กิจกรรมที่คุณแม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 67

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังคลอดกลับมาบ้านแล้ว คุณแม่อย่าเพิ่งตีปีกร้องเย้ ๆ ว่าต่อไปนี้สบายแล้ว จะทำอะไรก็ได้ดั่งใจ…ช้าก่อนค่ะ ถึงจะทำอะไรต่อมิอะไรได้ แต่ก็ยังมีข้อห้ามที่คุณแม่คนใหม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษค่ะ เอาไว้รอให้ร่างกายแข็งแรงเหมือนเดิมแล้วค่อยทำตามใจชอบดีกว่า

7 ข้อห้าม ที่คุณแม่ ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

การดูแลตัวเองหลังคลอด เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงระยะพักฟื้น 6 สัปดาห์แรก หรือ 1 เดือนแรก หลังคลอดบุตร คุณพ่ออาจจะต้องช่วยดูแลคุณแม่ตัวเองให้ดี และไม่ให้คุณแม่ปฏิบัติข้อห้ามเหล่านี้ ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อร่างกายคุณแม่แล้ว ยังมีผลต่อการให้นมทารก และสภาพจิตใจของคุณแม่ได้ด้วย

  1. ห้ามใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ยาบางตัวอาจมีผลต่อคุณแม่ และทำให้น้ำนมหยุดไหล เช่น สเตียรอยด์ ยาลดน้ำหนัก ยาลดความอ้วน ยารักษาสิว ยาปฏิชีวะอื่น ๆ รวมถึงยากลุ่มสารเสพติด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ชนิดต่าง ๆ ล้วนมีผลกับทารกที่กินนมแม่ เพราะสามารถถ่ายทอด ไปถึงลูกผ่านทางน้ำนมได้ ฉะนั้น ก่อนใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาอะไรก็ตาม คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง
  2. ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เพราะมีผลต่อคุณแม่ อาจทำให้คุณแม่ตกเลือดหลังคลอดได้ โดยเฉาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งยังมีผลต่อทารกที่กินนมแม่ด้วย
  3. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อน 6 สัปดาห์ ในช่วง 1 เดือนหลังคลอด จะเป็นช่วงที่ฝีเย็บยังไม่แห้งสนิท และน้ำคาวปลายังไหลอยู่ จึงไม่เหมาะที่จะมีเพศสัมพันธ์สักเท่าไหร่ อีกทั้งการร่วมเพศขณะมีแผล หรือเกิดการฉีกขาดของแผล อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ มดลูกอักเสบได้ ดังนั้น คุณพ่อควรอดใจรอไปก่อน ปล่อยให้ร่างกายของคุณแม่ได้พักฟื้น รับรองว่าหลังจากนี้ คุณพ่อจะไม่เหงาแน่นอน (เพราะมีลูกกวน)
  4. ห้ามยกของหนัก เพราะอาจส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อมดลูก และแผลผ่าตัดคลอดได้ ฉะนั้น ถ้าคุณแม่ต้องการยกของหนัก ๆ ในช่วงนี้ หรือทำงานหนักเกินไป ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อ ส่วนคุณแม่แค่ยกตัวลูกน้อยเข้าเต้าอย่างเดียวก็พอ
  5. ห้ามออกกำลังกายหักโหม การขยับเขยื้อนร่างกายอย่างรุนแรง และบ่อยครั้งในช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอด จะทำให้มดลูกต่ำ ส่งผลกระทบกระเทือนต่อช่องคลอด และฝีเย็บ ดังนั้น หากคุณแม่ต้องการออกกำลังกาย แค่ขยับแขน ขยับขา หรือเดินเบา ๆ ก็พอ
  6. ห้ามกินของที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ของหมักดอง ฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีรสหวานจัด ๆ เพราะอาหารเหล่านี้จะมีน้ำตาลในปริมาณสูง ไม่มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์กับทารกที่กินนมแม่ ซึ่งอาจทำให้ลูกขาดสารอาหาร และเป็นโรคอ้วนในเด็กได้
  7. ห้ามเครียดเกินไป การที่คุณแม่เครียดเกินไป จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง และยังมีผลกับการเลี้ยงลูกด้วย ทำให้ลูกร้องให้งอแง และเลี้ยงยาก ทั้งนี้ คุณพ่อสามารถช่วยลดความเครียดของคุณแม่ได้ ด้วยการช่วยเลี้ยงลูก หรือหากิจกรรมที่ทำให้ภรรยารู้สึกผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้คุณแม่เครียดน้อยลงได้

โดยปกติแล้วสภาพร่างกายของคุณแม่จะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด รวมทั้งแผลที่เกิดจากการคลอด ก็จะหายไปในระยะนี้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ ควรทำความเข้าใจเพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ด้านจิตใจ
หลังคลอดปริมาณฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่ยังต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่ อ่อนเพลียจากการคลอด กังวลใจกับสรีระของตนเอง และการเลี้ยงลูก จึงทำให้รู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือซึมเศร้าโดยไม่มีเหตุผล เรียกว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ดังนั้น คุณพ่อจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดู และดูแลงานบ้านแทนคุณแม่ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

ด้านร่างกาย
1.การดูแลแผล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. แผลฝีเย็บ
    คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย แผลจะหายประมาณ 7 วัน แต่อาจจะรู้สึกเจ็บประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่ทำความสะอาดโดยใช้น้ำ และสบู่ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง และซับให้แห้ง เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรืออาบน้ำในอ่าง คุณแม่ที่เป็นริดสีดวงทวาร หากมีอาการปวด อาจจะประคบด้วยถุงน้ำแข็ง ใช้ครีม หรือยาเหน็บตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำ และรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหารมาก เพื่อลดอาการท้องผูก
  2. แผลผ่าตัด
    คุณหมอจะเย็บแผลผ่าตัดด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม ปิดไว้ด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ถ้าสังเกตว่า มีน้ำซึมเข้าแผล ให้กลับมาเปลี่ยนพลาสเตอร์ปิดแผล แผลจะหายประมาณ 7 วัน หากเจ็บแผลขณะเคลื่อนไหว คุณแม่อาจจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องช่วยพยุงไว้ จะช่วยให้หลับสบายขึ้น

2. น้ำคาวปลา
คือน้ำคร่ำปนกับเลือดที่ออกจากแผลในมดลูก ไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วง 3 วันแรกจะมีสีแดงเข้ม จากนั้นจะจางลงเรื่อย ๆ คล้ายกับสีน้ำล้างเนื้อ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นมูกสีเหลือง ๆ ตามปกติจะมีอยู่ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ทำความสะอาดด้วยน้ำ และสบู่ทุกครั้ง หลังการขับถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อความสะอาด

3. การฟื้นตัวตัวของมดลูก
ระหว่างตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติ แต่หลังคลอด มดลูกก็จะหดตัวลง จนมีขนาดปกติ และกลับเข้าสู่ตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน (มดลูกเข้าอู่) ประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ หากมีอาการปวดมดลูก ก็สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้

4. การดูแลเต้านม
ขนาดของเต้านมจะใหญ่ขึ้น และมีอาการคัดตึง ในวันที่ 2 – 3 หลังคลอด เป็นภาวะที่ต่อมน้ำนมเริ่มผลิตน้ำนมสำหรับลูก เวลาอาบน้ำ งดฟอกสบู่บริเวณลานนม เพื่อให้น้ำมันธรรมชาติที่ผิวหนังสร้างขึ้นยังคงอยู่ ช่วยลดความเจ็บขณะลูกดูดนม หากมีอาการนมคัด แต่ยังไม่มีน้ำนมให้ใช้ผ้าชุปน้ำเย็นประคบเต้านม และทานยาแก้ปวดได้ พยายามให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมได้เร็วขึ้น หากมีน้ำนมไหลแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนให้นมลูก ก็จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านมดีขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดหัวนม และลานนมทุกครั้งทั้งก่อน และหลังให้นมลูก

5. การรับประทานอาหาร
คุณแม่หลังคลอดยังคงต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เหมือนในระยะตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้พลังงานในการฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่เอง และผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก คุณแม่ควรรับประทานประเภท ผัก ผลไม้ เนื้อสัตย์ ไข่ นม และลดอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และของหมักดอง งดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การรับประทานยาควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ เพราะยาบางชนิดหลั่งออกทางน้ำนมได้ (ช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังคลอดให้งดดื่มนมก่อน)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. การพักผ่อน
ช่วงที่พักฟื้นในโรงพยาบาล คุณแม่จะได้พักผ่อนเต็มที่ แต่เมื่อกลับบ้านช่วงที่คุณแม่ต้องปรับตัว กับวิถีชีวิตใหม่ ต้องดูแลตัวเอง ดูแลลูก และคุณพ่อ จึงควรจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่น ทำความสะอาดเสื้อผ้า ของใช้ลูกวันละ 1 ครั้ง ควรได้หลับพักผ่อนบ้าง ขณะลูกหลับ เพื่อไม่ให้คุณแม่เหนื่อยอ่อนเพลียมากเกินไป

7. กิจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

  • ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก
  • ไม่ควรออกแรงเบ่งมาก ๆ หรือนาน ๆ
  • ไม่ควรขึ้น – ลง บันไดบ่อย ๆ
  • ไม่ควรขับรถโดยไม่จำเป็น
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม ทำได้เฉพาะ ท่ากายบริหารเบา ๆ

8. การมีเพศสัมพันธ์
คุณแม่อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง เนื่องจากความอ่อนเพลีย กังวล และความไม่สุขสบาย และเจ็บแผล จึงควรงดในช่วง 4 – 6 สัปดาห์แรก หรือจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอด และวางแผนคุมกำเนิดแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9. การตรวจหลังคลอด
คุณหมอจะนัดคุณแม่มาตรวจ 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด

  • เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกาย
  • ตรวจดูสภาพของปากมดลูก และอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน (หรือแผลผ่าตัดหน้าท้อง หากคุณแม่ผ่าตัดท้อง)
  • ตรวจดูมะเร็งปากมดลูก
  • แนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด

อาการผิดปกติหลังคลอด ที่ควรรีบมาพบแพทย์

  • มีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงสดตลอด 15 วันหลังคลอด
  • ปวดท้องน้อย เจ็บปวด หรือแสบขัดเวลาปัสสาวะ
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • เต้านมบวมแดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
  • แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด อักเสบ บวมแดงหรือมีหนอง

 

ที่มา :

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

ammy