อาหารโฮมเมด สำหรับวัยเริ่มหม่ำ ขั้นตอนการทำง่าย ๆ เพื่อโภชนาการลูกรัก
ถึงเวลาแล้วที่ลูกวัย 6 เดือนจะได้รับอาหารเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติมจากนมแม่ นอกจากโภชนาการที่คุณแม่จะคอยใส่ใจให้ลูกน้อยแล้ว เรื่องของความสะอาดถูกหลักสุขอนามัยก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การทำ อาหารโฮมเมด ให้กับลูกรักเองที่บ้าน จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถควบคุมส่วนผสมทุกอย่างที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการได้ด้วยการใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้น และลูกจะได้รับวัตถุดิบที่สดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือของว่างที่คุณแม่เตรียมทำไว้ให้ลูกรัก
ทำไมเราควรทำ อาหารโฮมเมด
แม้ว่าการซื้ออาหารทารกที่ขายตามท้องตลาดจะช่วยให้คุณแม่สะดวกและประหยัดเวลา แต่รู้ไหมว่าอาหารเหล่านั้นอาจสูญเสียวิตามินและสารอาหารจากการปรุงรสได้ อีกทั้งการทำให้อาหารให้ลูกกินเอง ยังช่วยให้ลูกตื่นเต้นและอยากลิ้มลองรสชาติใหม่ ๆ ที่คุณแม่ทำอีกด้วย นอกจากนี้ การทำอาหารโฮมเมดให้ลูกทานเอง ยังมีราคาไม่แพงและให้คุณค่าโภชนาการมากกว่าอาหารที่ขายอยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ต ดังนั้น หากคุณแม่มีเวลาว่าง ก็ควรเตรียมอาหารโฮมเมดให้ลูกทานเป็นประจำจะดีกว่า
สิ่งที่คุณแม่ควรรู้ก่อนเตรียมอาหารโฮมเมดให้ลูก
อย่างที่รู้กันว่าทารกสามารถเริ่มกินอาหารเสริมมื้อแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน คุณแม่จึงควรคำนึงถึงปริมาณอาหารที่ลูกรับประทาน โดยควรแบ่งให้ลูกกินทีละน้อย ประมาณ 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้น และต้องสังเกตอาการแพ้ของลูก ซึ่งมักจะอยู่ในอาหารทั่วไป เช่น ไข่ ถั่วลิสง ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ปลา และหอย นอกจากนี้ คุณแม่ควรระมัดระวังอาหารบางชนิดที่มีสารเคมีตกค้างสูง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย เช่น แอปเปิล พีช สตรอว์เบอร์รี องุ่น ผักชีฝรั่ง ผักโขม พริกหวาน แตงกวา ถั่วลันเตา และมันฝรั่ง เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ช้อนทารก ยี่ห้อไหนดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แนะนำช้อนป้อนข้าวทารก
6 ขั้นตอนการเตรียมอาหารโฮมเมดสำหรับทารก
1. เลือกวัตถุดิบที่สดและมีคุณภาพ
อย่างแรกเลย คุณแม่ควรเลือกผลไม้ตามวัยสำหรับลูกวัย 6 เดือนขึ้นไป เช่น แอปเปิล ลูกแพร์ ลูกพีชหรือมันหวาน เพื่อให้เบบี๋ได้ลองชิมก่อน แนะนำว่าให้เลือกผักผลไม้แบบสุกที่ไม่มีคราบติด และควรนำมาใช้ประกอบอาหารควรใช้ภายใน 2-3 วัน นับจากวันที่ซื้อ นอกจากนี้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือผลไม้ที่เป็นเส้นใยเหนียว หรืออาหารที่ทารกกลืนได้ยาก เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วลันเตา ควรนำไปต้มสุกก่อน แล้วบดละเอียดผ่านกระชอนตาถี่จะดีกว่า
2. การเตรียมอาหารและทำความสะอาด
ต่อมาในขั้นตอนการเตรียมอาหารเพื่อนำปรุงให้ลูกน้อย คุณแม่ควรทำความสะอาดและตัดส่วนใด ๆ ที่ทารกยังเคี้ยวหรือย่อยไม่ได้ออกไป เช่น เปลือก เมล็ดเล็ก ๆ ในผลไม้ หรือไขมัน เป็นต้น แล้วค่อยล้างผักผลไม้ที่เตรียมไว้ให้ทั่ว ปอกเปลือกและคว้านเมล็ดออก หั่นชิ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดเท่า ๆ กัน เพื่อเวลาต้มสุกจะได้สุกเท่า ๆ กัน
แต่หากเป็นเนื้อสัตว์หรือเนื้อไก่ ก็ควรนำมาล้างให้สะอาด ลอกหนัง หรือหั่นส่วนที่เป็นไขมันออกก่อนที่จะนำไปทำอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ธัญพืช ก่อนนำมาทำอาหารคุณแม่ควรจะต้องทำตามวิธีบนบรรจุภัณฑ์อย่างถูกต้อง เช่น คีนัวหรือลูกเดือย เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ วิธี ล้างผัก และผลไม้ อย่างไร ให้สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารพิษตกค้าง
3. ทำอาหารให้สุกด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม หรืออบ
สำหรับการนึ่ง ถือเป็นวิธีทำอาหารที่ดีที่สุดเมื่อใช้กับผัก เพราะจะช่วยคงคุณทางสารอาหารไว้ได้มาก เพียงใช้ซึ้งนึ่งอาหารหรือวางกระชอนเหนือหม้อต้มน้ำเดือดจนผักนิ่ม ประมาณ 10-15 นาที ส่วนการต้ม มักใช้ต้มพวกธัญพืช ผัก และเนื้อสัตว์บางชนิด หรือต้มเพื่อทำน้ำซุปใสแบบธรรมชาติให้ลูกน้อยได้จิบทานก็ได้
แต่หากเป็นการอบ จะเหมาะสำหรับผักตระกูลกะหล่ำ เนื้อสัตว์ มันหวานมากกว่า คุณแม่สามารถเลือกวิธีประกอบการแบบใดก็ได้ จากนั้นค่อยนำวัตถุดิบที่ทำมาบดละเอียดผ่านกระชอน และค่อยเพิ่มความหยาบของอาหารขึ้นตามวัยลูกน้อย
4. การบดอาหาร
นำอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเรียบร้อยมาผสมกันเป็นชุดเล็ก ๆ เพื่อส่วนผสมต่าง ๆ จะได้ผสมกันอย่างทั่วถึง โดยสามารถผสมกับน้ำนมแม่หรือน้ำสุกเล็กน้อย เพื่อจะได้อาหารเหลวที่ลูกน้อยจะรับประทานได้ง่าย ซึ่งอาหารเสริมสำหรับทารกที่ดีนั้น ควรบดละเอียดให้กลายเป็นซุปก่อนที่จะนำไปป้อนให้ลูกกิน และปรับเปลี่ยนความหยาบของอาหารหรือให้ลูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้ตามวัยของเด็กเล็ก
สำหรับเนื้อหรือเนื้อไก่ หลังจากปรุงสุกแล้ว ให้พักและทิ้งไว้จนเย็น จนกว่าจะเห็นเนื้อหรือเนื้อไก่ไม่มีสีชมพู เพื่อที่จะไม่ส่งผลให้เด็กทารกเสี่ยงกับภาวะอาหารเป็นพิษ
5. อุปกรณ์การทำซุปข้น
ถ้าคุณแม่ทำอาหารในปริมาณที่ไม่เยอะ สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีภายในบ้าน เช่น เครื่องปั่น เครื่องบดอาหาร หรือเครื่องตีแบบมือถือ เพื่อที่จะนำอาหารมาบดให้เป็นซุปข้นได้ ส่วนการใช้ที่บดอาหารแบบใช้มือหมุนหรือเครื่องบดอาหารเด็ก จะเป็นอุปกรณ์การทำอาหารให้ลูกแบบไม่ใช้ไฟฟ้าและพกพาง่าย มีราคาไม่แพง แต่การใช้งานจะช้าและคุณแม่ต้องออกแรงมากขึ้นหน่อยเพื่อให้ได้ปริมาณอาหารตามต้องการ
อย่างไรก็ดี เครื่องทำอาหารสำหรับเด็กทารก อาจจะมีราคาแพง แต่ก็ทำให้เรื่องทำอาหารของคุณแม่ง่ายขึ้นทันที ทั้งการนึ่ง ปั่น บด หรือทำซุปข้นจะจบอยู่ในเครื่องเดียว หากคุณแม่อยากจะทำวัตถุดิบนิ่ม ๆ อย่างกล้วยสุก อะโวคาโด หรือมันหวานอบนั้น ก็สามารถใช้ช้อนมาครูดหรือบดละเอียดก่อนจะป้อนให้ลูกน้อยทานก็จะช่วยประหยัดมากขึ้น
6. การเก็บรักษาอาหารทารก
เพราะการทำอาหารเสริมให้ลูกน้อยได้ทาน เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความใส่ใจในทุกขั้นตอนที่ทำ กลวิธีที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้คุณแม่หายเหนื่อย คือการทำอาหารให้ได้ครั้งละมาก ๆ และนำมาแช่แข็งเพื่อนำมาใช้ในมื้อหลัง ๆ ได้ ด้วยวิธีดังนี้
- ตักอาหารเก็บลงในภาชนะที่เป็นแก้วหรือพลาสติกพร้อมฝาปิดสุญญากาศ แปะฉลากชื่ออาหารและวันที่ทำบนภาชนะ ก่อนนำเข้าเก็บเข้าช่องฟรีซในตู้เย็นเพื่อที่จะเป็นการเตือนคุณแม่ว่ายังเป็นอาหารที่สดอยู่ และไม่ควรเก็บทิ้งไว้เกิน 3 วัน
- ตักอาหารใส่ในช่องทำน้ำแข็งและนำไปแช่แข็งในช่องฟรีซ เมื่อแข็งเป็นก้อนแล้วให้นำออกมาใส่ถุงซิปล็อกหรือถุงพลาสติกที่ปิดปากได้
- วิธีการละลายอาหารทารก โดยนำไปแช่ตู้เย็นช่องธรรมดาหนึ่งคืน หรือนำอาหารที่แช่อยู่ในภาชนะไปอุ่นในกระทะตั้งเดือนประมาณ 20 นาที
ขั้นตอนการทำ อาหารโฮมเมด ให้ลูกกินเอง เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรรู้ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าอาหารแล้ว ยังช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารและโภชนาการอย่างเหมาะสม เพราะฉะนั้น หากคุณแม่จะทำอาหารโฮมเมดเอง อย่าลืมตรวจเลือกวัตถุดิบให้ดีและคำนึงถึงความสะอาดด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 เครื่องปั่นอาหารทารก แนะนำเครื่องปั่น ยี่ห้อไหนดีมาดูกัน
6 เมนูไข่ตุ๋น สำหรับทารก 6 เดือนขึ้นไป ทำง่าย มีสารอาหารหลากหลาย
ตารางอาหารทารกขวบปีแรก ลูกน้อยในแต่ละวัยควรกินอะไร เท่าไหร่ ถึงจะพอดี?
ที่มา : wikihow, healthline