คุณสมบัติของ โรงเรียนดีในชุมชน รร.มัธยมดีสี่มุมเมือง ต้องเป็นอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน แนะแนวทางการดําเนินงาน โรงเรียนดีในชุมชน โดยคัดเลือกโรงเรียนหลักของชุมชน มีการบริหารจัดการงบประมาณ บุคลากร สิ่งอํานวยความสะดวกให้พร้อม เพื่อเป็น โรงเรียนดีในชุมชน

 

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักได้ว่าโรงเรียนขนาดเล็ก มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจาก อัตราการเกิดของประชากรมี่ลดต่ำลง ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กําหนดมาตรการรวม และเลิกโรงเรียนขนาดเล็กอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

Class room1

การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก จึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีแนวทางการดําเนินงาน “โรงเรียนคุณภาพของชุมชน” โดยคัดเลือกโรงเรียนหลักของชุมชน มีการบริหารจัดการงบประมาณ บุคลากร สิ่งอํานวยความสะดวกให้พร้อม 

มีหลักการทําโรงเรียนขนาดเล็ก ให้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เกิดจากการรวมโรงเรียนเครือข่าย ๑ ต่อ ๗ หรือ ๑ ต่อ ๘ หรือในอัตราส่วน ที่มากที่สุด ที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสามารถดําเนินการได้ ให้มีโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และมีโรงเรียน มัธยมดีสี่มุมเมือง เป็นศูนย์กลางการเรียนเพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน เกิดการยอมรับในการเปลี่ยนแปลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทําแนวทางโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เพื่อให้บุคลากร ครูผู้สอน ผู้บริหารในส่วนกลาง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน พร้อมทั้ง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน สามารถร่วมกันดําเนินงานให้เป็นแบบการมีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

 

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่ประชุมได้มีการหารือถึงเรื่องการจัดตั้ง คำของบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน โดยโครงการนี้ จะต่อยอดจากโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล และโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ให้เป็นเป็นรูปธรรมทั่วทั้งประเทศ 

 

โดยแต่ละจังหวัดจะต้องทำงานในเชิงระบบร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ตั้งแต่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ต้องไปออกแบบรวมกัน เพื่อที่จะทำให้คุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รวมทั้งจะต้องจัดทำข้อมูล ว่าโรงเรียนคุณภาพของชุมชนที่จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษา และโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ในแต่ละพื้นที่ ควรจะมีกี่โรง เพื่อที่จะนำข้อมูลดังกล่าวจัดทำแผนดำเนินงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ภายในเดือนมกราคมนี้ และแผนดังกล่าวจะใช้ในการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2565 ด้วย

Class room2

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือ ถึงเรื่องปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าสูงกว่าปกติ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อรองรับปัญหานี้ ตนได้หารือ ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการ สพท.และได้ออกมาตรการแจ้งไปยัง สพท.ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติ 

 

คือ มาตรการเตรียมการรองรับ เพื่อเป็นการป้องกัน และมาตรฐานดำเนินการแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดเหตุขึ้น  ซึ่งในส่วนนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะทำควบคู่ไปกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ร่วมกันไปด้วย เช่น เรื่องการใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันได้ทั้งโควิด-19 และ PM 2.5 เป็นต้น

 

“เนื่องจากที่ผ่านมา เราได้ทราบความต้องการ ปัญหาจากทุกภาคส่วนว่า เด็กมัธยมศึกษา มีความคาดหวัง และต้องการการเปิดพื้นที่ต่าง ๆ ให้พวกเขาให้แสดงออกในเรื่องของความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล และการใช้ชีวิตในโรงเรียน

 

ดังนั้นผมจึงได้เชิญ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ทั้ง 42 เขต ทั่วประเทศ มาหารือรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงมอบนโยบาย ในการจัดการเรียนนี้ เพื่อกำหนดกรอบแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมในระดับประเทศร่วมกัน   เพราะผมอยากเห็นภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ได้เปิดเวทีสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน ได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ต่อการใช้สิทธิ หน้าที่ บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ และจะหารือถึงการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนด้วย”เลขาฯ กพฐ.กล่าว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Class room3

นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวถึงความก้าวหน้า และอุปสรรคของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชนว่า หลักการ ของการยกระดับโรงเรียนคุณภาพของชุมชนของแต่ละจังหวัด มีส่วนสำคัญ 3 ด้าน คือ 

 

  • การคัดเลือกโรงเรียนต้องมีพื้นที่ 14 ไร่ขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอต่อการขยายตัวและสร้างอาคารเรียน หรือแหล่งเรียนรู้ 
  • ตั้งอยู่บนถนนหลักที่สามารถใช้บริการรถรับส่งนักเรียนได้อย่างสะดวก 
  • เป้าหมายอาคารเรียนต้องมีไม่น้อยกว่า 30 ห้อง ห้องละ 35 คน โดยประมาณ

 

ซึ่งจะทำให้โรงเรียนคุณภาพของชุมชน หรือโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง มีจำนวนนักเรียนประมาณ 1,000 กว่าคน แต่ไม่ควรเกิน 3,000 คน โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณปี พ.ศ. 2565 

 

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบ ความก้าวหน้า และอุปสรรคของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน โดยผู้รับผิดชอบการดำเนินการในแต่ละจังหวัด ตามคำสั่ง ศธ. ที่ สพฐ.11/2564 เรื่อง การบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วย 

 

โดยนายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาฯ กช.) ในฐานะรับผิดชอบจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า 

ขณะนี้ จังหวัดกระบี่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการคัดเลือก โรงเรียนมัธยมดี สี่มุมเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายข้างต้นของ ศธ. ที่ต้องการสร้างโรงเรียนดี ๆ มีคุณภาพกระจายในภูมิภาค ไม่ต้องแย่งกันเข้ามาเรียนในโรงเรียนชั้นนำ ที่กระจุกตัวในเมืองใหญ่ และการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน ไม่ควรพิจารณาเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดตนเองเท่านั้น ต้องคำนึงถึงพื้นที่ตั้งของโรงเรียน ในจังหวัดใกล้เคียงกันด้วย 

 

น.ส.เจริญวรรณ หนูนาค รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. ในฐานะรับผิดชอบจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ ปัญหาที่พบ คือ โรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งยังไม่ทราบเป้าหมายที่ชัดเจนของโครงการ ที่ต้องเอาโรงเรียนเครือข่ายมาเรียนรวมเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน และการเลือกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ หากไม่ตรงกับเป้าหมาย ก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก่อนการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ 

Class room4

ด้านนายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ. ในฐานะรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดลำปาง กล่าวว่า การลงพื้นที่ให้ความสำคัญกับเรื่องระบบฐานข้อมูล และนำ School Mapping ของทั้งจังหวัดมาดู เพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในการพิกัดจุดตั้งของโรงเรียน การเชื่อมต่อ ที่จะช่วยให้เด็กในพื้นที่ทุกคน แม้ในพื้นที่ห่างไกล ได้มีที่เรียนอย่างมีคุณภาพมากที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

รวมทั้งใช้เป็นประโยชน์ในการจำแนกข้อมูลผู้เรียนได้ชัดเจนทุกระดับการศึกษา ทั้งอนุบาล-ประถม-มัธยม รวมทั้งโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่อาจต้องไปรวมกับโรงเรียนคุณภาพของชุมชนและโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง 

 

อีกเรื่องที่จังหวัดควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ ต้องวางแผนจัดทำ Master Plan การพัฒนาโรงเรียนในปัจจุบันและอนาคตให้ชัดเจน ทำให้ดีที่สุด เพราะมีผลต่อความสำเร็จ เมื่อโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแล้ว จะได้สง่างาม จูงใจให้นักเรียนเข้ามาเรียน

ที่มา : (1) (2)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

การวางแผนการศึกษา : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

5 โรงเรียนมัธยมที่ดีที่สุดในภาคตะวันออก อันดับโรงเรียนมัธยม ภาคตะวันออก

เลือกโรงเรียนนานาชาติ ต้องดูอะไรบ้าง? มีอะไรที่เราควรดู เพื่อให้ได้โรงเรียนที่ดี

 

บทความโดย

@GIM