คุณมีภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดหรือเปล่า?

ภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดจะเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น แม่สามีโทรมาขณะที่คุณกำลังกล่อมเจ้าตัวเล็กนอนแล้วคุณสัญญาว่าจะโทรกลับไปในอีก 10 นาที แต่คุณกลับลืมจนกระทั่งบ่ายในวันต่อมาถึงจะนึกขึ้นได้ อะไรคือสาเหตุและวิธีรับมือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณอาจมีภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดหรือไม่

ภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดจะเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น แม่สามีโทรมาขณะที่คุณกำลังกล่อมเจ้าตัวเล็กนอนแล้วคุณสัญญาว่าจะโทรกลับไปในอีก 10 นาที แต่คุณกลับลืมจนกระทั่งบ่ายในวันต่อมาถึงจะนึกขึ้นได้

ถ้าคุณเคยเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้ก็อาจนับได้ว่าเป็นตัวอย่างอาการที่แพทย์เรียกว่าความจำบกพร่องหลังคลอด (Mumnesia) หรือภาวะความจำเสื่อมซึ่งเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และสืบเนื่องต่อมาจนถึงหลังคลอด แม้คุณแม่มือใหม่หลายคนจะหวาดวิตกว่าอาการดังกล่าวอาจถาวร แต่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่านี่คือเรื่องปกติและจะเป็นชั่วคราวเท่านั้น แต่อะไรคือสาเหตุของความจำบกพร่องหลังคลอดกันแน่และมีวิธีใดที่จะรักษาอาการที่ว่าหรือไม่

สาเหตุ 4 ประการที่ก่อให้เกิดความจำบกพร่องหลังคลอด

งานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2008 โดยมหาวิทยาลัยบอสตันและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ (MIT) สรุปว่าภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดอาจเกิดได้จากสาเหตุ 4 ประการ ได้แก่ ความเครียดจากการดูแลลูกน้อยแรกเกิดตลอดเวลา ฮอร์โมน ความเจ็บปวดหลังคลอดและความอ่อนเพลีย

ลูแอนน์ บริเซนไดน์ แพทย์ด้านประสาทจิตเวชศาสตร์ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะนักวิจัยดังกล่าวระบุว่าภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดเกิดขึ้นเนื่องจาก ณ ช่วงเวลานั้นผู้เป็นแม่ได้เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับลูกของตนเป็นอันดับแรกที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อะไรทำให้เกิดความจำบกพร่องหลังคลอด

สัญชาติญาณและฮอร์โมนของแม่

“คุณแม่มือใหม่…มุ่งมั่นที่จะเลี้ยงดูให้[ลูกน้อย]อยู่รอดไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม นั่นคือสิ่งสำคัญอันดับแรกสุดสำหรับผู้เป็นแม่ ผลก็คือเรื่องสำคัญอันดับรองๆ ลงมาจะถูกลืมหรืออย่างน้อยก็ถูกเก็บพักไว้ในส่วนในสมอง” เธออธิบาย

ฮอร์โมนก็เป็นตัวการก่อให้เกิดความจำบกพร่องหลังคลอดเช่นกัน ระดับเอสโตรเจนของคุณขึ้นสูงสุดในช่วงหลายสัปดาห์ซึ่งนำไปสู่การตั้งครรภ์ ก่อนจะตกฮวบลงหลังคลอด ส่งผลให้เกิดอาการขี้หลงขี้ลืมไม่หยุดหย่อน อย่างเอากล่องนมไปวางในอ่างล้างจานแทนที่จะเป็นในตู้เย็นนี่เรียกว่าเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มันคือกลไกรับมือกับปัญหา

คุณจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่ร่างกายของคุณกำลังรับมือกับความเจ็บปวดหลังคลอดด้วยการสูญเสียความทรงจำ ดร.ชารอน ฟีลัน นรีแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์นิวเม็กซิโกอธิบายในบทความในเดลี่เมลล์และชี้ให้เห็นด้วยว่าหากผู้หญิงไม่ลืมความเจ็บปวดจากการคลอด “[คู่สามีภรรยา]ก็อาจจะไม่มีเซ็กส์อีกเลย”

การอดนอนอย่างรุนแรง

แล้วที่รู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลาล่ะ? อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงที่คุณประสบนั้นเกิดจากการที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องอดนอนเป็นเวลาราว 700 ชั่วโมงในช่วงขวบปีแรกของลูกน้อยหรือประมาณ 2 ชั่วโมงต่อคืน บ่อยครั้งที่การพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นสาเหตุของภาวะความจำบกพร่อง โดเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้นมลูกก็เป็นสาเหตุหนึ่งด้วยหรือ?

สิ่งที่น่าสนใจก็คืองานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้ยังพบด้วยว่าการให้นมลูกทำให้เกิดภาวะความจำบกพร่องในผู้หญิงบางคน เนื่องจากขณะให้นมลูกน้อย ร่างกายของคุณจะผลิตฮอร์โมนเพื่อให้คุณผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกเคลิ้ม ๆ สบาย ๆ ซึ่งนำไปสู่ภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดได้ค่ะ

แล้วจะกำจัดมันได้อย่างไร?

โชคไม่ดีที่ไม่มีใครกำจัดภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดได้ค่ะ ผู้เชี่ยวชาญบางคนไม่เห็นด้วยที่จะจัดให้ภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดเป็นอาการเจ็บป่วย โดยบอกว่าความคาดหวังทางวัฒนธรรมคือสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนโทษอาการช่วงพักฟื้นหลังคลอดว่าเป็นต้นเหตุของความขี้หลงขี้ลืม

ในงานวิจัยปี 2003 ที่มหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ ซึ่งมีดร.รอส ครอว์ลี่เป็นหัวหน้าคณะวิจัยนั้นได้เสนออีกสาเหตุหนึ่งของภาวะความจำบกพร่องหลังคลอด โดยกล่าวว่าความคาดหวังทางวัฒนธรรม “ทำให้ผู้หญิงมองความขี้หลงขี้ลืมเป็นเรื่องใหญ่และโทษการตั้งครรภ์ว่าเป็นตัวการของความผิดพลาดเหล่านี้”

มองในแง่ดี

ถ้ามองในแง่ดี ภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดจะเป็นอยู่เพียงชั่วคราวค่ะ นอกจากนี้ยังมีข่าวดีอีกด้วยว่าภาวะนี้มักทำให้คุณหลงลืมเฉพาะเวลาที่ใจลอยเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เช่น จำไม่ได้ว่าให้นมลูกครั้งสุดท้ายตอนกี่โมง อาการนี้จะเป็นอยู่นานที่สุดแค่ 2-3 เดือน อันที่จริงผู้หญิงหลายคนพบว่าตัวเองมีความจำดีขึ้นและสามารถทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ดีกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ด้วยค่ะ

โภชนาการสำหรับแม่ช่วงให้นมลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Angoon