การระบายน้ำนม นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพราะร่างกายเราจะผลิตน้ำนมตอบสนองตามความต้องการของน้ำนมที่ระบายออก (ทั้งลูกดูด/ปั๊มด้วยเครื่อง/บีบด้วยมือ) ยิ่งระบายออกมาก ยิ่งผลิตมาก ถ้าระบายออกน้อย จะผลิตน้อย เวลาที่เราพูดคำว่า “เกลี้ยงเต้า” นั้น แท้จริงแล้วหมายถึง การระบายน้ำนม ส่วนใหญ่ออกจากเต้าเกือบหมดเท่านั้นเองค่ะ ไม่ใช่เกลี้ยงจนไม่เหลืออะไรเลย ลองคิดถึงการบ้วนน้ำลายก็ได้ค่ะ เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะบ้วนน้ำลายจนเกลี้ยงปาก เพราะน้ำลายจะถูกผลิตอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
การระบายน้ำนมสำคัญแค่ไหน
หากคุณแม่ละเลยการระบายน้ำนมให้เกลี้ยงเต้า นอกจากจะทำให้ตัวคุณแม่ไม่รู้สึกสบายตัวแล้ว ยังจะส่งผลให้น้ำนมสามารถผลิตได้น้อยลง ทำให้ไม่เพียงพอกับการเลี้ยงลูกน้อย และจะส่งผลให้เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตันได้ หากตัวคุณแม่ ไม่มีการระบายน้ำนมออกภายใน 24 ชม. ซึ่งจะทำให้เกิดอาการจึงเกิด อาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวแดงเป็นมัน เจ็บ ลานนมตึงแข็ง ทำให้หัวนมสั้นลงจนลูกดูดไม่ได้ น้ำนมไหลไม่ดี บางครั้งอาจจะมีไข้ได้
วิธีระบายน้ำนม
การระบายน้ำนม สามารถทำได้หลายวิธี
- การให้ลูกดูดนมจากเต้าโดยตรง แต่วิธีนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อลูกเกิดอาหารหิว เพราะเด็กจะดูดน้ำนมเท่าที่เขาต้องการเท่านั้น เมื่ออิ่มแล้ว ก็จะหยุดดูด แม้ว่าจะยังอมหัวนมแม่อยู่ แต่ลักษณะการดูดก็จะเปลี่ยนไป คือดูดเล่น เท่านั้น ซึ่งจะทำให้น้ำนมยังคงมีอยู่ในเต้า และไม่สามารถระบายออกมาได้หมด คุณแม่ควรจะใช้ตัวช่วยที่ 2 ค่ะ
- การใช้เครื่องปั้มน้ำนม เราใช้เครื่องปั๊มนมหลอกร่างกายว่ามีความต้องการน้ำนมมากๆ ถ้าให้ลูกดูดอย่างเดียวโดยไม่ปั๊ม น้ำนมจะผลิตออกมาน้อยกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เพียงพอนะคะ ให้ลูกดูดตลอดเวลาโดยไม่บีบหรือปั๊มเลย น้ำนมก็พอสำหรับลูก แต่ไม่มีเหลือเก็บเท่านั้นเอง ถ้าร่างกายสามารถตอบสนองเครื่องปั๊มได้ดี (กลไกการหลั่งน้ำนมทำงานในขณะปั๊ม สังเกตได้จากการรู้สึกจี๊ดๆ แล้วน้ำนมพุ่งแรง อาจจะเกิดขึ้นได้หลายครั้งก็ได้ในการปั๊มแต่ละรอบ) ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าเครื่องปั๊มที่ใช้อยู่นั้นเป็นเครื่องที่เหมาะสม ไม่ทำให้เจ็บ ปั๊มเสร็จเต้าโล่ง ไม่หนัก หัวนมไม่บวม เจ็บแสบ หลังปั๊ม ยิ่งปั๊มนมยิ่งเพิ่ม ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าเครื่องปั๊มที่ใช้อยู่นั้นเป็นเครื่องที่เหมาะสม ไม่ทำให้เจ็บ ปั๊มเสร็จเต้าโล่ง ไม่หนัก หัวนมไม่บวม เจ็บแสบ หลังปั๊ม ยิ่งปั๊มนมยิ่งเพิ่ม
- การนวดคลึงเต้านม หลังจากให้ลูกดูดนมจากเต้าแล้ว หรือใช้เครื่องปั้มนม ปั้มน้ำนมออกไปแล้ว คุณแม่ควรที่จะนวดคลึงเต้านมต่ออีกซักพัก เพื่อเค้นเอาน้ำนมที่เหลือออกมาให้หมด ซึ่งแน่นอนว่าน้ำนมจะไม่เกลี้ยงเต้าซะทีเดียว เพราะร่างกายยังคงผลิตน้ำนมออกมาอย่างต่อเนื่อง เราจะสังเกตได้ว่า หากเราใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว คือ นิ้วโป้งและนิ้วชี้รีดน้ำนมโดยรีดจากบริเวณลานนมน้ำนมจะพุ่งออกมาได้ดี
ข้อควรระวังในการระบายน้ำนม
สาเหตุของอาการเต้านมคัด
- ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกต้องการ
- แม่เว้นระยะการให้นมลูกนานเกินไป ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอ แม่จำกัดเวลาดูดนมของลูก หรือไม่ได้ระบายน้ำนมออกในช่วงที่ไม่ได้ให้นมลูก ทาให้มีปริมาณน้ำนมสะสมในเต้านมมาก
- แม่ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทาให้การระบายน้ำนมไม่ดีเท่าที่ควร
วิธีการแก้ไขเมื่อคัดเต้านม
- การประคบร้อนด้วยผ้าชุบน้าอุ่นจัด พันโดยรอบเต้านมก่อนให้นมลูก จะช่วยให้ น้ำนมจะไหลได้ดีขึ้น โดยใช้เวลาในการประคบประมาณ 5 -10 นาที
- การประคบเย็นหลังการให้นมลูก จะช่วยลดอาการปวดและบวมของเต้านม โดยใช้เวลาในการประคบ ประมาณ 10 นาที หากปวดเต้านมมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล
- การนวดเต้า นมเบา ๆ ขณะที่ลูกดูดนม จะทาให้มารดารู้สึกผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นทาให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
- หากลานหัวนมตึงแข็งจะทาให้ลูกดูดนมได้ยากขึ้น การบีบน้ำนมออกจากบริเวณลานหัวนมจะทำให้ลานหัวนมนิ่มทำให้ลูกดูดนมได้ดีขึ้น
- ให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน อาจทุก 2 -3 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้นได้หากลูกต้องการ โดยไม่จากัดระยะเวลาการดูดนมของลูก
- ถ้าแม่เจ็บมากจนทนให้ลูกดูดนมไม่ไหว อาจงดให้ลูกดูดนมชั่วคราวและระบายน้ำนมออกเรื่อยๆ เพื่อคลายความเจ็บจนกว่าอาการเต้านมคัดจะดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงการให้นมเสริมจากขวด หรือการใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป
- สวมยกทรงที่ช่วยพยุงเต้านม หลีกเลี่ยงการสวมยกทรงที่มีขอบลวดหรือคับแน่นเกินไป
- หากมีอาการเต้านมคัดเกิน 2 วัน ควรปรึกษาแพทย์
วิธีฝึกลูกกินจากขวดนม
- เลือกจุกนม นิ่ม ๆ
- ใช้เสื้อของแม่ที่สวมแล้วพันรอบขวดค่ะ
- ฝึกตอนอารมณ์ดีและยังไม่หิวจัดนะคะ
- พอดูดได้แล้ว ให้ใช้จุกที่มีรูเล็กที่สุด เพื่อป้องกันลูกเมินเต้าแม่ค่ะ