การนับวันคลอด นับอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 65

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนับวันคลอด นับอย่างไร การนับ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ เนื่องจากอายุครรภ์ที่แม่นยำ จะทำให้สามารถวินิจฉัย และตัดสินใจในการเลือก ให้การรักษาอย่างเหมาะสม เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้

ทางการแพทย์มีเกณฑ์ในการคำนวณอายุครรภ์  เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ การคำนวน การตั้งครรภ์ก็จำเป็นสำหรับ คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการมีบุตร เพื่อจะได้ทราบว่า ช่วงไหนเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการมีบุตรนั่นเอง ถ้าอยากทราบว่าจะมีวิธี คำนวณวันตั้งครรภ์ และการนับวันคลอด อย่างไร

 

 

วิธีการนับวันตกไข่ ปกติจะใช้ในการหาระยะปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันตกไข่ แต่เราสามารถ ใช้หลักการเดียวกันนี้ ในการหาวันตกไข่ หรือวันที่จะมีโอกาส เกิดการตั้งครรภ์ได้

“โดยปกติ ผู้หญิงจะมีรอบเดือนทุก ๆ 28 วัน จะมีการตกไข่ ประมาณวันที่ 14 ก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งต่อไป (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า 2 วัน) หรือประมาณ 12 – 16 วัน ก่อนจะมีประจำเดือนครั้งต่อไป เมื่อไข่ตกแล้ว ไข่จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมง โอกาสการตั้งครรภ์ จึงมีถึงวันที่ 17 ของรอบเดือน ส่วนเชื้ออสุจิ จะมีชีวิตรอผสมไข่อยู่ได้ ประมาณ 48 ชั่วโมง หรือ 2 วันก่อนการตกไข่”

วิธีการคำนวณวันคลอด

ปกติแล้ว คุณแม่จะทราบกำหนดวันคลอด ได้จากการมาของประจำเดือนในครั้งสุดท้าย การจดบันทึกการมีประจำเดือน ไว้อย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งตลอดอายุการตั้งครรภ์ จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน โดยจะเริ่มนับ จากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้าย ของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด หรือนับจาก วันที่ประจำเดือนถึงกำหนดจะมาแต่ไม่มา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช่น ประจำเดือนของคุณแม่มาครั้งล่าสุดวันที่ 1 มกราคม และประจำเดือนหมดวันที่ 5 มกราคม และกำหนดที่ประจำเดือนครั้งต่อไปควรจะมาอีกครั้งคือวันที่ 28 – 29 มกราคม ดังนั้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาคือวันที่ 1 มกราคม (ไม่ใช่วันที่ 5 หรือ 28 – 29 มกราคม) โดยจะมีสูตรในการคำนวณวันคลอดแบบง่าย ๆ ดังนี้

1. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด สมมติว่า วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ คือวันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2559 แล้วให้นับบวกต่อไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดคลอดของคุณแม่ ก็จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

2. นับจากวันแรก ของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ย้อนหลังไป 3 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด สมมติว่า วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย ของคุณแม่คือวันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ ธันวาคม พฤศจิกายน และตุลาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดวันคลอดของคุณแม่จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โดยสูตรการนับทั้ง 2 วิธีนี้จะให้ผลเหมือนกัน (แล้วแต่ว่าจะสะดวกนับแบบไหน) เป็นสูตรที่สูติแพทย์ และผดุงครรภ์ใช้กันทั่วโลก ซึ่งอาศัยการสังเกตจากประสบการณ์ และการทำสถิติการคลอด ของคนทั่วโลก จะให้ผลอย่างแม่นยำ ในกรณีที่คุณแม่จำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และถ้าหากคุณแม่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28 – 30 วัน คุณแม่ส่วนใหญ่ ก็มักจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ (ซึ่งจากตัวอย่างก็จะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2559 โดยประมาณ)

แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีคุณแม่เพียง 5 – 6% เท่านั้น ที่จะคลอดลูกได้ตรงกับกำหนดวันคลอดพอดี และอีก 40 % มักจะคลอดลูกเกินกำหนด ซึ่งร้อยละ 25 ของคุณแม่ในกลุ่มนี้ จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 42 สัปดาห์ ร้อยละ 12 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 43 สัปดาห์ และที่เหลือเพียงร้อยละ 3 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 44 สัปดาห์

 

โดยปกติแล้ว การนับอายุครรภ์แบบเป็นเดือน ๆ จะไม่มีความละเอียดเพียงพอ  เนื่องจากในแต่ละเดือน จะมีจำนวนวันไม่เท่ากัน คือ มี 31 วันบ้าง 30 หรือ 28 วันบ้าง และ 29 วันก็มี ดังนั้น การนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ จึงจะถูกต้องมากกว่า

โดยมนุษย์เรานั้น จะมีระยะเวลาการตั้งครรภ์ รวมแล้วประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วันพอดี ๆ ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรก ที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาแล้วบวกไปอีก 280 วัน การนับอายุครรภ์ที่แม่มือใหม่ต้องรู้

ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ฉะนั้นเมื่อเริ่มสงสัยว่าตัวเอง กำลังมีสัญญาณการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปโรงพยาบาล เพื่อให้คุณหมอตรวจ และนับอายุครรภ์ให้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ของทั้งลูกน้อยในครรภ์ และตัวคุณแม่เอง หรือคุณแม่สามารถคำนวนวัดคลอดง่าย ๆ ด้วยตนเองได้ที่ เครื่องคำนวณวันคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : HUGGIES, medthai, parentsone

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

คนท้องต้องรู้ อยากท้อง ไข่ตกสำคัญอย่างไร การนับวันไข่ตก

อายุครรภ์ นับอย่างไร วิธีการนับอายุครรภ์

ความสำคัญของการนับลูกดิ้น การนับลูกดิ้นป็นสิ่งสำคัญ และสิ่งที่พ่อควรทำ

บทความโดย

ammy