionPage/videos/647981798744360/
ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนูน้อยรายนี้จะปลอดภัยและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไว ๆ นะคะ
ทำความรู้จักกับภาวะหัวใจอยู่นอกร่างกาย
Ectopia cordis เป็นความผิดปกติของผนังด้านหน้าที่รุนแรงจนทำให้หัวใจออกมาอยู่ข้างนอก พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่หัวใจจะออกมาอยู่ข้างนอกที่ระดับทรวงอก หรือทรวงอก-ท้อง มีรอยโหว่ของกระดูกหน้าอก (sternum) โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ อาจแบ่งออกได้สองประเภทดังนี้
- ชนิดเดี่ยว ๆ
- Pentalogy of Cantrell Omphalocele
- กระบังลมมีรอยโหว่
- ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ
- ความพิการในหัวใจเอง
- หัวใจอยู่ข้างนอก
และเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของทารกในครรภ์ คุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตตัวเองและไปพบแพทย์ตามที่นัดทุกครั้งนะคะ
ที่มา: MED Insiders และ CMU
เมื่อเพจดังอย่าง Liekr และ เพจคนท้องคุยกันได้โพสต์เรื่องราวของคุณแม่ท้องชาวต่างชาติท่านหนึ่ง ที่ละเลยวันกำหนดคลอดเกินไป 1 สัปดาห์ จนวันที่ไปถึงโรงพยาบาลคุณหมอถึงกับสั่งให้เข้าห้องผ่าตัดทันที!! จนพบว่าทารกในครรภ์นั้นอยู่ในสภาพที่น่าสงสารเป็นที่สุด
ซึ่งหายหลังจากที่ทำการผ่าตัดนั้น ทารกไม่สามารถส่งเสียงร้องใด ๆ ได้อีกแล้ว แต่กลับส่งกลิ่นเหม็น ใบหน้าเป็นสีม่วงและน้ำลายฟูมปากแทน คุณหมอจึงได้รีบนำทารกเข้าห้องฉุกเฉินเพื่อทำการตรวจสอบร่างกาย และให้การช่วยเหลือโดยทันที
ทุกคนในครอบครัวรวมถึงคุณแม่ต่างพากันเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ เป็นทารกที่ปกติดีทุกอย่างแต่ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นได้ คุณหมอกล่าวว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะน้ำคร่ำน้อยเกินไป ทารกอยู่ในครรภ์เป็นเวลานานจนเกิดภาวะการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรงจนส่งผลให้มีความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด อีกทั้งทารกได้กินปัสสาวะและอุจจาระของตัวเอง และสำลักขี้เทาทำให้เกิดภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง และไม่สามารถหายใจได้ หากไม่ทำการผ่าตัดเอาเด็กออกมาเร็ว ๆ ก็จะส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้ในที่สุด
แต่เคราะห์ดี ที่คุณหมอสามารถช่วยชีวิตทารกน้อยรายนี้ไว้ได้ทัน จนตอนนี้อาการของน้องดีขึ้นมากแล้ว คุณหมอจึงอยากฝากเตือนคุณแม่ท้องทุก ๆ คนว่า กำหนดคลอดถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ถึงแม้ยังไม่มีอาการน้ำเดินหรือเจ็บท้อง ก็ต้องมาตรวจครรภ์เป็นระยะ ๆ ตามกำหนดที่หมอสั่งทุกครั้ง และหากพบอาการผิดสังเกตใด ๆ ก็ให้รีบมาพบคุณหมอโดยทันที!
ภาวะน้ำคร่ำแห้ง เกิดจากอะไร
ภาวะน้ำคร่ำแห้ง สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือแบบมีสาเหตุ และแบบไม่มีสาเหตุ
-แบบมีสาเหตุ สามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มย่อยได้แก่ เหตุจากทารกเอง เช่น ไตผิดปกติหรือท่อไตอุดตัน เป็นต้น และสาเหตุจากมารดา เช่น ภาวะขาดน้ำรุนแรง หรือมีความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาลดความดันบางชนิด ในมารดาที่รับประทานยา Herceptin ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งเต้านมจะทำน้ำคร่ำลดลงได้มาก หรือ การเสื่อมสภาพของรกทำให้สร้างน้ำคร่ำน้อยลงได้ และที่สำคัญ พบบ่อยมากขึ้น คือ ภาวะน้ำคร่ำเดินก่อนกำหนด ส่งผลให้น้ำคร่ำแห้งได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของทารกในครรภ์ด้วย
-แบบไม่มีสาเหตุ พบได้น้อย มักเป็นในมารดาที่ใกล้คลอด การตรวจภายในพบว่าปกติดี เมื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงจะพบว่าไม่มีน้ำคร่ำเหลือเลยโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีประวัติน้ำเดินมาก่อน โดยทั่วไปแนะนำให้ชักนำการคลอด เพื่อป้องกันอันตรายกับทารกในครรภ์ต่อไป
ภาวะน้ำคร่ำแห้ง อันตรายแค่ไหน
ภาวะน้ำคร่ำแห้งจะอันตรายมากน้อยขึ้นกับสาเหตุเป็นหลัก หากทารกมีความพิการแต่กำเนิดของระบบทางเดินปัสสาวะ มักจะเป็นเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้และต้องยุติการตั้งครรภ์ต่อไป หากน้ำคร่ำแห้งจากน้ำเดินก่อนกำหนด มักให้เร่งคลอดเมื่อปอดทารกพัฒนาสมบูรณ์ดีแล้ว หากเป็นกลุ่มไม่มีสาเหตุพบว่าการพยากรณ์โรคมักค่อนข้างดี เมื่อทารกคลอดแล้วความเสี่ยงต่างๆ เหล่านั้นก็หมดไป
ภาวะน้ำคร่ำแห้ง ป้องกันได้หรือไม่
ภาวะน้ำคร่ำแห้งเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถวินิจฉัยให้รวดเร็วได้และยังไม่มีวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานที่ได้ผลดี เพียงแต่รักษาแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น แพทย์บางท่านอาจใช้วิธีเติมน้ำคร่ำ หรือให้รับประทานยาบางชนิดที่อาจช่วยเร่งสร้างน้ำคร่ำได้เป็นต้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ
โรคฮีน็อคในเด็ก อย่าคิดว่าแค่ผื่นธรรมดา..อันตรายหากถึงมือหมอช้า
โรคพิษสุนัขบ้าระบาดหนัก! ดูแลลูกให้ดีเป็นแล้วตายอย่างเดียว