คลิปในห้องคลอดหมอกระแทกท้องแม่ ทั้งกด ทั้งดัน อยากรู้ไหมทำไปเพราะอะไร?

ไขคำตอบไปกับคุณหมอ ปริศนาคลิปในห้องคลอด หมอทั้งกดทั้งกระแทกท้องแม่ ทำเพื่ออะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปในห้องคลอด หมอกระแทกท้องแม่ ในห้องคลอด ที่หมอทั้งกดทั้งดันท้องแม่แบบนี้ หมอทำเพราะอะไร มีคำตอบ!

คลิปในห้องคลอด หมอกระแทกท้องแม่

คลิปในห้องคลอดนี้ เป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้ช่วยคลอดบุตร นิยมใช้ในอดีต ในกรณีที่มารดาไม่มีแรงเบ่ง หรือล้าจากการรอคลอดนาน จึงให้ผู้ช่วย ช่วยดันบริเวณหน้าท้องมารดาให้ทารกเคลื่อนลงต่ำ เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ ตามจังหวะการบีบตัวของมดลูก จะช่วยส่งเสริมแรงเบ่งของมารดา แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ หรือไม่ควรใช้วิธีดังกล่าว เนื่องจากสูติแพทย์ สามารถดึงช่วยคลอดศีรษะเด็กได้ด้วยคีมคีบศีรษะ หรือเครื่องดูดสูญญากาศ และอาจมีความเสี่ยงจากแรงดันในมดลูกที่มากเกินไป มีรายงานว่า ทำให้เกิดมดลูกแตกได้ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต และเด็กทารกเองก็อาจมีกระดูกไหปลาร้าหักได้จากแรงกด ทำให้ไหล่ติดแน่นกับกระดูกหัวหน่าวมารดานั่นเอง

เมื่อมารดาคลอดทารกสมบูรณ์แล้วจึงช่วยคลอดรกต่อ และมีการนวดคลึงมดลูกบริเวณท้องน้อย เพื่อกระตุ้นให้มดลูกแข็งตัว ป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดได้

การช่วยคลอดโดยใช้ เครื่องดูดสูญญากาศ คืออะไร?

บทความ : การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เสี่ยงแค่ไหนกับลูกและแม่?

การช่วยคลอดด้วย เครื่องดูดสูญญากาศ คือการทำคลอดโดยใช้เครื่องสูญญากาศดึงศีรษะทารก เพื่อช่วยให้ทารกเคลื่อนตัวออกมาทางช่องคลอดได้ อีกทั้งเครื่องดูดสูญญากาศยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยเรื่องแรงเบ่งของคุณแม่ ในกรณีที่คุณแม่มีแรงเบ่งไม่ดีพอ

แม้ว่าการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ จะทำให้คลอดง่ายขึ้น เมื่อแม่ท้องมีปัญหาเรื่องการคลอด แต่อย่างไรก็ตาม การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ ก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคุณแม่ และลูกน้อยได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ที่ต้องใช้การช่วยคลอดด้วย เครื่องดูดสูญญากาศ

คุณหมออาจแนะนำให้ทำการช่วยคลอดด้วย เครื่องดูดสูญญากาศ เมื่อปรากฏอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • เมื่อคุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง หรือมีภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
  • เมื่อทารกอยู่ในภาวะจำเป็นต้องรีบให้คลอด ในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้ว และทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอด
  • เมื่อทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด

แม้ว่าการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ จะทำให้คลอดง่ายขึ้น เมื่อแม่ท้องมีปัญหาเรื่องการคลอด แต่อย่างไรก็ตาม การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ ก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคุณแม่ และลูกน้อยได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นกับแม่

การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ อาจมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่มีดังนี้

  • มีอาการเจ็บปวดมากหลังคลอด
  • อาจทำให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาดได้
  • อาจทำให้ปัสสาวะลำบากในช่วงแรก
  • เสี่ยงต่อภาวะโรคโลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดระหว่างคลอด
  • อาจทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนได้

ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์

การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ อาจมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกมีดังนี้

  • อาจทำให้เกิดแผลที่หนังศีรษะ
  • เสี่ยงกระดูกไหปลาร้าหัก
  • อาจทำให้กะโหลกศีรษะร้าว
  • ภาวะเลือดออกในสมอง

หากจำเป็นต้องทำการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศจริง ๆ ในบางกรณี ก็อาจทำให้ทารก ต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลนานขึ้น ซึ่งในช่วงนี้คุณหมอ และพยาบาลจะมีการดูแลทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถสังเกตอาการผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังคลอดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องต้องเจออะไรบ้างในห้องคลอด

แม่ท้องต้องเจออะไรบ้างในห้องคลอด

เมื่อมารดามีอาการเจ็บครรภ์แล้วไปโรงพยาบาล

  • จะมีการซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยแพทย์ เพื่อประเมินว่าเข้าสู่ระยะคลอดแท้จริงหรือไม่ เนื่องจากในบางรายอาจเป็นการเจ็บครรภ์เตือน
  • ให้นอนสังเกตอาการในห้องคลอด ติดตามการเจ็บครรภ์ หรือการบีบรัดตัวของมดลูกทุกชั่วโมง งดน้ำงดอาหาร ให้สารน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาสมดุลย์ของสารน้ำในร่างกาย และให้บริหารยาฉีดได้ง่าย
  • มีการตรวจภายในประเมินปากมดลูกเป็นระยะ ทุก 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อแยกการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงออกไป
  • มีการเจาะถุงน้ำคร่ำให้รั่ว เพื่อเร่งการเจ็บครรภ์คลอด มารดาอาจจะรู้สึกอึดอัดเล็กน้อย เมื่อเครื่องมือเข้าช่องคลอด
  • มีการให้ยาระงับปวดเป็นพัก ๆ
  • เมื่อจะคลอดลูก จะมีการย้ายมารดาจากเตียงสังเกตอาการไปในห้องรอคลอด
  • โดยทั่วไป จะสอนวิธีกำหนดลมหายใจ สอนการเบ่งคลอดลูก และการจัดท่าเบ่งคลอด

สิ่งที่แพทย์จะทำ เพื่อช่วยในการคลอด

  1. แพทย์ทำหน้าที่ติดตามการคลอด โดยตรวจจับการบีบตัวของมดลูก ตรวจฟังเสียงหัวใจทารกเต้น และการตรวจภายในประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
  2. ตัดสินว่ารายใดจะคลอดได้เองทางช่องคลอด รายใดต้องใช้หัตถการช่วยคลอด รายใดจำเป็นต้องผ่าตัดคลอด
  3. บางราย อาจจำเป็นต้องขยายช่องทางคลอดด้วยการตัดฝีเย็บ ช่วยให้ทารกคลอดได้ง่ายขึ้น เมื่อหัวทารกคลอด แพทย์จะทำการหมุนศีรษะเด็กให้หงายขึ้น เพื่อดูดเมือกที่ค้างในโพรงจมูก และช่องปากออกให้หมด จึงทำการคลอดไหล่ ลำตัวต่อไป
  4. เมื่อคลอดบุตรแล้ว แพทย์จำเป็นต้องทำการช่วยคลอดรก แล้วจึงเริ่มเย็บซ่อมแซมรอยตัดฝีเย็บนั้น ด้วยไหมละลายจนเสร็จ
  5. ให้สูติแพทย์ประเมินอาการทารกแรกเกิดในเบื้องต้น หากมีความผิดปกติ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ทันที

การคลอดบุตรเป็นวิถีตามธรรมชาติ การบีบตัวของมดลูกช่วยให้เด็กเคลื่อนลงต่ำ ทำให้ปากมดลูกเปิดขยายจนหมด เด็กทารกจึงคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง ส่วนการช่วยเหลือต่าง ๆ เช่นในคลิป อาจไม่มีความจำเป็นมากนักในปัจจุบัน การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งจะพิจารณาตามความจำเป็น

อ้างอิง : www.pregnancybirthbaby.org.au

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หมอท้องแก่ขึ้นเตียงรอคลอด ช่วยทำคลอดคนไข้ก่อน ทั้ง ๆ ที่ลูกจะออกอยู่แล้ว

คลอดลูกธรรมชาติ คลิปจำลองการคลอดธรรมชาติ แม่ใกล้คลอดห้ามพลาด

6 อาการใกล้คลอด เตรียมสตาร์ทรถไปโรงพยาบาลด่วน