ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ จะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย เพราะทารกในครรภ์ มีความยาว 15 เซนติเมตรแล้ว ไซส์ของเจ้าตัวน้อยพอ ๆ กับมะม่วง 1 ผลแล้วนะ พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 19 จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 

ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ พัฒนาการลูกเป็นอย่างไร ?

  • ผิวหนังของทารกเริ่มพัฒนาเม็ดสี
  • เส้นผมบนหนังศีรษะยาวขึ้นแล้ว
  • สมองของเจ้าตัวน้อยเริ่มสร้างการรับรู้ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ได้ยินเสียงต่าง ๆ ลองหาหนังสือดี ๆ มาอ่านให้ลูกฟัง เปิดเพลงบรรเลง หรือพูดคุยทักทายกับลูก การวิจัยระบุว่า ทารกวัย 19 สัปดาห์ จะได้ยินเสียงต่าง ๆ แล้ว ดังนั้น พ่อแม่ต้องระวังอย่าสบถคำหยาบ ในช่วงนี้ลองหาหนังสือดี ๆ มาอ่านให้ลูกฟัง เปิดเพลงบรรเลง หรือพูดคุยทักทายกับลูกดูนะ
  • ไตของทารกกำลังสร้างปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง
  • ขนาดของทารกมีความยาวประมาณ 6.0 นิ้ว และกำลังจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
  • ผิวหนังของทารกเริ่มพัฒนาเม็ดสี ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีผิวของลูกแล้ว และผิวหนังก็ถูกเคลือบด้วย ไขมันในทารกแรกเกิด (Vernix caseosa) ลักษณะคล้ายแว็กซ์ ที่จะช่วยปกป้องผิวทารกจากน้ำคร่ำ
  • ประสาทสัมผัสของลูกเริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส สมองของเจ้าตัวน้อยเริ่มสร้างการรับรู้ ทั้งการได้กลิ่น การรับรสชาติ การได้ยิน การมองเห็น และการสัมผัส
  • ไตของทารกกำลังสร้างปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

วิดีโอจาก : DrNoon Channel

 

ท้อง 19 สัปดาห์ ลูกดิ้น หรือยัง ?

  • ท้องของแม่ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ เริ่มใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเส้นเอ็นภายในท้องตึง ทำให้แม่เจ็บ หรือปวดท้องได้
  • ลูกน้อยในครรภ์เริ่มเตะแรงขึ้น บ่อยขึ้น จนแม่ประหลาดใจ แต่สักพักก็จะชินไปเอง แล้วอย่าลืมนับลูกดิ้นด้วยนะ
  • ขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นของแม่ ทำให้เกิดอาการจุกเสียดท้องได้ง่ายขึ้น

 

อาการเมื่อแม่ตั้งครรภ์ได้ 19 สัปดาห์ เป็นอย่างไรบ้างนะ ?

อาการทั่วไปอาจจะไม่รุนแรง ส่วนใหญ่แม่ ๆ อาจจะรำคาญใจเสียมากกว่า เพราะรู้สึกไม่สบายตัวเท่าที่ควร โดยอาการส่วนใหญ่ที่แม่ ๆ ต้องเจอมี ดังนี้

 

  • ปวดท้อง : อาการปวดท้องจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว เกิดจากกล้ามเนื้อยืดออกเพื่อรองรับน้ำหนักทารกในครรภ์
  • หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ : คุณแม่เริ่มมีอาการเวียนหัวระหว่างวัน เนื่องจากมดลูกขยายตัวไปกดทyบเส้นเลือดทำให้ได้รับออกซิเจนที่น้อยลง รวมถึงการขาดน้ำระหว่างวัน คุณแม่ควรกินน้ำเยอะ ๆ และรับประทานอาหารที่เหมาะสมนะคะ
  • ตะคริว : เริ่มเป็นตะคริว แนะนำให้คุณแม่ยืดเส้นยืดสาย หรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้
  • ปวดสะโพก : การปวดสะโพกอาจจะส่งผลให้คุณแม่นอนไม่หลับ ไม่สบายตัว ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ เปลี่ยนท่ามานอนตะแคง หรือใช้หมอนรองไว้ระหว่างเข่าทั้งสองข้างเพื่อช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ดูนะคะ
  • ปวดตามข้อ เส้นเอ็น : ในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกปวดข้อเอ็นต่าง ๆ เพราะต้องแบกรับน้ำหนักของลูกน้อย แต่หากคุณแม่มีอาการปวดที่มากเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ทันที

 

 

การดูแลตัวเองตอนท้อง 19 สัปดาห์

  • แม่ท้องลดอาการเจ็บปวด หรือปวดเมื่อยร่างกายได้ด้วยการออกกำลังกาย หรือเลือกเดินเล่นยืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ ก็ได้นะ
  • หากแม่ท้องรู้สึกวิงเวียนศีรษะให้นั่งพักแล้วหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ ฝึกสมาธิหรือฝึกการหายใจ จะช่วยได้นะคะ
  • การปวดบริเวณสะโพกจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน

 

ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์อาหาร การกิน กินอะไร งดอะไร

ในช่วงนี้เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องบำรุงเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี ทารกในครรภ์จะได้มีสุขภาพดี แต่ไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และทารกที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ตั้งแต่แรกเกิดมีโอกาสเสี่ยงที่สุขภาพจะแย่กว่าทารกที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ดังนั้นคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำด้านโภชนาการจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ

 

 

เรื่องที่ควรทำตอนท้อง 19 สัปดาห์

  • ให้คุณพ่อลองสัมผัสเวลาลูกดิ้นดูบ้าง จะช่วยเสริมสร้างสายสัมพันธ์พ่อลูกได้
  • ถ้ารู้เพศลูกแล้ว ว่าง ๆ ก็ลองหาชื่อลูกดูนะ
  • ช่วงตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ อาการปวดเมื่อยจะถามหา จนคุณแม่นอนไม่ได้ ลองปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ แล้วเพิ่มช่วงงีบหลับระหว่างวัน จะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ดีต่อลูกในท้องนะแม่
  • เข้าคอร์สอบรมก่อนการคลอด เพื่อลดความกังวลและเตรียมตัวสำหรับการคลอด
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับแม่ ๆ ท่านอื่น เพื่อคลายความกังวล

 

ถึงตอนนี้ก็ประมาณครึ่งทางแล้ว สำหรับการตั้งครรภ์ อีกไม่นานคุณแม่ก็จะได้เห็นหน้าลูกรักแล้ว ดังนั้นตลอดการตั้งครรภ์ การดูแลครรภ์ให้ปลอดภัย และสุขภาพดีอยู่ตลอดจึงสำคัญมาก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

แม่ท้องควรรู้! อาหารคนท้อง แต่ละช่วงเดือน อะไรกินได้ อะไรห้ามกิน

ที่มา : thebump, mamastory

บทความโดย

Tulya