ความแตกต่างระหว่าง เมทิล แอลกอฮอล์ และ เอทิล แอลกอฮอล์

ในปัจจุบัน แอลกอฮอล์ แทบจะเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น แอลกอฮอล์ล้างมือ แอลกอฮอล์ล้างแผล หรือ นำไปผสมเป็นส่วนประกอบต่างๆ ในของที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้เราจึงจะพูดถึง ความแตกต่างต่างของแอลกอฮอล์ ซึ่งหลายคนยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่ เพราะแอลกอฮอล์มีทั้งชนิดที่ให้คุณ และทั้งชนิดที่แม้จะให้คุณแต่หากสัมผัสโดยตรงจะกลายเป็นให้โทษได้ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดู 

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกว้างขางไปหลายประเทศ มีผู้ติดเชื้อและชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนหวาดกลัวและพยายามหาวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วย แอลกอฮอล์ล้างมือ พยายามไม่ใช่มือสัมผัส ตา จมูก และปากซึ่งเป็นช่องทางในการรับเชื้อที่ง่ายที่สุด ล้างมือด้วยสบู่แต่ต้องล้างให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแออัด และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ แอลกอฮอล์ล้างมือ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70-75% ในการฆ่าเชื้อไวรัส

L1

และดูเหมือนว่าแอลกอฮอล์เจลล้างมือจะเป็นไอเท็มที่ขาดไม่ได้ในช่วงที่โรคกำลังระบาด เพราะว่าเป็นสิ่งที่สะดวกต่อการใช้งานสามารถหยิบออกมาใช้ได้ทุกเมื่อ แถมยังพกพาไปไหนมาไหนได้ง่าย จึงทำให้แอลกอฮอล์เจลล้างมือนั้นขาดตลาด หรือมีราคาที่สูงเกินจริงไปมาก ดังนั้นหลายๆ คนก็หันมาทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือด้วยตัวเอง ซึ่งก็มีประสิทธิภาพที่ดีไม่ต่างกันแถมยังมีราคาที่ถูกกว่ามาก สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องระวังหากเราต้องการทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ด้วยตัวเองนั้นก็คือ สารตั้งต้นหลักที่จะนำมาทำเป็นแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อ แต่เอ๊ะ! จะใช้แอลกอฮอล์ชนิดไหนดีล่ะ ถึงจะปลอดภัยและถูกต้อง

 

แอลกอฮอล์ มีอยู่ 2 ชนิดที่มักจะเข้าใจผิดก็คือ เอทิลแอลกอฮอล์ และ เมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีความคล้ายกัน ในส่วนของความระคายเคือง และระดับความอันตรายก็แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้งาน จึงมีความแตกต่างกัน ทั้ง 2 ชนิดจะมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น มาดูกัน!

บทความที่เกี่ยวข้อง : แอลกอฮอล์ สถานการณ์น่าห่วงของแม่ตั้งครรภ์

 

ด้านลักษณะภายนอก

  • ทั้งเมทิลแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์ มีลักษณะเหมือนกันคือ เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ระเหยง่าย ไวไฟ ละลายในน้ำได้ ละลายในไขมันก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความระคายเคือง

  • เมทิลแลอกอฮอล์จะมีความระคายเคือง มากกว่าเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเมทิลแอลกอฮอล์ หา่กสัมผัสโดยตรงจะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ
  • ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์ จะไม่เกิดความระคายเคือง แต่จะทำให้ผิวแห้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง แม่ท้องดื่มเหล้าสูบบุหรี ลูกเสี่ยงเป็น SIDS ภัยจาก แอลกอฮอล์ต่อหญิงตั้งครรภ์

L2

ระดับความอันตราย

  • เมทิลแอลกอฮอล์

    • หากสูดดมเข้าไปมากๆ จะทำให้ผู้ที่สูดดม เกิดอาการปวดท้อง เวียนหัะว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก การมองเห็นผิดปกติ จนอาจทำให้ตาบอดได้
    • หากมีการดื่มเข้าไปในร่างกาย เมทิลแอลกอฮอล์จะะทำปฏิกิริยาำกับสารเคมีในร่างกาย เปลี่ยนเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (ฟอร์มาลีน) ซึ่งมีผลทำให้เกิด อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ดวงตาเห็นภาพไม่ชัด จนอาจถึงตาบอด กล้ามเนื้อตับตาย โลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
  • เอทิลแอลกอฮอล์

    • หากดื่มเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียวจะทำให้เกิดอาการเมา
    • ถึงแม้ว่าเอทิลแอลกอฮอล์ จะสามารถทานได้ แต่เอทานอลล้างแผล ซึ่งมีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์เป็นหลัก มาดื่มแทนเหล้าได้ เนื่องจากในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สี ไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน

สรุปคือ เมทิลแอลกอฮอล์ จะอันตรายมากกว่า เอทิลแอกอฮอล์ เพราะถ้าหากสูดดมเมทิลแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ทั้งอาการปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจทำให้ตาบอดได้ และหากดื่มเข้าไปก็จะทำปฏิกิริยา กับสารเคมีในร่างกายเปลี่ยนเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (ฟอร์มาลีน) มีผลให้เกิดเสียต่อร่างกายอย่างร้ายแรง จนอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์ หากดื่นเข้าไปมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการเมา แต่ถึงแม้ว่าเอทานอลจะสามารถทานได้ ในน้ำยาล้างแผล ที่มีเอทิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมหลัก ก็ไม่ควรนำมาดื่มแทนเหล้า เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน 

บทความที่เกี่ยวข้อง อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

 

การใช้งาน

  • มทิลแอลกอฮอล์ เหมาะสำหรับใช้เป็นตัวทำละลาย อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ใช้ผสมในทินเนอร์ ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ
  • ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์ เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อบนผิวหนัง และการทำความสะอาดอุปกณ์ทางการแพทย์ โดยปริมาณที่เหมาะสมคือระดับความเข้มข้น 70%

L3

วิธีตรวจสอบ

เราสามารถตรวจสอบ ความแต่ต่างระหว่างเมทิลแอลกอฮอล์ กับเอทิลแอลกอฮอล์ ได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. นำน้ำส้มสายชู 3ml ผสมกับด่างทับทิม 1 เกล็ด
  2. ใช้เอทิลแอลกอฮอล์หรือเมทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 3ml ผสมกับน้ำส้มสายชูที่ละลายกับด่างทับทิมไว้แล้ว 1ml
  3. หากเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ที่อันตรายต่อร่างกาย สีจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15 นาทีแรก
  4. หากเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัยต่อร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นสีภายใน 1 นาที

 

ได้ทราบถึงความแตกต่างของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว ก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง และก็อย่าเผลอใช้ผิดกันนะ

 

ที่มา : unitedhonda.com

บทความโดย

@GIM