จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน อาการแบบนี้แปลว่าน้ำนมแห้ง ใกล้หมดหรือเปล่า

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน น้ำนมที่เคยปั๊มได้ มีปริมาณลดลง หน้าอกนิ่ม เหลว ไม่คัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมแห้งหรือเปล่า หรือเป็นสัญญาณบอกว่าน้ำนมใกล้หมดกันนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน เป็นคำถามที่คุณแม่มักจะถามกันเข้ามาอยู่บ่อย ๆ ด้วยความที่อาจจะกลัวว่าจะมีน้ำนมไม่พอให้ลูกกิน จึงเกิดความวิตกกังวลเป็นเรื่องปกติ  แต่คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะครับ เพราะเรื่องของนมแม่นั้น ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ

เรามาเริ่มจากการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนมเบื้องต้นกันก่อน ซึ่งน้ำนมของคุณแม่นั้น จะมีการผลิตอยู่ตลอด ด้วยความเร็วที่ขึ้นอยู่กับว่าเต้านมของคุณแม่นั้นว่างหรือเต็ม โดยน้ำนมแม่จะถูกผลิตสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเวลาที่ลูกดูดแต่ละครั้ง เมื่อน้ำนมเริ่มเต็ม การผลิตน้ำนมก็จะช้าลง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด เป็นช่วงที่สำคัญมาก น้ำนมแม่จะผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือการปั๊มด้วยเครื่อง ถ้าคุณแม่สามารถนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มาก ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อการผลิตน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกัน หากให้นมผสมในช่วงสัปดาห์แรกนี้ ก็จะเท่ากับว่าเป็นการแทรกแซงกลไกของธรรมชาติ ซึ่งก็จะทำให้การผลิตน้ำนมของแม่ลดลงได้

จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน

ดังนั้น วิธีที่จะเร่งให้น้ำนมมาเร็ว และมีน้ำนมเพียงพอ และถ้าต้องการที่จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน สิ่งที่คุณแม่ต้องทำก็คือ พยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นและบ่อยขึ้น ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีบ่อย ๆ และ/หรือ เพิ่มการบีบหรือปั๊มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด และพยายามทำให้น้ำนมเกลี้ยงเต้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการดูดหรือปั๊มแต่ละครั้งนั่นเอง

ทำอย่างไรให้น้ำนมเกลี้ยงเต้า

  • ให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี
  • นวดเต้า หรือบีบเต้าช่วย
  • ให้ลูกดูดน้ำนมจากทั้ง 2 เต้า
  • บีบหรือปั๊มนมออกหลังจากที่ลูกดูดเสร็จแล้วรู้สึกว่าลูกยังดูดไม่หมด (การบีบหรือปั๊มจะช่วยได้มากขึ้น ถ้าทำเพิ่มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด)

หน้าอกไม่คัดตึง หน้าอกนิ่ม เหลว รู้สึกเหมือนไม่มีนม แปลว่าน้ำนมแห้งหรือเปล่า?

คุณแม่มือใหม่หลายท่าน มักจะมีความรู้สึกวิตกกังวล โดยเฉพาะในช่วง 6-12 สัปดาห์แรกหลังคลอด เมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำนมที่เคยปั๊มได้นั้น มีปริมาณลดลง อีกทั้งยังรู้สึกว่าหน้าอกนิ่ม เหลว ไม่คัดตึงเหมือนช่วงแรก จนสงสัยว่าน้ำนมแห้งหรือเปล่า หรือบางคนก็เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นสัญญาณบอกว่าน้ำนมกำลังจะแห้ง ทำให้เลิกให้นมแม่ แล้วให้นมผสมแทน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่จริง ๆ แล้ว ในช่วงแรกหลังคลอดนั้น ร่างกายของคุณแม่ยังไม่สามารถปรับตัวให้รับรู้กับปริมาณความต้องการน้ำนมของลูกได้ คุณแม่ส่วนใหญ่จึงมักจะมีน้ำนมมากเกินกว่าความต้องการของลูก

จนเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนแรกหลังคลอด ฮอร์โมนโปรแลคตินที่มีปริมาณสูงในระยะแรกคลอดจะค่อย ๆ ลดต่ำลง จนเข้าสู่ระดับปกติ ซึ่งก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกว่าหน้าอกไม่คัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมเริ่มไหลน้อยลง ปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ก็อาจจะลดลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีนม หรือน้ำนมแห้งแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่บอกว่า ร่างกายสามารถรับรู้ได้แล้วว่า ปริมาณน้ำนมแค่ไหนจึงจะพอดีกับความต้องการของลูกนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นมแม่จะหมดตอนไหน

ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายคุณแม่ผลิตได้ในช่วงแรกนั้น มักจะมากเกินกว่าความต้องการของลูกน้อย ทำให้มีการคัดตึง และไหลซึมออกมามาก แต่เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ปริมาณการผลิตน้ำนมจะพอดีกับความต้องการของลูก ไม่ผลิตเกิน ไม่ใช่ผลิตน้อยลงจนไม่พออย่างที่คุณแม่เป็นกังวล

ขอเพียงให้ลูกดูด และ/หรือ บีบหรือปั๊มออกอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ให้นมผสมเพิ่ม ร่างกายคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของลูกในแต่ละวัยอย่างไม่มีปัญหา ไม่ต้องกลัวว่าจะหมดนะครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หมดห่วงเรื่องน้ำนมหมด น้ำนมแห้งไปแล้ว แต่ยังมีวิธีการ เทคนิคดี ๆ ในการเพิ่มน้ำนม จากคุณแม่ผู้มีประสบการณ์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาน้ำนมแม่ที่ คลับคุณแม่น้ำนมน้อย กลุ่ม Facebook ที่เราอยากแนะนำให้คุณแม่เข้าร่วม


ที่มา breastfeedingthai

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไวท์ดอท เรื่องที่ทำแม่ให้นมต้องนอนร้องไห้ เช็คหัวนมด่วน มีจุดขาวไหม

หลังจากให้นมแม่แล้ว ควรให้ทารกกินน้ำตามไหม?

รวมเทคนิคช่วยแม่มือใหม่ ท่าให้นมลูก การบีบน้ำนม ทำได้ตามนี้นมแม่มาแน่

บทความโดย

P.Veerasedtakul