โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่อมบาร์โธลิน อักเสบ เรื่องที่รู้เกี่ยวกับโรคนี้!

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นี้มีมากมาย วันนี้ theAsianparent พามาดู โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่อมบาร์โธลิน อักเสบ เรื่องที่รู้เกี่ยวกับโรคนี้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

21โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นมีมากมาย theAsianparent พามาดู โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่อมบาร์โธลิน อักเสบ เรื่องที่รู้เกี่ยวกับโรคนี้!

โรคต่อมบาร์โธลิน อักเสบ (Bartholin’s Cyst) เป็นอาการที่ต่อมบาร์โธลินด้านใดด้านหนึ่ง เกิดอาการบวมขึ้น เป็นถุงน้ำหรือซีสต์ ซึ่งมักพบในเพศหญิง วัยมีประจำเดือนจนถึงก่อนหมดประจำเดือน โดยปกติแล้วต่อมบาร์โธลิน จะอยู่ในบริเวณปากช่องคลอดในแต่ละด้าน มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นในช่องคลอด เพื่อช่วยป้องกันเนื้อเยื่อในช่องคลอดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ บางกรณีก็จะเกิดการอุดตันบริเวณต่อมบาร์โธลินได้ ซึ่งจะทำให้สารหล่อลื่นถูกผลิตออกมาไหลกลับในต่อม ทำให้อาการบวมขึ้นและปวด ซึ่งเรียกว่าถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน แต่หากของเหลวสะสมภายในถุงน้ำนั้นเกิดการติดเชื้อ อาจจะทำให้เกิดหนองและกลายเป็นฝีได้

 

ขอขอบคุณวีดีโอจาก : เภสัชนัจจี้ , https://www.youtube.com

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่อมบาร์โธลิน อักเสบ เรื่องที่รู้เกี่ยวกับโรคนี้!

โดยวิธีการรักษา โรคต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst) นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดและอาการที่เกิดจากการอักเสบ ในบางครั้งก็ดูแลตัวเองได้โดยการรักษาถุงน้ำบาร์โธลินได้ หรือ อาจจะรับยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยลดการบวม ติดเชื้อของต่อมบาร์โธลินได้ แต่หากอาการรุนแรงนั้นก็จำเป็นที่จพต้องผ่าตัดเอาถุงน้ำออก

ต่อมบาร์โธลิน

อาการของโรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ

หากก้อนนูนหรือถุงน้ำมีขนาดเล็กหรือไม่มีการอักเสบอะไร ผู้ป่วยอาจจะไม่สังเกตหรือรับรู้ถึงอาการดังกล่าว เพราะมักจะไม่มีอาารเจ็บปวด แต่หากใหญ่ขึ้นก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงก้อนเนื้อที่บวมขึ้นใกล้บริเวณปากช่องคลอดจะมีอาการดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รู้สึกเจ็บปวดบริเวณก้อนที่นูน
  • รู้สึกไม่สบายตัวเวลานั่งหรือเดิน
  • รู้สึกปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
  • อาจจะมีไข้

หากมีอาการปวดในปากช่องคลอด และ อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ หรือ หากผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 40 ปี และ พบว่ามีก้อนนูนเกิดขึ้นใหม่บริเวณปากช่องคลอดก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน เพราะสามารถเป็นสาเหตุของโรคร้ายและโรคมะเร็ง

 

สาเหตุของโรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ

ต่อมบาร์โธลินเป็นต่อมขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วอยู่บริเวณปากช่องคลอดทั้งสองด้าน โดยปกติมักจะไม่สามารถคลำพบได้ เพราะมีขนาดเล็กมาก โดยอาจจะมีขนาดเพียง 1 เซนติเมตร มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นส่งผ่านทางท่อเล็กๆ ไปช่องคลอด หากท่อดังกล่าวนั้นเกิดจากการอุดตัน จะทำให้สารหล่อลื่นนี้ไม่สามารถไหลออกมา เพื่อหล่อลื่นช่องคลอด จึงอาจจะทำให้เกิดการสะสมของสารหล่อลื่นและบวมขึ้นเป็นถุงน้ำได้

โดยสาเหตุของการอุดตันของท่อลำเลียงสารหล่อลื่นในช่องคลอดนั้นยังไม่สามารถรู้ได้แน่ชัด แต่แพทย์เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการเติบโตที่ผิดปกติของผิวหนังได้ การได้รับบาดเจ็บ การระคายเคือง ในบางกรณีอาจจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียง และ การติดเชื้ออีโคไล (E.coli) หรือ แบคทีเรียชนิดอื่นๆ และ โรคต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst) นั้นมักจะพบบ่อยกับผู้หญิงที่มีอายุ 20-29 ปี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การวินิจฉัยโรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ

โรคต่อมบาร์โธลิน

โดยการวินิจฉัย โรคต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst) นั้นแพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น และ ประวัติการรักษาเบื้องต้น รวมถึงอาจจะมีการตรวจภายใน และเก็บตัวอยางสารคัดหลั่งในช่องคลอด ปากมดลูก เพื่อนำไปตรวจสอบในกรณีที่อาจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

และหากผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 40 ปี หรือ เข้าสู่ช่วงวัยหลังหมดประจำเดือน แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อวินิจฉัยเซลล์มะเร็งที่อาจพบได้จากโรคต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การรักษาโรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ

โดยอาการในระยะแรก ถุงน้ำที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กและยังไม่เกิดอาการผิดปกติ กับ ร่างกาย ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็น ต้องได้รับการรักษาและสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ที่บ้าน และหากเกิดอาการผิดปกติขึ้น รู้สึกเจ็บปวดไม่สบายตัว หรือถุงน้ำกลายเป็นฝี ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

การดูแลตนเองเบื้องต้น

โดยการดูแลตัวเองเบื้องต้นตอนอยู่บ้าน ผู้ป่วยสามารถใช้แช่น้ำอุ่นในอ่างน้ำ หรือ ประคบอุ่น โดยทำวิธีนี้วันละ 2-3 ครั้งก็จะช่วยให้อาการทุเลาะลงและช่วยให้ถุงน้ำแห้งเร็วขึ้น หรือหากมีอาการปวดก็สามารถกินยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ พาราเซตามอลก็จะช่วย

โรคต่อมบาร์โธลิน

การดูแลตนเองเบื้องต้นขณะอยู่ที่บ้าน ผู้ป่วยสามารถใช้วิธีนั่งแช่น้ำอุ่นในอ่างน้ำหรือประคบอุ่น โดยอาจทำวิธีนี้วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยให้อาการทุเลาลงและช่วยให้ถุงน้ำแห้งเร็วขึ้น หากมีอาการปวดก็สามารถรับประทานยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่ายาพาราเซตามอล

 

การป้องกันโรคต่อมบาร์โธลิน

การเกิด โรคต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst) ยังไม่แน่ชัด จึงไม่สามารถพบวิธีป้องกันได้อย่างชัดเจน แต่มีความเกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพมันธ์ จึงอาจจะลดความเสี่ยงได้โดยรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ และ มีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย โดยใช้ถุงยางอนามัยถุงครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์ ก็จะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst) และหากคิดว่าตัวเองมีอาการของโรคก็ควรทีจะพบแพทย์เพื่อรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อุ้ม ลักขณา เล่า ลูกแพ้อาหาร ลมพิษ ปากม่วง ที่ญี่ปุ่น สงสารลูก แทบขาดใจ

สาวชาวม้ง วัย 17 คลอด ลูกชายแฝด 3 แม่ไม่มีน้ำนม เด็กต้องกินนมผง ขอรับบริจาคช่วยเ หลือเรื่องนม

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 64 การทานอาหารเสริม ในแม่ท้อง ทำได้ หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

bossblink