ลูกน้อยตัวโตขึ้นอีกนิดแล้ว ตอนนี้คุณแม่จะรู้สึกอึดอัด หายใจถี่ นอนไม่ค่อยสบาย หลับ ๆ ตื่น ๆ ลุกเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ แม่ ๆ ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ เจ้าตัวน้อยและร่างกายแม่ท้องช่วงนี้เป็นอย่างไรกันบ้างนะ ?
ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ ลูกในท้องตัวแค่ไหน
ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน ตอนนี้เทียบเท่ากับ 8 เดือนแล้วค่ะ อีกเพียง 6 สัปดาห์คุณแม่ก็จะได้เจอหน้าเจ้าตัวน้อยแล้ว ! ในตอนนี้ลูกน้อยในท้องมีน้ำหนักประมาณ 2,100 กรัม และยาวประมาณ 45 ซม. แล้วน่ะ อวัยวะต่าง ๆ เริ่มสมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเองให้ดี หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์นะคะ
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 34
- ลูกน้อยในท้องกำลังพัฒนาชั้นไขมันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
- ระบบประสาทส่วนกลางของสมองพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
- เล็บมือกับเล็บเท้าของลูกน้อยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
- ปอดของลูกน้อยยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนใกล้จะสมบูรณ์แล้ว
- เซลล์สมองเริ่มขยายโตขึ้น มีเส้นใยในการเชื่อมโยงที่มากขึ้น
- ไขมันเริ่มเกาะใต้ผิวหนัง เพื่อเตรียมพร้มอสำหรับการคลอด เพื่อให้ทารกรู้สึกอบอุ่นตลอดเมื่อออกสู่โลกภายนอก
- ระบบประสาทส่วนกลางและปอดใกล้สมบูรณ์
- ต่อมหมวกไต จะผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์มากขึ้นเป็น 10 เท่า
- ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มเอาศีรษะลงมาเหนืออุ้งเชิงกราน ในท่ากลับหัว และเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด
อาการคนท้อง 34 สัปดาห์
- คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยเมื่อล้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากตอนนี้คุณแม่จะต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างมาก และยังเจอปัญหากับการนอนไม่หลับอีก บางคนถึงกับเครียดเลยก็มี
- ความดันโลหิตลดต่ำลง ทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ง่าย
- ปัสสาวะเล็ดเข้าน้ำบ่อยขึ้น จากการกดทับปัสสาวะของมดลูก
- ปวดขา ปวดหัวเหน่า จากท้องที่โตมากขึ้น
- หายใจเร็ว หายใจถี่ เนื่องจากท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น
- รู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกและค่อย ๆ คลาย จากการบีบรัดตัวของมดลูก
- ตาเริ่มพล่ามัว เนื่องจากในช่วงนี้คุณแม่นอนพักไม่เพียงพอ แต่อาการนี้เป็นเพียงอาการระหว่างการตั้งครรภ์เท่านั้น คุณแม่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ซึ่งการเกิดการตาพร่ามัวนี้มักจะมาพร้อมกับอาการบวม ปวดหัว น้ำหนักตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีอาการผิดปกติให้พบแพทย์ทันทีค่ะ
- ท้องผูก คุณแม่คนไหนที่รู้สึกว่านั่งเท่าไหร่ก็ถ่ายไม่ออกสักที เนื่องจากอาการท้องผูกจะพบบ่อยในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งยิ่งทำให้คุณแม่ไม่สบายตัว พยายามเดินให้บ่อย ๆ และดื่มน้ำให้มาก ๆ รวมถึงรับประทานผลไม้ที่ช่วยในการขับถ่ายด้วยนะคะ
- ข้อเท้าและเท้าบวม ในช่วงนี้คุณแม่จะต้องพยายามยกขาขึ้นสูง ทุกครั้งที่ทำได้ เนื่องจากการยกขาสูงจะช่วยให้ลดอาการบวมของขาได้ค่ะ
- แรงกดในท้อง เจ้าตัวน้อยเริ่มออกมาดูโลกแล้ว เริ่มมีการเคลื่อนตัว ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าถูกกดที่อุ้งเชิงกราน และทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
- แสบร้อนกลางอก หรือกรดไหลย้อน หากคุณแม่มีอาการเลห่านี้ ควรแบ่งอาหารในแต่ละมื้อให้พอเหมาะ ไม่กินเยอะ หรือน้อยจนเกินไป และที่สำคัญควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
การดูแลตัวเองตอนท้อง 34 สัปดาห์
- พยายามอย่าเครียด และควรหากิจกรรมทำเวลาว่าง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลองเดินช้า ๆ หรือว่ายน้ำสั้น ๆ ได้นะคะ
- ควรดื่มน้ำมาก ๆ ในตอนกลางวัน ช่วงกลางคืนจะได้ไม่กระหายน้ำ
- ในช่วงนี้คุณแม่ควรงดกิจกรรมต่าง ๆ และออกแรงให้น้อยที่สุด เพื่อเก็บแรงไว้สำหรับการเตรียมตัวคลอด
- ดูแลหัวนมไม่ให้แห้งตึง หากคุณแม่หัวนมบอดควรปรึกษาแพทย์ทันที
- เปลี่ยนท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยส่งผลในการย่อยอาหาร และการทำงานของตับและไต ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ไม่ควรนอนหงาย เพราะจะทำให้ใจสั่น และอาจทำให้ความดันเลือดต่ำ
เรื่องที่ควรทำตอนท้อง 34สัปดาห์
- ค่อย ๆ ลุกนั่งช้า ๆ อย่าพรวดพราด เพระจะทำให้แม่เวียนศีรษะได้ง่าย
- วางแผน จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ของลูกน้อย
- ลดการดื่มน้ำก่อนเข้านอน ควรดื่มน้ำระหว่างวันแทน
สังเกตอาการเจ็บเตือน หรือเจ็บจริง !
อาการเจ็บเตือน
- เกิดขึ้นไม่ต่อเนื่อง
- ระยะห่างเท่าเดิม
- มีความแรงที่เท่า ๆ กันในทุกรอบ
- บรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวด
- ปากมดลูกไม่เปิด
อาการเจ็บจริง
- เกิดเรื่องเกือบทั้งวัน
- มีความถี่อย่างต่อเนื่อง
- ความแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
- ปวดหลังและท้องมาก
- กินยาแก้ปวดแล้วไม่หาย
- ปากมดลูกเปิดขยาย
*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์