ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ควรมีค่าฮอร์โมน hCG เท่าไหร่ถึงถือว่าปกติ

อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ควรมีค่าฮอร์โมน hcg เท่าไหร่ถึงถือว่าปกติ ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ ของอายุครรภ์แต่ละสัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ ค่าฮอร์โมน hCG ปกติ ต้องเท่าไหร่ ตาราง hCG คนท้อง อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ตรงตามเกณฑ์ไหม ตามอายุครรภ์หรือไม่ ปกติหรือเปล่า

เช็กตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ ค่าฮอร์โมน hCG ปกติหรือไม่ ?

การตั้งครรภ์ทั่วไปจะดำเนินไปหลังจากตัวอ่อนมีการฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว ซึ่งจะมีเซลล์จำเพาะคอยสร้างฮอร์โมน hCG ขึ้น ฮอร์โมนนี้เองออกฤทธิ์กระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จำเป็นในการพยุงการตั้งครรภ์ในช่วงแรก จนกระทั่งอายุครรภ์ 10 - 12 สัปดาห์ รังไข่จะค่อย ๆ ลดหน้าที่ลง ในขณะที่รกทำงานได้สมบูรณ์มากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนผ่านให้รกทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นหลักแทนต่อไปตลอดการตั้งครรภ์

อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของฮอร์โมน hCG คือ ใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถตรวจพบฮอร์โมนนี้ได้ ทั้งในปัสสาวะ และในเลือด ที่เราพบเห็นกันทั่วไป คือการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์จากน้ำปัสสาวะนั่นเอง ซึ่งมีความไวในการตรวจถึงร้อยละ 98 และถือเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ที่ระบุว่าหญิงนั้นตั้งครรภ์ ปัจจุบันชุดทดสอบดังกล่าว สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ให้ผลบวกได้เร็วมาก แม้วัดค่า hCG ในเลือดได้เพียง 25 mIU/mL ซึ่งถือว่าต่ำมาก

การยืนยันการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน จึงไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเลือดวัดค่า hCG แต่อาจวัดค่านี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบส่วนหนึ่งในการทำนายความเสี่ยงของทารกดาวน์ในครรภ์ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่มีประวัติการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติมาก่อน หรือเป็นการตั้งครรภ์จากเด็กหลอดแก้ว หรือมีอาการผิดปกติในครรภ์นี้เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดแม้เพียงเล็กน้อย หรือปวดหน่วงท้องน้อย ก็ควรมาพบสูติแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพื่อประเมินถึงสภาพของการตั้งครรภ์ โดยการตรวจเลือดและตรวจอัลตร้าซาวด์

อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของฮอร์โมน hCG คือ ใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถตรวจพบฮอร์โมนนี้ได้ ทั้งในปัสสาวะ และในเลือด ที่เราพบเห็นกันทั่วไป คือการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์จากน้ำปัสสาวะนั่นเอง

ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์เกณฑ์ปกติของ hCG

เกณฑ์ปกติของ hCG ตามอายุครรภ์ (นับจากวันแรกของประจำเดือนรอบล่าสุด)

  • อายุครรภ์ 3 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ hCG 5 – 50 mIU/mL ค่ามัธยฐาน (Median) 17 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 5 – 420 mIU/mL ค่ามัธยฐาน (Median) 110 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 20 – 7,300 mIU/mL ค่ามัธยฐาน (Median) 1,149 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 1,000 – 56,000 mIU/mL ค่ามัธยฐาน (Median) 9,514 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 7 – 8 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 7, 500 – 220,000 mIU/mL ค่ามัธยฐาน (Median) 18,020 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 9 – 12 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 25,000 – 288,000 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 13 – 16 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 13,000 – 254,000 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 17 – 24 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 4,000 – 165,000 mIU/mL
  • อายุครรภ์ 25 – 40 สัปดาห์ ช่วงอ้างอิงของ 3,600 – 117,000 mIU/mL

ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์เกณฑ์ปกติของ hCG

จะเห็นว่าค่าเลือด hCG ดังแสดงข้างต้นเป็นช่วงที่กว้าง และทับซ้อนกันในแต่ละช่วงอายุครรภ์ การตรวจวัดเพียงจุดใดจุดหนึ่ง จึงไม่สามารถสรุปผลได้ ควรต้องวัดค่าอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อติดตามดูระดับว่าสูงขึ้นตามเกณฑ์ปกติหรือไม่ ซึ่งทั่วไปถือว่าหากเจาะเลือดตรวจวัด 2 ครั้งห่างกัน 48 ชั่วโมง ควรมีค่าสูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 53 - 66 เมื่อเทียบกับค่าแรกแล้วแต่ตำราที่ใช้อ้างอิง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าได้ค่าผลเลือดต่ำกว่าเกณฑ์

ถ้าได้ค่าผลเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ ควรต้องได้รับการประเมินโดยสูติแพทย์โดยเร็ว ทั้งนี้จะมีการซักประวัติที่ผิดปกติ เช่น

  1. เลือดออกทางช่องคลอด
  2. ตั้งครรภ์จากเด็กหลอดแก้ว
  3. เคยแท้งบุตร
  4. เคยตั้งครรภ์นอกมดลูกไหม

จากนั้นจะตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อประเมินสภาวะการตั้งครรภ์

บางกรณีจะมีการตรวจวัดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มเติม หากวัดค่าได้น้อยกว่า 5 mg/mL ทำนายได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ หากได้ค่ามากกว่า 25 ng/mL ทำนายได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์ปกติ หากอยู่ระหว่าง 5 - 25 ng/mL จำเป็นต้องตรวจติดตามต่อดูแนวโน้มของค่าเลือดที่วัดได้ต่อไป ในกรณีดังกล่าวสูติแพทย์อาจจะสั่งยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้รับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือสอดช่องคลอด เพื่อช่วยพยุงการตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งจะได้ผลดีเฉพาะในกรณีที่รังไข่ทำงานผิดปกติเท่านั้น

หมายเหตุ: ค่าอ้างอิง hCG ดังกล่าวเป็นการศึกษาในต่างประเทศ ยังไม่มีการศึกษาของคนไทย จึงใช้ประโยชน์เป็นเพียงให้ทราบระดับอย่างคร่าว ๆ เท่านั้น ไม่สามารถนำมากำหนดวิธีการดูแลรักษาได้ ทั้งนี้ให้ท่านปรึกษาสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก

ร่างกายของคุณแม่ท้องจะผลิตฮอร์โมนมากมาย ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของครรภ์ และเป็นตัวการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมาก อาการหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นส่วนมากแล้ว เกิดขึ้นจากฮอร์โมนแทบทั้งนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฮอร์โมนตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ?

ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ท้องจะผลิตฮอร์โมนมากมาย ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของครรภ์ และเป็นตัวการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมาก อาการหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก จนถึงหลังคลอด ส่วนมากแล้ว เกิดขึ้นจากฮอร์โมนแทบทั้งนั้น

มีฮอร์โมนอะไรบ้าง ที่ร่างกายสร้างขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ?

  • ฮอร์โมนเอชซีจี (Human chorionic gonadotropin hormone หรือ hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่คุณแม่รู้จักกันดี เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ และเป็นฮอร์โมนตัวแรกที่ถูกผลิตขึ้นมาในร่างกายของคนท้อง ฮอร์โมน hCG ถูกผลิตขึ้นในรก และจะพบได้ในเลือด และปัสสาวะของแม่ท้อง ฮอร์โมนชนิดนี้ มีส่วนทำให้แม่ท้องมีอาการวิงเวียน และแพ้ท้องมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการไตรมาสแรก
  • ฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human placental lactogen หรือ hPL) เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยรก ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาการไปหล่อเลี้ยงตัวอ่อน และยังกระตุ้นต่อมน้ำนม สำหรับการให้นมลูกด้วย
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งผลิตขึ้นในรังไข่ และรก เพื่อการเจริญเติบโตของครรภ์

    Loading...
    You got lucky! We have no ad to show to you!
    ติดต่อโฆษณา
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยรังไข่ และรกในขณะตั้งครรภ์ มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างผนังมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับกับการฝังตัวของตัวอ่อน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อความแปรปรวนของอารมณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละไตรมาส สร้างความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของแม่ท้อง และเปล่งประกายความเป็นแม่ ให้กับสตรีตั้งครรภ์ทุกคน

ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ทำหน้าที่เป็นเสาหลักในการช่วยคุณแม่ เลี้ยงดูทารก ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในครรภ์ ระดับฮอร์โมนที่มีความผันผวน ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามแต่ละไตรมาส สร้างการเปลี่ยนแปลง และอาการต่าง ๆ ที่คุณแม่กังวล และต้องรับมือ ตลอดจนหลังคลอด ร่างกายก็จะค่อย ๆ ปรับสมดุลของฮอร์โมน และคืนกลับสู่สภาวะปกติในที่สุด

Source: stanfordchildrens.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

ตั้งครรภ์อ่อนๆ ท้องอืด เรอ อาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ วิธีบรรเทาอาการท้องอืด

ก่อนตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง เรื่องจำเป็นที่คนท้องต้องรู้

วิธีคุยกับลูกในท้อง เพิ่มทักษะและพัฒนาการทารกในครรภ์ก่อนคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา