ความเจ็บปวดขณะคลอดลูกแบ่งเป็น 2 ระยะ และมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย โดยทางการแพทย์มีวิธีบรรเทาความเจ็บปวดอยู่หลายวิธี วิธีที่จะทำให้คุณแม่ คลอดลูกแบบไหนไม่เจ็บ มีวิธีไหนบรรเทาได้บ้าง ไปดูกันค่ะ
คลอดลูกแบบไหนไม่เจ็บ ความเจ็บปวดขณะคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไร
ความเจ็บปวดขณะคลอด แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. อาการปวดท้องในระยะเตรียมคลอด เกิดจากมดลูกบีบตัว ทำให้ขาดเลือดหล่อเลี้ยงในมดลูก
2. ความรู้สึกเจ็บในช่วงคลอดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อฝีเย็บขยายตัวเพื่อเปิดทางให้ทารกแทรกตัวออกมา
สาเหตุของความเจ็บปวด
คุณแม่จะรู้สึกไม่สบายตัวเนื่องจากภายในร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ได้แก่
– ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)
– ฮอร์โมน catecholamine
– อัตราการเต้นหัวใจสูง
– ความดันเลือดสูง
– เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจและมดลูกลดลง
วิธีบรรเทาความเจ็บปวดขณะคลอด
ปัจจุบันนี้ วิทยาการทางการแพทย์พัฒนาไปมาก อัตราเสี่ยงจากการคลอดไม่ได้สูงมากเหมือนในอดีต และยังมีวิธีช่วยคุณแม่บรรเทาความเจ็บปวดหลายวิธี
-
แบบไม่พึ่งยา
คุณแม่ที่อยากคลอดโดยวิธีธรรมชาติแท้ ๆ ควรเตรียมพร้อมร่างกายและจิตใจเพื่อเผชิญกับความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้น เช่น ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการคลอด ฝึกผ่อนลมหายใจเข้าออกเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด คิดถึงเรื่องดี ๆ ให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หรือจะนวดผ่อนคลายก็ได้
-
แบบพึ่งยา
ฉีดยาแก้ปวด
ฉีดยาแก้ปวด pethidine ทุก 4-6 ชั่วโมง และยาแก้อาเจียน promethazine
อาการข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม หายใจช้าลง
(ถ้าฉีดมอร์ฟีนจะมีอาการข้างเคียงมากขึ้น)
ดมยา
ยาชาที่ใช้ คือ แก๊สไนตรัสออกไซด์ผสมออกซิเจน ในรูป entonox
ข้อดี : ใช้เวลาเตรียมการน้อย (1-2 นาที) ออกฤทธิ์เร็ว (2-8 นาที) เริ่มให้ดมยาเมื่อมดลูกเริ่มบีบตัวแล้ว
ข้อเสีย : ไม่เหมาะกับการยืดเวลาคลอด เพราะภาวะหายใจเร็วจะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดน้อย อาจส่งผลให้ทารกขาดออกซิเจนได้
บทความ : ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ แบบไหนดีกว่ากัน
การบล็อคหลัง
บทความ : สิ่งที่แม่มักบ่นเกี่ยวกับการบล็อกหลัง
1. วิธี Epidural block
แพทย์จะทำการแทงเข็มซึ่งภายในมีหลอดที่นำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ โดยให้หลอดนำยาค้างอยู่ข้างใน จากนั้นจะค่อย ๆ ปล่อยยาชาเข้าไปควบคุมชั้นผิวหนังของไขสันหลัง ทำให้คลายความเจ็บปวดลง
ข้อดี
- ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดลูก
- สามารถขอให้แพทย์ใช้วิธีนี้ระหว่างการคลอดลูกได้
ข้อเสีย
- ความสามารถในการควบคุมอุ้งเชิงกรานของลดลง
- อาจต้องใช้คีมช่วยคลอด
- อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน คัน และสั่น
- อาจมีอาการปากมดลูกบวม
2. วิธี Spinal block
แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยเจาะผ่านกระดูกไขสันหลังเข้าไปทันที ทำให้คุณแม่รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว
ข้อดี
- รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว (ประมาณ 1-2 นาที)
ข้อเสีย
- ฤทธิ์ของยาค่อนข้างสั้น
- อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และสั่น
- อาจเกิดอาการปากมดลูกบวม
3. แบบผสม
แพทย์จะแทงเข็มขนาดใหญ่ ซึ่งข้างในมีเข็มขนาดเล็กเข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง เข็มเล็กข้างในจะแทงลึกตรงเข้าไปที่แนวไขสันหลัง และส่งยาชาเข้าไปแบบ Spinal block เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉียบพลัน หากยาชาหมดฤทธิ์แล้วทารกยังไม่คลอดคุณหมอจะบล็อกหลังอีกครั้งโดยวิธี Epidural ซ้ำไปทางเข็มใหญ่ โดยจำเป็นต้องแทงเข็มซ้ำ
ข้อดี
- ลดความเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็ว
- ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดได้ยาวนาน
ข้อเสีย
- อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน คัน และสั่น
- อาจเกิดอาการปากมดลูกบวม
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังคลอด
1. การบล็อกหลังจะต้องมีการแทงเข็มขนาดเล็กเพื่อฉีดยาชาเข้าไปที่บริเวณกระดูกสันหลังระดับเดียวกับบั้นเอว จึงอาจทำให้คุณแม่เจ็บบริเวณสันหลัง หรือเกิดความรู้สึกเสียวร้าวลงไปที่ขา
2. ผลของยาชาอาจทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด ทำให้คุณแม่บางรายมีความดันโลหิตลดลง เลือดจึงไปเลี้ยงที่มดลูกและรกน้อยลง อาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนชั่วคราว ทารกอาจจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
3. คุณแม่บางคนหลังผ่าคลอดแล้ว อาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนขึ้นได้
4. ไม่สามารถขยับหรือลุกขึ้นเดินได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมงหลังจากผ่าคลอดแล้ว
5. ไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที เพราะคุณแม่บางคนหลังผ่าคลอดเสร็จ จะรู้สึกเพลียจนหลับไป
6. ปัสสาวะไม่ออก เป็นผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นในช่วง 12 ชั่วโมงแรก ซึ่งมักจะได้รับการสวนสายปัสสาวะช่วย
7. อาการปวดหลัง อาจพบได้ในช่วง 1-2 เดือนแรก หรือคุณแม่บางคนอาจได้รับผลข้างเคียงนี้นานเป็นเดือน
ส่วนหนึ่งของบทความนี้ เรียบเรียงจากงานของ Amila Weerasinghe และ Channa Gunasekara จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัย Sri Jayewardenepura ในประเทศศรีลังกา ที่เขียนให้ความรู้เรื่องอาการปวดท้องคลอดและวิธีบรรเทาความเจ็บปวดขณะคลอดที่ใช้ในปัจจุบัน
_________________________________________________________________________________________
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา : slideshare.net
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ไขข้อข้องใจ 6 เรื่องที่คนท้องกังวลเกี่ยวกับการคลอด
ผลวิจัยชี้ กินอาหารรองท้องก่อนเข้าห้องคลอดช่วยเพิ่มพลังเบ่งลูก
ผ่าคลอดแล้วยังปวดหลังไม่หาย ทำอย่างไรให้อาการบรรเทาหายไป