ตอบให้เคลียร์ 10 คำถาม ไวรัสซิกากับแม่ท้อง

ไขคำตอบ 10 คำถาม ไวรัสซิกากับแม่ท้อง ติดยังไง อันตรายแค่ไหน ไปอ่านกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไวรัสซิกากลับมาคราวนี้ สร้างความตื่นตระหนกอยู่ไม่น้อย ล่าสุดกระทรวงมหาดไทย ออกจดหมายเตือนหลังพบไวรัสซิการะบาดหนักช่วง 3 เดือน ด้านกระทรวงสาธารณสุข สิงคโปร์ ก็เพิ่งเปิดเผยตัวเลขล่าสุดว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว 115 คน และพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นรายแรกในสิงคโปร์!

 

จากสถานการณ์ไวรัสซิกาที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในหลายๆ ประเทศ แม่ๆ คงจะมีคำถามมากมายที่สงสัย โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัสซิกากับแม่ท้องว่ามีอันตรายแค่ไหน เราเลยรวบรวม คำถาม – คำตอบ ไวรัสซิกากับหญิงตั้งครรภ์ ที่ทางสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่เอาไว้ มาไขข้อข้องใจคุณแม่ ที่กำลังกังวลกับเชื้อไวรัสซิกา

 

1.ไวรัสซิกามีผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อย่างไร โรคติดเชื้อไวรัสซิกามีการรักษาหรือไม่

หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกาเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยการถูกกัดจากยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค หญิงตั้งครรภ์โดยทั่วไปที่มีการติดเชื้อ อาจจะไม่มีอาการแสดง มีเพียง 1 ใน 4 คนเท่านั้นที่จะแสดงอาการ และมีอาการที่ไม่รุนแรง อาการส่วนใหญ่มีไข้ต่ำ ๆ ผื่นขึ้นตามร่างกาย อาจพบมีเยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ และข้อ อ่อนเพลีย ซึ่งจะเกิดอาการหลังจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด 2 – 7 วัน

การวิเคราะห์เบื้องต้นจากการวิจัยโดยกระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลพบว่ามีความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ต่อการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดของทารกในครรภ์โดยเฉพาะการติดเชื้อนี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการวิจัยเพื่อหาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบของการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด โดยการวิจัยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกามีการรักษาหรือไม่

ยังไม่มีวัคซีน และการรักษาโดยเฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการทั้งในหญิงตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไป องค์การอนามัยโลกแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับดูแลตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

 

3.คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในพื้นที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

หญิงตั้งครรภ์ และหญิงในวัยเจริญพันธ์ ควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดคือการสวมเสื้อแขนยาวปกคลุมผิวหนัง และกางเกงขายาว การฉีดยากันยุง นอนกางมุ้ง และการทายาป้องกันยุงกัด โดยปฎิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์ และสิ่งสำคัญมากคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทั้งในบ้าน และสภาพแวดล้อมนอกบ้านบริเวณที่พักอาศัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4.หญิงตั้งครรภ์สามารถเดินทางไปยังบริเวณที่มีการระบาดของไวรัสซิกาได้หรือไม่

หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเดินทาง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ที่นำโดยยุง เช่น ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นต้น หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว ดังนี้

– ป้องกันการถูกยุงกัดโดยการสวมใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาว และหมวก

– ใช้ยาทากันยุงที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน โดยปฎิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

– นอนหลับในห้องที่มีมุ้งลวด หรือนอนกางมุ้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– ค้นหา และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และถ้าได้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิกา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อไปตรวจครรภ์ตามนัด

 

5.คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาสำหรับหญิงในช่วงอายุวัยเจริญพันธ์ที่สามารถตั้งครรภ์ได้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสซิกา

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาแนะนำให้ใช้มาตรการป้องกัน และหลีกเลี่ยงจากการถูกยุงกัดซึ่งสามารถใช้ในการป้องกันโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา ไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

 

6.เชื้อไวรัสซิกาสามารถถ่ายทอดสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์หรือช่วงแรกเกิดได้หรือไม่

ข้อมูลในปัจจุบันเรื่องการถ่ายทอดเชื้อไวรัสซิกาสามารถถ่ายทอดสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์ หรือทารกแรกเกิดยังมีจำกัดมากอย่างไรก็ตามมีรายงานเกี่ยวกับการถ่ายทอดสู่ทารกในช่วงแรกเกิดในโรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทำให้ต้องมีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากแม่สู่ลูก และผลกระทบต่อทารก ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาควรได้รับการติดตาม และดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด

 

7.เชื้อไวรัสซิกาอาจเป็นสาเหตุของภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดได้หรือไม่

ในบางรัฐของประเทศบราซิลที่มีการเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสซิกาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ พบมีการเพิ่มขึ้นของทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด จากการวิเคราะห์เบื้องต้นของการวิจัยที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของบราซิล ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดเป็นความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งกำลังมีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาแนะนำให้มีการดูแลก่อนคลอดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด

 

8.ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดคืออะไร

ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย เป็นความผิดปกติซึ่งอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ การฉายรังสี หรือการติดเชื้อ โดยหมายถึงเด็กแรกเกิดที่มีรอบศีรษะขนาดเล็ก กว่าที่ควรจะเป็นเมื่อพิจารณาตามอายุครรภ์ที่แรกคลอด และเพศ ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดอาจเป็นเดี่ยวๆ หรืออาจจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการอื่น ๆ เช่น อาการชัก พัฒนาการล่าช้า หรือความผิดปกติในการดูด หรือกลืน อาการเหล่านี้มีความแตกต่างกันของความรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคาดการณ์ผลกระทบของการมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่ยาก จำเป็นต้องผ่านการตรวจสุขภาพ การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจสอบ และประเมินผลกระทบต่อทารก ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะสำหรับ ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด

 

9.มีวิธีการยืนยันภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดในทารกหรือไม่

วิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุดเพื่อประเมินว่าทารกมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด คือ การวัดรอบศีรษะในทารกแรกเกิด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อแรกเกิด และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 24 ชั่วโมง เมื่อทารกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด ทีมสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์จะเริ่มกระบวนการของการติดตาม และการดูแลทารกอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง

หญิงตั้งครรภ์ควรมารับการตรวจสุขภาพ และการติดตามดูแลรักษาในคลินิคฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

 

10.องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาใช้เงื่อนไขอะไรแสดงถึงความสัมพันธ์เชื้อไวรัสซิกาต่อภาวะการพิการแต่กำเนิด

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และการตอบโต้ต่อการระบาดของภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด กระทรวงสาธารณสุขประเทศบราซิลได้ชี้แจงเกี่ยวกับการสืบสวนหาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบของภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น ความเป็นพิษ ยา พันธุกรรม และสาเหตุการติดเชื้ออื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันสนับสนุนความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัสซิกาต่อการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด

องค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาได้สื่อสารกับสมาชิกในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาค และให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และการควบคุมโรคที่นำโดยพาหะนำโรค ซึ่งได้เน้นประเด็นสำคัญคือมาตรการป้องกันส่วนบุคคลเพื่อลดการสัมผัสพาหะนำโรค โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์

 

เพื่อความปลอดภัยของแม่ท้อง คุณแม่ต้องสวมเสื้อผ้าอย่างมิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายกัด และบ้านไหนที่มีหญิงตั้งครรภ์ก็ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ทำความสะอาดภาชนะที่มีน้ำขังแล้วเช็ดให้แห้ง หรือกวาดทิ้งเศษขยะที่มีน้ำ ทำเป็นประจำป้องกันไว้ก่อน

 

ที่มา : beid.ddc.moph.go.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แม่ท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด

ไวรัสซิกาเชื้อร้ายพันธุ์ใหม่อันตรายต่อแม่ตั้งครรภ์

 

บทความโดย

Tulya