คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ คู่มือตั้งครรภ์พร้อมคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการนอน การเลือกทานอาหาร และวิธีการเลือกของเพื่อเตรียมไว้สำหรับเจ้าหนูน้อย มาแบ่งปันให้เหล่าคุณแม่มือใหม่กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ คู่มือตั้งครรภ์พร้อมคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำ คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคดี ๆ ด้านการนอน การเลือกทานอาหาร และวิธีการเลือกของเพื่อเตรียมไว้สำหรับเจ้าหนูน้อย มาแบ่งปันให้เหล่าคุณแม่มือใหม่กันค่ะ

 

เทคนิคการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนอนหลับพักผ่อนเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่แล้ว และยิ่งจำเป็นมากขึ้นกว่าเดิมสำหรับเหล่าคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วงเวลาที่เราหลับนั้น ร่างกายจะเข้าไปซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ซึ่งนั่นรวมไปถึงหลอดเลือด ที่จะไปกระตุ้นการไหลเวียนเลือด เพื่อไปเสริมพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนั้นการนอนหลับยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมการตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลิน ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกด้วย

 

คุณแม่ตั้งครรภ์นอนตะแคงซ้ายดีที่สุด คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ว่าท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คือ นอนตะแคงซ้าย เนื่องจากการนอนตะแคงซ้ายดีต่อระบบไหลเวียนเลือด เพิ่มประสิทธิภาพในการได้รับออกซิเจนและสารอาหาร เพื่อเอาไปเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์ รวมไปถึงสนับสนุนการทำงานของไต ช่วยลดความดันตับ และลดอาการบวม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คู่มือ คุณแม่ ตั้งครรภ์ มือใหม่

 

การนอนตะแคงซ้าย บางครั้งอาจจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนมีอาการปวดหลังและสะโพก ไม่สบายเนื้อสบายตัว นอนหลับยาก ดังนั้นหมอนและที่นอนมีส่วนช่วยให้คุณแม่หลับสบายขึ้นได้นะ ที่นอนที่ความนุ่มพอเหมาะกับคุณแม่ ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป จะช่วยจัดแนวกระดูกสันหลัง และบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ รวมไปถึงการใช้หมอนก็ช่วยได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การใช้หมอนหรือหมอนข้าง รองช่วงตัว เพื่อยกร่างกายส่วนบน สามารถช่วยลดอาการเสียดท้องได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ปวดขา การใช้หมอนรองใต้ขาก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด และลดบวมได้อีกด้วย หรือถ้าหากคุณแม่คนไหนมีอาการปวดหลัง การใช้หมอนรองช่วงหลัง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

 

เทคนิคการเลือกทานอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์

 

คู่มือ คุณแม่ ตั้งครรภ์มือใหม่

 

1. อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต

แม้ว่าคุณหมอที่คุณแม่ไปฝากครรภ์จะจ่ายกรดโฟลิกแบบเม็ดมาให้คุณแม่รับประทานแล้ว แต่คุณแม่ก็ควรได้รับโฟเลตจากอาหารด้วยนะคะ เพราะโฟเลตมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการสมองของตัวอ่อนในระยะแรก และอาหารที่อุดมโฟเลตก็หาได้ไม่ยากเลย เช่น ส้ม มันฝรั่ง บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ ถั่ว และผักใบเขียวทั้งหลาย เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. วิตามินบี 6

วิตามินบี 6 เป็นหนึ่งในวิตามินสำคัญในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์แรก เพราะมันสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ แม้อาการแพ้ท้องเป็นปัญหาใหญ่ของแม่ท้องจำนวนไม่น้อย แต่คุณแม่ก็สามารถรับมือได้โดยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ปลาแซลมอน เนยถั่ว กล้วย และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

 

3. ผลไม้

ผลไม้เป็นอาหารที่ประโยชน์มากมาย ที่สำคัญคือไม่มีไขมัน จึงเหมาะที่จะนำมาทำเมนูสุขภาพสำหรับแม่ท้องได้อย่างดีเยี่ยม เพราะผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด ในผลไม้ยังมีน้ำและสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้บางชนิดยังเต็มไปด้วยไฟเบอร์ช่วยให้ขับถ่ายดีอีกด้วย คุณแม่ท้องควรรับประทานผลไม้ทุกวันตั้งแต่ตั้งครรภ์เดือนแรกเพื่อเป็นการเริ่มต้นครรภ์สุขภาพดีและแข็งแรง

 

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่

 

4. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

นมเป็นแหล่งสารอาหารชั้นยอด ทั้งโปรตีน วิตามิน แคลเซียม น้ำ ไขมันดี กรดโฟลิก และวิตามินดี ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็งก็มีคุณค่าเทียบเท่าการดื่มนม โดยคุณแม่ควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทุกวัน แต่ไม่จำเป็นต้องโด๊ปนะคะ เพราะอาจทำให้ลูกน้อยแพ้นมและผลิตภัณฑ์จากนมได้ค่ะ

 

5. เนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์เกือบทุกชนิดปลอดภัยสำหรับแม่ท้อง 1 เดือน ยกเว้นเนื้อหมูและอาหารทะเล สำหรับเนื้อหมู หากปรุงไม่สุกเพียงนิดเดียว อาจเป็นเหตุให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้ ในขณะที่อาหารทะเลมักพบสารปรอทในปริมาณมาก ซึ่งจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากเกินไปนะคะ เพราะเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะทุกชนิดมีความปลอดภัยสำหรับคุณแม่ท้อง และยังเป็นแหล่งโปรตีนและวิตามินหลายชนิดอีกด้วย

 

6. อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เหล็กเป็นแร่ธาตุสุดมหัศจรรย์ในการรักษาระดับการไหลเวียนของเลือดให้คงที่ทั้งของคุณแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ ทารกต้องการเลือดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กเพื่อช่วยในการจับกับออกซิเจนและสารอาหาร และส่งไปให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง เนื่องจากในเดือนแรกคุณหมอจะยังไม่จ่ายวิตามินเสริมธาตุเหล็กในคุณแม่จนกว่าจะถึงเดือนที่สี่ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้อง 1 เดือนควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ บีทรูท ข้าวโอ๊ต ปลาทูน่า ถั่วต่าง ๆ ผลไม้อบแห้ง และเนื้อไก่ เป็นต้น

 

7. อาหารที่มีน้ำตาล

คำแนะนำนี้อาจจะขัดกับความเชื่อที่ว่า คุณแม่ท้องยังไม่ต้องเพิ่มน้ำหนักในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และไม่จำเป็นต้องรับประทานเผื่อลูกในท้อง แต่เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมีความสำคัญในการรักษาระดับแคลอรี่ที่แม่ท้องต้องการเพิ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 200-300 แคลอรี่ คุณแม่ท้องจึงควรรับประทานน้ำตาลธรรมชาติเพื่อให้ร่ายกายได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้สด แพนเค้ก พุดดิ้ง น้ำผลไม้คั้นสด และสมูทตี้ เป็นต้น

 

เทคนิคการเตรียมของก่อนคลอด

 

คู่มือ คุณแม่ ตั้งครรภ์ มือใหม่

มุมคุณแม่

  • กางเกงในแบบรัดหน้าท้อง (ขึ้นอยู่กับคุณแม่)
  • เสื้อชั้นในให้นมลูก
  • ผ้าอนามัยชนิดหนา
  • แผ่นซับน้ำนม
  • ครีมทาหัวนมแตก
  • หมอนให้นม
  • และของใช้ที่จำเป็นส่วนตัวต่างๆ
  • ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด (ขึ้นอยู่กับคุณแม่)
  • ครีมหรือโลชั่นบำรุงต่าง ๆ

มุมลูกน้อย

  • ผ้าห่อตัวลูก
  • ผ้าอ้อม
  • เสื้อผ้าเด็กทารก เช่น เสื้อ ชุดนอน ถึงมือ หมวกและถุงเท้า
  • แชมพู สระผม สบู่
  • ผ้าเช็ดตัวสำหรับเด็ก
  • ขวดนม จุกนม
  • ถุงเก็บน้ำนม
  • กะละมังอาบน้ำ
  • ฟองน้ำอาบน้ำเด็ก
  • โลชั่นหรือเบบี้ออยล์
  • แป้ง
  • สำลีก้านเล็ก – ก้านใหญ่ ไว้เช็ดรูจมูก และรูหูของลูก
  • สำลีก้อนผ่านการฆ่าเชื้อ ไว้เช็ดก้น
  • สำลีแผ่นเดียวรีดข้าง ไว้เช็ดตา
  • ทิชชู่เปียก
  • เป้อุ้มเด็ก ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด และสะดวกเวลาพาทำงานบ้าน
  • แปรงล้างขวดนมและจุกนม
  • เบาะนอน และเครื่องนอนอื่นๆ
  • หมอนหลุม
  • มุ้งครอบเด็ก
  • รถเข็นเด็ก

คู่ มือ คุณแม่ ตั้งครรภ์มือใหม่

  • Car seat ใช้ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลได้เลยยิ่งดี
  • เครื่องปั้มนม
  • กระเป๋าเก็บอุณหภูมิ
  • เครื่องดูดน้ำมูก
  • เครื่องวัดอุณหภูมิ
  • ครีมทาก้น
  • ของเล่น
  • ผ้ายาางกันเปียก
  • น้ำยาซักผ้า และน้ำยาปรับผ้านุ่มสำหรับเด็ก
  • กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็ก
  • กระติกเก็บน้ำอุ่น หรือน้ำต้มสุก
  • เปลเด็ก
  • หวีเด็กอ่อน

 

Source : momjunction , medicalnewstoday

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกติดเต้า ปัญหาที่แม่ ๆ กังวล วิธีทำให้ลูกเลิกติดเต้าทำไงดี ที่นี่มีคำตอบ!

ผู้ปกครองบุกร้อง สาธารณสุข ตรวจสอบ รพ. ทำคลอดเด็กทารก ดับกว่า 40 คน

เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิดที่กินในแต่ละวัน

บทความโดย

Khattiya Patsanan