หาก คนท้องแพ้อาหารทะเล แพ้กุ้ง ควรทำอย่างไรดี? เพราะช่วงตั้งครรภ์นั้น ว่าที่คุณแม่ต้องดูแลร่างกายเป็นพิเศษ เพราะแม่กินอะไร ลูกก็กินอย่างนั้น แต่หากแม่เกิดภาะวะแทรกซ้อนหรือเกิดโรคบางอย่างขึ้นมากะทันหัน จะส่งผลต่อทารกในครรภ์อย่างไรมาดูกัน
คนท้องแพ้อาหารทะเล ส่งผลต่อทารกอย่างไร
เรามักจะพบว่า คนท้องแพ้อาหารทะเล หรือแพ้กุ้ง ระหว่างตั้งครรภ์ เพราะอาหารทะเลถือเป็นอาหารโปรดของหลายคน โดยเฉพาะเวลาท้องถ้าเกิดอยากเปรี้ยวปากและอยากกินอะไรสักอย่างขึ้นมา หนึ่งสิ่งที่แม่ท้องหลายคนอาจจะอยากกินในช่วงท้องคงจะเป็นน้ำจิ้มซีฟู้ดรสชาติแซ่บๆ กินคู่กับ ปูม้า หรือ กุ้งน่าจะเด็ด แล้วถ้าเกิดแม่ท้องแพ้อาหารทะเลละ? ทำยังไง ลูกจะเกิดมาแพ้ด้วยไหม ซึ่งแม่ท้องที่มีประวัติการแพ้อาหาร หากพ่อแม่มีอาการแพ้อยู่แล้วลูกที่เกิดมา มีเกณฑ์ที่จะเกิดโอกาสเป็นภูมิแพ้มากขึ้นถึง 60% ถึงแม้ว่าเรื่องพันธุกรรมจะเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถช่วยได้เรื่องการกิน เพราะฉะนั้นแม่ท้องต้องระวังการกินอย่าไปเลือกกินอาหารที่แพ้ง่ายมากเกินไป เช่น อาการทะเล เพราะจะทำให้ลูกได้สัมผัสสิ่งก่อภูมิแพ้ตั้งแต่ในครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง: โรคภูมิแพ้กับแม่ท้องรับมืออย่างไร? อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?
อาการทั่วไปของโรคภูมิแพ้
การแพ้อาหารทะเลคือ หนึ่งในโรคภูมิแพ้ ซึ่งไม่สามารถควบคุมอาการได้ 100% แต่สามารถบรรเทาได้โดยการกินยาแก้แพ้ เพื่อป้องการกำเริบของโรคที่รุนแรง แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น การแพ้อาหารค่อนข้างน่าเป็นห่วง ซึ่งจะมีอาการปรากฏที่สังเกตได้ดังนี้
- ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล
- เคืองรอบดวงตา คันในตา
- อึดอัด หายใจไม่ออก
- เกิดผื่นแดงตามร่างกาย
- อาเจียน หน้ามืด เป็นลม
ทำไมเพิ่มมาแพ้กุ้งตอนโตหรือตอนตั้งครรภ์
- เพราะมีการสะสมของสารที่อยู่ในอาหารทะเล พอตั้งครรภ์ร่างกายอ่อนแอลง สารนั้นจึงทำปฏิกิริยาต่อร่างกาย
- ฮอร์โมนในร่างกายไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการแพ้อาหารทะเลในบางช่วง
- กุ้งน้ำจืด กับกุ้งน้ำเค็ม มีโปรตีนที่แตกต่างกัน ดังนั้น คนเราอาจจะไม่แพ้ได้ทุกคนหรือทุกครั้ง
- คนท้องอาจแพ้อาหารทะเลอื่นๆ เช่น หอย ปู ปลา ปลาหมึก
แพ้กุ้ง จะแสดงอาการอย่างไร
เนื่องจากอาการแพ้กุ้งมักจะคล้ายกับ อาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบ มะเร็ง และจะเกิดขึ้นหลังอาหารทันทีหรือหลังอาหารอยู่หลายชั่วโมง
- เกิดผื่นแดงที่ผิวหนัง หน้าบวม บริเวณใบหน้า เปลือกตา คอแดงเป็นปื้นๆ
- เมื่อเนื้อเยื่อบวมขึ้น ตามใบหน้า ลำคอ ก็จะส่งผลให้หายใจไม่สะดวก
- มีอาการไอ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ถึงขั้นหายใจไม่ออก
- มีการแพ้อาหารเช่น อาเจียน ปวด ท้องเสีย ถ่ายเหลว คล้ายอาหารเป็นพิษ
- อาจทำให้หน้ามืดเป็นลมได้
- เกิดอาการภูมิแพ้รุนแรงมาก แต่พบได้น้อย เพราะหากถึงขั้นนี้อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ สังเกตได้จาก หายใจไม่ออก หน้ามือ หัวใจเต้นเร็ว ความดันลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจนถึงขั้นช็อกหมดสติ หากเกิดอาการนี้ ต้องรีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้อาหาร?
เนื่องจากการวินิจฉัยแพ้อาหาร จะต้องอาศัยทั้งการซักถามประวัติอย่างละเอียดถึงอาการ และความเกี่ยวข้องกับอาหารที่ทาน การตรวจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติต่างๆ และการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการแพ้อาหารนั้นในช่วงวัยทารกที่ลูกทานนมแม่ หากคุณแม่สังเกตว่า หลังจากที่คุณแม่ได้รับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง แล้วสักพักลูกมีอาการผิดปกติในระบบต่างๆ เกิดขึ้นซ้ำๆ ได้แก่
- อาการของระบบผิวหนัง เช่น มีผื่นคันเป็นเป็นหาย ๆ ตาบวม ปากบวม
- ระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือด ท้องเสียเรื้อรัง อาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจครืดคราด หายใจเหนื่อย
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หมดสติ ช็อค ซึ่งบ่งบอกถึงการแพ้รุนแรง ก็ควรไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะได้รับการซักถามประวัติและตรวจร่างกายลูก เพื่อหาอาการแสดงของระบบต่าง ๆ
โดยหากคุณหมอสงสัยการแพ้อาหาร ก็จะพิจารณาทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบทางผิวหนัง (Skin Test) หรือการตรวจเลือดของลูก หรือให้ลองงดอาหารที่สงสัยและนัดมาติดตามอาการ หรือทดลองทานอาหารที่สงสัย ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยชนิดของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้
บทความที่เกี่ยวข้อง: ปัจจัยที่ทำให้ลูกเเพ้อาหาร คือการติดเชื้อทางผิวหนัง
การดูแลลูกแพ้อาหาร ในช่วงวัยทารกจนถึงก่อนเข้าโรงเรียน
ในช่วงวัยทารกหากลูกทานนมแม่ คุณแม่ก็ควรงดอาหารที่ลูกแพ้ และอาหารทุกชนิดที่มีส่วนผสมของอาหารที่ลูกแพ้นั้น โดยต้องอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อจะได้ทราบว่าอาหารที่คุณแม่ทานประกอบด้วยอะไรบ้าง ทั้งนี้หากรับประทานอาหารซึ่งทำเองก็จะปลอดภัยที่สุด และเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติ ซึ่งบ่งถึงการแพ้อาหาร (Food allergies) ของลูกว่าดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วหากงดอาหารที่แพ้อย่างเคร่งครัด ประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ อาการก็จะหายไป
ข้อควรระวัง ของอาการแพ้อาหารมีอะไรบ้าง?
หากลูกมีอาการแพ้ (Food allergies) ขึ้นมาอีกครั้งก็จะต้องมีการมาทบทวนว่าเพราะอะไร ซึ่งสาเหตุหลักมักมีดังนี้ค่ะ
- คุณแม่ให้นมอาจทานอาหารที่ลูกแพ้เข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ลูกแพ้นมวัว คุณแม่ให้นมก็งดนมวัวและขนมเบเกอรี่ทุกชนิดอย่างเคร่งครัด
- วัตถุดิบในอาหารสำคัญมาก เพราะหากภายหลังลูกมีอาการกำเริบขึ้น ก็มาทราบทีหลังว่าเกิดจากทานขนมปั้นสิบ ซึ่งมีส่วนผสมของนมวัวเข้าไป โดยไม่รู้ตัว
- ลูกแพ้อาหารหลายอย่างโดยที่เราไม่ทราบมาก่อน เช่น ลูกแพ้ไข่ มีวันหนึ่งทานซาลาเปาแล้วมีอาการผื่นขึ้น เมื่อมาพบคุณหมอทำการทดสอบ ก็พบว่าลูกแพ้ไข่และแป้งสาลีด้วย
ลงทะเบียนรับการดูแล ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตาม พัฒนาการของลูก อย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวัน ลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วย แอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบน แอพพลิเคชั่น ในส่วนแรก เพราะคุณแม่ จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าควรทานอะไรบ้าง ในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือ ทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิง และ เด็กชาย รวมถึงเตรียม แผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
บันทึกการอ่านสุขภาพ ส่งผลดีต่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น เมื่อคนไข้ร่วมมือกับแพทย์
อาหารเย็นที่คนท้องไม่ควรกิน การทำอาหารเย็นแม่ท้องต้องระวังอะไรบ้าง
คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ? มาดู 24 อาหารที่คนท้องห้ามกิน!
ที่มา : amarinbabyandkids , pobpad