100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 52 การรับประทานยาขณะตั้งครรภ์

วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับ การรับประทานยาขณะตั้งครรภ์ ยาแต่ละชนิดส่งผลอย่างไร มาแบ่งปันคุณแม่เพื่อไขข้อข้องใจกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ ท่านคงมีความกังวลและระมัดระวังเป็นอย่างมากในขณะที่ตัวเองป่วย เกิดความวิตกกังวลไปว่าถ้าเราป่วยแล้วลูกในท้องจะป่วยหรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับ การรับประทานยาขณะตั้งครรภ์ ยาแต่ละชนิดส่งผลอย่างไร มาแบ่งปันคุณแม่เพื่อไขข้อข้องใจกัน

 

ปัจจัยของยาที่ส่งผลต่อเด็ก

ปัจจัยที่ยาจะส่งผลให้ทารกเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ ชนิดของยา ชึ่งยาที่มีจำหน่ายกันทั่วไปนั้น บางชนิดมีการศึกษาวิจัยมาแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อทารก เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicilin ยาแก้ปวด เช่น paracetamol แต่ก็มียาบางชนิดที่พบว่าก่อให้เกิดความพิการแก่ทารก เช่น ยารักษาสิว isotretinoin หรือยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม เช่น tetracycline, doxycycline

และความสามารถของยาในการส่งผ่านไปที่รก ยาบางชนิดสามารถผ่านรกได้ปริมาณมาก แม้คุณแม่ตั้งครรภ์จะรับประทานในปริมาณน้อย ก็ยังสามารถส่งผลต่อการพัฒนาการของทารกได้ รวมถึงปริมาณของยาที่ได้รับ ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานยาในขนาดที่เหมาะสมสำหรับการรักษา ก็อาจจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงมากเกินไป หรือคุณแม่ตั้งครรภ์รายนั้นมีโรคของตับหรือโรคของไตที่ทำให้ไม่สามารถขับยาออกนอกร่างกายได้ ก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกได้

 

การรับประทาน ยาขณะตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรับประทานยาขณะตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ป่วยควรทำอย่างไร

  • อาการปวดหัว

ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว เป็นไข้ หรือตัวร้อน สามารถกินยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ได้ เพราะถือเป็นยาแก้ปวดและยาลดไข้ที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยให้ทานตามขนาดที่กำหนด ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม จะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ รวมไปถึงไม่เป็นอันตรายต่อตับและไตของคุณแม่ สำหรับผู้ใหญ่นั้น ให้ทานในขนาดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม ถ้าที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือ ไทลินอล 500 และสามารถทานซ้ำได้ทุก ๆ 8 ชั่วโมง ถ้าหากทานแล้วอาการยังไม่หายดี หรือยังมีไข้อยู่

ส่วนที่สมัยก่อนเรามักจะได้ยินว่าให้ทานพาราเซตอมอล 1,000 มิลลิกรัม และทานซ้ำได้ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง อันนี้ไม่แนะนำแล้ว เพราะการทานยาในปริมาณมาก ส่งผลต่อการทำงานของตับ มีผลเสียต่อทั้งตัวคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อยในครรภ์

ยาแก้ปวด ลดไข้ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง คือ แอสไพริน (Aspirin) และ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) รวมไปถึงพวกยาแรง ๆ อย่าง ยาแก้ปวดไมเกรน เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ ถ้าหากปวดหัว มีไข้ เลือกพาราเซตามอลเป็นหลักไว้ก่อนดีกว่า ถ้าหากอาการหนักมากจริง ๆ แนะนำให้พบแพทย์ คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยากินเอง

  • อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล

ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยคือ คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) หรือเรียกง่าย ๆ ที่ทุกคนเข้าใจกัน ก็คือ ยาแก้แพ้เม็ดสีเหลือง โดยให้ใช้ขนาดเม็ดละ 4 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด และด้วยความที่ยาตัวนี้ทำให้ง่วง คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรกินตอนก่อนนอนจะดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไม่ควรใช้ติดต่อการเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ เด็กที่เกิดมาอาจมีอาการเลือดไหลผิดปกติได้ ส่วนยาแก้แพ้ตัวอื่น ๆ ยาลดอาการภูมิแพ้ เช่น เซทิริซีน (Cetirizine) อาจจะต้องงดใช้ไปก่อน

 

การรับ ประทานยาขณะตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อาการไอ

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการไอแบบแห้ง ๆ สามารถใช้ยากลุ่ม เด็กซ์โตรเมทอร์โทรฟาน (Dextromethorphan) ได้ โดยให้สังเกตส่วนผสม ห้ามมียาหรือสารเคมีอื่น เพราะอาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไอและมีเสมหะด้วย สามารถใช้ยาบรอมเฮ็กซีน (Bromhexine) และ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcystein) ที่เป็นยาละลายเสมหะช่วยได้ นอกจากนั้นก็สามารถอมยาอมแก้ไอต่าง ๆ ได้ด้วย

 

อายุครรภ์มีผลต่อทารกขณะได้รับยาหรือไม่

การรับประทานยาขณะตั้งครรภ์

อายุครรภ์ของทารกขณะที่ได้รับยาชนิดใดนั้น ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น ถ้ารับประทานยาในช่วงก่อนที่ตัวอ่อนจะมีการฝังตัว ซึ่งก็คือสองสัปดาห์แรกนับจากประจำ
เดือนครั้งสุดท้ายนั้น ผลที่เกิดขึ้นคืออาจจะไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น หรือไม่มีผลใด ๆ ต่อทารก เพราะในระยะนี้ตัวอ่อนจะยังไม่สัมผัสกับเยื่อบุโพรงมดลูกของคุณแม่

ถ้าทารกได้รับยาในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 2-8 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนกำลังมีการแบ่งเซลล์และพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทุกระบบ เช่น สมอง หัวใจ ไต ระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นการได้รับยาหรือสารก่อความพิการในช่วงนี้จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะก่อให้เกิดความพิการรุนแรงแก่ทารกได้ และหากทารกได้รับยาหลังอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ไปแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่อวัยวะหลายระบบในร่างกายพัฒนาครบแล้ว ดังนั้นผลของยาอาจก่อให้เกิดความพิการหรือผิดปกติแค่เพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้ทารกโตช้าในครรภ์ หรือมีน้ำคร่ำน้อยได้ เช่น การใช้ยาแก้ปวดบางชนิด (diclofenac, mefenamic acid)

 

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Source : 1

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 94 5 โรคฮิต ของคุณแม่ตั้งครรภ์

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 41 การทานยาบำรุงเลือด สำหรับแม่ท้อง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ : หูดหงอนไก่ อาการเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่?

บทความโดย

Khattiya Patsanan