วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ คำแนะนำการดูแลตนเองอย่างปลอดภัย

คุณแม่ที่คลอดแบบธรรมชาติร่างกายมักจะฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าแม่ที่ผ่าคลอด แต่อย่างไรก็ตามการคลอดแบบธรรมชาติร่างกายของคุณแม่จะฟื้นฟูได้รวดเร็วถ้าดูแลอย่างถูกต้อง แถมมีสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมที่จะดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ ติดตามอ่าน คำแนะนำ การดูแลตนเองหลัง คลอดธรรมชาติ อย่างปลอดภัยกันค่ะ

วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ การคลอดเป็นวิถีธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของแม่ตั้งครรภ์เมื่อครบกำหนด 9 เดือน กลไกของร่างกายจะขับทารกออกจากโพรงมดลูก  ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนสำหรับการคลอดไปกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัวอย่างสม่ำสมอและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลักศีรษะของทารกให้ลงไปในอุ้งเชิงกรานให้มากขึ้น  ขณะเดียวกันถุงน้ำคร่ำและศีรษะของทารกในครรภ์ดันออกมาทำให้ปากมดลูกขยายตัวกว้างขึ้น  มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งบอกให้รู้ว่า  เริ่มเข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอดแล้ว และ เรามี คำแนะนำหลังคลอด มาให้คุณแม่ด้วยค่ะ

 

หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 3 ระยะของการคลอดธรรมชาติ

  • ระยะที่ 1 ระยะเปิดขยายของปากมดลูก
  • ระยะที่ 2 ระยะที่มีลมเบ่งและคลอดทารก
  • ระยะ ที่ 3 ระยะคลอดทารกแล้วไปจนกระทั่งคลอดรก

หลังจากที่คุณแม่คลอดทารกปลอดภัยทั้งแม่และลูกแล้ว ต่อไปเข้าสู่ขั้นตอนการดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ  เพื่อฟื้นฟูร่างกายของแม่ท้องที่คลอดธรรมชาติ  มีวิธีการดูแลตนเองหลังคลอดอย่างถูกต้องและปลอดภัย  ดังนี้

 

วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ

ดูแลหลังคลอด มีวิธีไหนบ้าง คำแนะนำหลังคลอด

1.การเคลื่อนไหวร่างกายหลังคลอดธรรมชาติ

แม่ท้องคลอดธรรมชาติหลังคลอดแล้วแน่นอนว่าคุณแม่ยังรู้สึกเจ็บฝีเย็บและมีอาการปวดท้องซึ่งเป็นเรื่องปกติ จนคุณแม่ไม่กล้าขยับเขยื่อนไปไหนเพราะลกัวเจ็บ  ในทางกลับกันคุณหมอจะแนะนำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่า เช่น  ลูกไปเข้าห้องนำ้เอง  ไปล้างหน้า  แปรงฟัน  ฝึกดูแลลูก  ข้อดีของการเคลื่อนไหวตนเองหลังคลอด คือ เมื่อขยับร่างกาย กล้ามเนื้อและบริเวณแผลฝีเย็บจะสมานเร็วขึ้น    ที่สำคัญการเคลื่อนไหวร่างกายไม่มีผลต่อการกระทบกระเทือนมดลูกแต่อย่างใด  การออกกำลังกายเบา ๆ ตามที่คุณหมอแนะนำ เช่น  การเดิน หรือแม้แต่การเดินขึ้นลงบันไดสามารถทำได้ สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ  การยกของหนัก แบบนี้ไม่ควรทำเพราะจะกระทบกระเทือนมดลูกมากเกินไปค่ะ

 

2.การดูแลฝีเย็บ

คุณแม่หลังคลอดธรรมชาติทางช่องคลอด คุณแม่จะมีอาการปวดแผลฝีเย็บซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าปวดมาก ๆ ให้ทานยาแก้ปวดเพื่อระงับอาการปวดแผลได้ฝีเย็บได้ ควรใช้ยาจำพวกไทลินนอล (Tylenol) หรือกลุ่มพาราเซตามอล (Paracetamol) ทุก 4- 6ชั่วโมง อาการปวดจะทุเลาลง

ส่วนการอบแผลด้วยความร้อนและการอาบน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการบวมแดงของแผลลงได้และบรรเทาอาการเจ็บแผล สำหรับยาแก้อักเสบคุณหมอจะเป็นผู้จัดให้คุณแม่ไม่ควรหาซื้อมารับประทานเอง ส่วนใหญ่แล้วหลังคลอดคุณแม่มักจะกังวลแผลฝีเย็บ  ดังนั้น  มาดูกันค่ะว่า การดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้แผลหายเร็วและช่วยลดความเจ็บปวด

  • การล้างแผลฝีเย็บควรล้างด้วยน้ำอุ่นต้มสุก ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างแผลแจ่อย่างใด เมื่อล้างแผลเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีซับให้แก้งก็เพียงพอแล้ว หากแผลถูกน้ำตอนอาบน้ำไม่มีปัญหา ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้นแต่อย่างใด  ที่สำคัญห้ามใช้ฝักบัวหรือหัวฉีดล้างชำระฉีดแผล เพราะแรงดันของน้ำอาจทำให้แผลกออกจากกันได้ และอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลอีกด้วย หลังจากนั้นประมาณ  5 – 6 วัน แผลจะแนบสนิทกันดีไม่ต้องทำอะไรให้เป็นพิเศาจะแห้งได้เองตามธรรมชาติหากดูแลอย่างถูกต้อง
  • หลังปัสสาวะคุณแม่ควรใช้น้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นชำระล้างบริเวณแผลก็เพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดอาการแสบคันและป้องกันการอักเสบได้ กรณีที่อุจจาระ คุณแม่ควรใช้กระดาษชำระเช็ดไปทางด้านหลัง ไม่ควรเช็ดออกด้านหน้า เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้ามาปนเปื้อนบริเวณแผลจนอักเสบได้
  • ในช่วงหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาไหลซึมออกมาทางช่องคลอด คุณแม่ควรใส่ผ้าอนามัยเอาไว้ตลอดและเปลี่ยนแผลอนามัยบ่อย ๆ เพราะหากแผลอับชื้นจะำให้เกิดการอักเสบ
  • สถานพยาบาลบางแห่งนิยมอบแผลด้วยไฟฟ้า ซึ่งความจริงแล้วไม่มีความจำเป็นและไม่มีผลต่อแผลเท่าใดนัก  แต่ถ้าแผลบวมมาก  การอบไฟฟ้าหรือนั่งแช่น้ำอุ่นเช้าและเย็นครั้งละ 15 นาที  เพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณปากช่องคลอดมากขึ้นอาจจะช่วยให้หายเร็วได้ค่ะ

 

3.การอยู่ไฟ

เรื่อง การอยู่ไฟหลังคลอดคนไทยมักจะอยู่ไฟหลังคลอดกระทำสืบต่อกันมาในช่วงหลังคลอด  เรียกว่า ระยะอยู่ไฟ  เพระาเชื่อกันว่า การอยู่ไฟจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น  ช่วยบรรเทาอาการปวดและบำบัดโรคหลังคลอดได้  ซึ่งมีทั้งการอยู่ไฟแบบโบราณและการอยู่ไฟแบบสมัยใหม่ แต่ไฟควรอยู่ไฟแบบอ่อน ๆ และไม่นำลูกน้อยเข้าไปอยู่ไฟด้วยนะคะ ร่างกายในช่วงอยู่ไฟจะเสียเหงื่อมาก อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ดังนั้น คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม

 

4.การนั่งและยืนให้ถูกท่า

เวลานั่งในช่วงหลังคลอดธรรมชาติ  การนั่งกระทบแผลฝีเย็บเพราะน้ำหนักตัวทับลงกับพื้น จึงทำให้แมหลังคลอดธรรมชาตินั่งตัวตรงไม่ค่อยได้ หรือแม้แต่คนที่ชอบนั่งขัดสมาธิ ซึ่งท่านี้จะทำให้ขาแยกออกจากกัน ยิ่งทำให้แผลที่ตึงอยู่แล้วแทบจะปริแยกออกจากกัน ดังนั้น  ท่านั่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ คือ ท่านั่งพับเพียบ เพราะนั่งท่านี้ทำให้แผลไม่กระทบกระเทือน เวลาลุกนั่งไม่ควรกระทำด้วยความรวดเร็วเกินไป

สำหรับการเดิน  คุณแม่ไม่ควรก้าวเท้ายาว ๆ ค่อย ๆ เดิน ก้าวสั้น ๆ  และไม่ควรเดินหนีบ ๆ เพราะจะทำให้แผลเสียดสีกัน แต่ให้เดินปกติขาแยกจากกันเล็กน้อย โดยให้เดินเช่นนี้ประมาณ 7 วัน เมื่อแผลดีขึ้นคุณแม่จะเดินได้อย่างสบายดังเดิม

 

5.เปลี่ยนผ้าอนามัย

ในช่วงหลังคอลดธรรมชาติ น้ำคาวปลาจะออกมามากกว่าผ่าตัดคลอด  จะออกมาในช่วง 2 – 3วันแรก ถือเป้นเรื่องปกติ คุณแม่ต้องรักษาความสะอาดโดยการเปลี่ยนแผ้าอนามัยบ่อย ๆ หรือเปลี่ยนทันทีเมื่อรู้สึกว่าผ้าอนามัยชุ่มแล้วหรือเปลี่ยนทุก ๆ 3 ชั่วโมงเพื่อรักษาความสะอาดป้องกันการอักเสบติดเชื้อจากการอับชื้น เวลาเปลี่ยนผ้าอนามัยให้ดึงผ้าอนามัยจากทางด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด และไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด

 

6.อาหารการกินหลังคลอด

อาหารสำหรับคุณแม่หลังคลอดควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย  รสไม่จัด หมายถึง เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัดหรือหวานจัด และควรมีกากใยเพื่อช่วยในการขับถ่ายให้สะดวก  ป้องกันท้องผูก เนื่องจากหลังคลอดในระยะแรก ฮอร์โมนที่ทำให้ท้องผูกยังออกฤทธิ์อยู่ ระยะนี้คุณแม่ไม่ควรเบ่งอุจจาระเพราะจะทำให้เจ็บแผลมาก

สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลุกด้วยนมแม่ อาหารถือเป้นสิ่งสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ จำเป้นต้องได้รับปริมาณและคุณค่าทางอาหารอย่างเพีงพอ รับประทานให้ครบ 5 หมู่  โดยเฉพาะเนื้อปลา  เนื้อสัตว์  นม  ไข่  ผักและผลไม้สด ซึ่งจะช่วยซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอจากการคลอดธรรมชาติ และยังเพิ่มการสร้างน้ำนมให้ลูก ร่างกายจฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนไขมันและคาร์โบไฮเดรต ข้าว  แผ้ง  น้ำตาล ไม่ควรรับประทานมากเกินไป โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีรูปร่างอ้วนเป็นทุนเดิมเพราะจะทำให้ลดน้ำหนักหลังคลอดได้ยาก

วิธีดูแลตนเอง หลังคลอดธรรมชาติ

7.การดูแลเต้านม

ในช่วงหลังคลอดธรรมชาติ คุณแม่ที่ให้นมลูก  เต้านมของคุ๕แม่จะมีน้ำหนักและขนาดใหญ่มากกว่ากติถึง 3 เท่า ทำให้เอ็นที่พยุงเต้านมเกิดการยืด คุณแม่ไม่ควรสวมเสื้อในแบบโครงเหล็ก เพราะจะไปกดทับท่อน้ำนม การดูแลเต้านมในระยะหลังคลอดควรปฏิบัติดังนี้

  • ถ้ารู้สึกเจ็บเต้านมในช่วง 2 – 3วันหลังคลอด  เพระาเกิดจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง อาการปวดจะทุเลาลงได้ด้วยการให้คุณแม่ประคบด้วยความเย็ยสลับความร้อนช่วยลดอาการปวดบวมได้
  • อาการตึงคัดเต้านม คุณแม่ควรให้ลุกน้อยดูดนมบ่อย ๆ เพื่อลดการคั่งของน้ำนม
  • คุณแม่ควรใช้สำลีชุบน้ำเช็ดบริเวณเต้านม  ไม่ควรใช้สบู่เพราะจะทำให้หัวนมแห้งและแตกได้
  • สำหรับการดูแลเต้านมก็ทำแค่พร้อมกับอาบน้ำในแต่ละวันก็เพียงพอ  หากมีปัยหาหัวนมแตกหรอืเจ็บ ควรใช้ครีมตามที่คณหมอสั่งและงดการให้นมข้างนั้นจนกว่าจะหาย ในระหว่างงดให้นมคุณแม่ควรบีบน้ำนมทิ้งเพื่อกระตุ้นเกิดการไหลเวียนของน้ำนมไปด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : การดูแลเต้านม / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 66

8.การรักษาความสะอาดของร่างกาย

ถ้าหลังคลอดธรรมชาติตามช่องคลอดปกติ คุณแม่สามารถอาบน้ำ สระผมได้ปกตินะคะ  อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผม สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง เพราะ ในระหว่างรอคลอด และการคลอด คุณแม่เสียพลังงานในการเบ่งคลอดไปมาก ทำให้ร่างกายมีเหงื่อไคลหมักหมมแต่สิ่งที่ควรระวังสำหรับการอาบน้ำ คือ อย่าแช่น้ำนานเกินไป เพราะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากร่างกายยังอ่อนเพลียอยู่อาจทำให้คุณแม่หน้ามืดเป็นลมได้ และต้องล้างมือให้สะอาดหากสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศ อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต โควิด-19

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3