หลาย ๆ คน มีอคติกับการบริคจาคเลือด คิดว่าการบริจาคเลือดเป็นเรื่องที่น่ากลัว ต้องเจ็บแน่ ๆ หรือมีผลเสียอะไรรึเปล่า แล้วต้องทำยังไงถึงจะบริคจาคได้ วันนี้เราได้รวบรวม เรื่องน่ารู้ 11 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ การบริจาคโลหิต กัน ที่จริงแล้วการบริจาคเลือด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เรา ๆ คิด จะมีเรื่องน่ารู้อะไรบ้าง ไปดูกัน
11 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ การบริจาคโลหิต
1. การบริจาคโลหิตห้ามทานอาหาร
หลายคนเข้าใจผิด ว่าการบริจาคเลือด ต้องอดอาหารไป แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ต้องอดก็ได้ค่ะ เพียงแต่หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีไขมันนสูง เช่น ขาหมู ไก่ทอด ข้ามันไก่ แกงกะทิ เป็นต้น เพราะจะทำให้พลาสมาในเลือด เป็นสีขาวขุ่น ซึ่งจะไม่สามารถนำไปใช้งาานได้ และข้อห้ามสำคัญ คือ ต้องงดแอลกอฮอล และ งดการสูบบุหรี่ ก่อนการบริจาคเลือด
2. การบริจาคโลหิตไม่ต้องเตรียมตัว
ใครว่าการบริจาคเลือด ไม่ต้องเตรียมตัว ที่จริงแล้ว การบริจาคเลือด ก็ควรเตรียมตัวเช่นกัน การเตรียมตัวได้แก่ การนอนหลับให้เพียงพอ เป็นต้น แต่สำหรับใครที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว ออกกำลังกายเป็นประจำ ดูแลอาหารการกิน ทานอาหารตรงเวลา เลือดของคุณก็จะสามารถใช้งานได้ ไม่มีปัญหา แต่สำหรับคนที่นอนไม่เพียงพอ พักผ่อนน้อย หรือมีโรคภัย อาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ไม่สามารถบริจาคเลือดได้
3. บริจาคโลหิตเมื่อไหร่ก็ได้
การบริจาคเลือด ไม่ได้สามารถบริจาคตอนไหนก็ได้ การเข้าไปบริจาคเลือด ต้องเข้าไปตามระยะเวลาทำการ ของโรงพยาบาล หรือ ศูนย์รับบริจาคเลือด ซึ่งแต่ละที่ ก็จะมีเวลาทำการที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากจะเปิดรับบริจาค าว ๆ 7.30 น.หรือ 8.30 น. และจะปิดรับบริจาคในเวลา 15.30 น. หรือ 16.30 น. หรือที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะปิดรับบริจาค 19.30 น. อย่างไรก็ตาม ก่อนเข้าบริจาค ควรเช็คเวลาเปิด และปิดทำการ ของสถานที่นั้น ๆ ก่อน
4. หลังบริจาคเลือดไม่ต้องทายาบำรุง
อย่าเข้าใจผิดว่า หลังบริจาคเลือดแล้ว ไม่ต้องรับประทานยาบำรุงที่ให้มา เพราะความเป็นจริงแล้ว เมื่อร่างกายของเราเสียเลือดออกไป แม้ร่างกายจะสามารถสร้างเลือด มาทดแทนกันได้ แต่ทางที่ดี เราก็ควรทานยาบำรุงเลือดที่ได้มา เพื่อให้เลือดมีความเข้มข้น และเพื่อสุขภาพที่ดีของเราด้วยเช่นกัน
5. หลังจากการบริจาคโลหิต ต้องนอนพักผ่อนทั้งวัน
หลังการบริจาคโลหิตไม่ถึงขั้นที่ต้องนอนพักผ่อนทั้งวัน คือหลังจากบริจาคเลือดสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ให้เน้นดูแลตัวเองในเรื่องต่อไปนี้ คือ หลีกเลี่ยงการตากแดด หลีกเลี่ยงการขับรถหลังบริจาคโลหิต 2-3 ชั่วโมง ไม่ควรสูบหรี่หลังบริจาคโลหิต 4 ชั่วโมง และงดการดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง
6. บริจาคโลหิตจะทำให้รู้ผลตรวจเอชไอวีในทันที
สำหรับบางคนก่อนการไปบริจาคเลือด อาจไปทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (HIV) ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วภายใน 11 วันยังจะตรวจไม่พบเชื้อ ฉะนั้นหากรู้ตัวว่ามีเรื่องสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ(แพร่เชื้อ) ไม่ควรที่จะไปบริจาคโลหิต เพราะจะไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ทันทีในวันที่ไปบริจาคเลือด
7. การบริจาคโลหิต จะเจ็บมาก
ในหลายท่านๆ อาจจะยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการบริจาคโลหิต ทำให้นึกจิตนาการไปได้ว่าจะต้องเจ็บมากเวลาที่เจาะบริจาคเลือด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการบริจาคโลหิตไม่ได้เจ็บมากจนทนไม่ได้อย่างที่คิด เพราะจะแค่รู้สึกเจ็บเล็กน้อยตอนที่เจาะเข็มลงบนเส้นเลือดที่แขนเท่านั้น พอเข้าสู่กระบวนการเลือดถ่ายเทมายังถุงเก็บเลือดก็จะไม่รู้สึกอะไรแล้วค่ะ
8. การบริจาคโลหิตเป็นประจำจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และภูมิคุ้มกันลดลง
ผู้บริจาคโลหิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงสามารถบริจาคโลหิตได้ทุกๆ 3 เดือน และไม่ได้ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หรือทำให้ภูมิคุ้มของร่างกายลดลงแต่อย่างใดค่ะ
9. การบริจาคโลหิตจะทำให้อ้วน
เชื่อว่าหลายๆ ท่านคิดแบบนี้ว่าการบริจาคเลือดทำให้อ้วน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการบริจาคโลหิตไม่มีผลทำให้น้ำหนักอ้วนขึ้นเลยค่ะ แต่ความอ้วนส่วนใหญ่จะมาจากปัจจัยเหล่านี้ เช่น พฤติกรรมการกิน พันธุกรรม และโรคบางอย่าง เป็นต้น
10. การบริจาคโลหิตจะทำให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค
ไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน เพราะทุกขั้นตอนของการบริจาคโลหิตมีความสะอาด และปลอดภัยสูงสุด ตามหลักสากล เหมือนกันทั่วโลกค่ะ
11. ไม่จำเป็นต้องบริจาคโลหิต ถ้าไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความช่วยเหลือ
สำหรับการบริจาคเลือดนั้นไม่จำเป็นต้องรอให้มีการประชาสัมพันธ์ว่าเลือดขาดแคลนแล้วค่อยไปบริจาคกันนะคะ เพราะหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ก็สามารถไปบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือนเลยค่ะ การมีโลหิตสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินย่อมดีกว่ามากค่ะ
สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ต้องการจะบริจาคเลือด และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีภาวะเจ็บป่วยร้ายแรง และไม่มีภาวะสุ่มเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคให้กับผู้รับบริจาคโลหิต ก็สามารถที่จะไปบริจาคได้ที่สภากาชาดไทย หรือตามโรงพยาบาลที่รับบริจาคค่ะ อย่าลืมว่าทุกหมู่เลือด (A B O AB ) มีความสำคัญ และจำเป็นไม่น้อยไปกว่ากันนะคะ
ที่มา : เฟซบุ๊คเพจ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน , Sanook
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
การบริจาคเลือด ข้อควรรู้ ควรเตรียมตัว และตรียมใจยังไงไปบ้าง
บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันยังไง มีวิธีการ ขั้นตอนยังไงบ้าง ?
การบริจาคอวัยวะ การให้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อลมหายใจได้มากถึง 8 ชีวิต