Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ร่างกายของคุณแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
-
- ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 34 เป็นต้นไป คุณแม่จะพบว่าตัวเองเริ่มได้รับสัญญาณบางอย่างนั่นคือ มดลูกเริ่มหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนเป็นประจำ และมีจังหวะสม่ำเสมอ คุณแม่จะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูก และค่อยๆ คลายตัวลง แต่สบายใจได้ค่ะนี่ยังไม่ใช่การเจ็บท้องคลอดจริง เพราะหากเกิดการคลอดขึ้นมาอีกหนึ่งสัญญาณที่ปรากฎขึ้นนั่นคือ การมีน้ำออกจากช่องคลอดนั่นเองค่ะ ซึ่งหากพบว่ามีสัญญาณนี้ด้วยก่อนกำหนดให้รีบไปโรงพยาบาลทันที
- ยอดมดลูกขยับขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุด สังเกตได้ชัดว่าจะอยู่ตรงใต้กระดูกสันอก ซึ่งผลกระทบที่ได้คือ คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจได้ลำบาก และมีอาการเจ็บชายซี่โครง
- ในเดือนนี้คุณแม่จะต้องไปพบคุณหมอทุกสัปดาห์ เพื่อตรวจอาการก่อนคลอดต่างๆ และการดูความพร้อมของทารกในครรภ์ รวมทั้งหากพบความผิดปกติในการคลอดใดๆ คุณหมอก็จะแจ้งให้คุณแม่ทราบทันทีค่ะ
- เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 37 ทารกจะเริ่มเคลื่อนส่วนนำ(ศีรษะ) มาอยู่ตรงอุ้งเชิงกราน ทำให้คุณแม่รู้สึกโล่งที่ชายโครง
- เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 38 ก่อนที่มดลูกจะหดรัดตัวเป็นการเจ็บครรภ์คลอดจริง คุณแม่ก็จะได้รู้สึกถึงอาการเจ็บครรภ์เตือน ที่เป็นการเจ็บเตือนที่แรงประมาณเดียวกับการเจ็บครรภ์คลอดจริงเลยล่ะค่ะ
- เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 39 ปากมดลูกเตรียมพร้อมแล้วสำหรับการคลอด คุณแม่จะรู้สึกหนักที่กระเพาะปัสสาวะนั่นเกิดจากการกดทับจากทารก และมดลูกมีการหดรัดตัวแรงขึ้นเมื่อคุณแม่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งการหดรัดตัวของมดลูกนี้จะเป็นจังหวะสม่ำเสมอและบ่อย นี่ถือเป็นสัญญาณเตือนการคลอดจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น หากยังอยู่ที่บ้าน ควรสังเกตว่าร่างกายมีสัญญาณอื่นๆ ด้วยหรือเปล่า ได้แก่ ถุงน้ำคร่ำแตก
- อายุครรภ์ครบกำหนดคลอดทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ จะอยู่ในระหว่าง 37 ถึง 41 สัปดาห์ และหากอายุครรภ์ 42 สัปดาห์ขึ้นไป ถือเป็นการตั้งครรภ์ที่เกินกำหนด ซึ่งเสี่ยงต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้แก่ รกเสื่อม น้ำคร่ำลดน้อยลง เมื่อมดลูกหดรัดตัวก็จะเป็นผลให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน ซึ่งถือเป็นภาวะอันตรายที่เสี่ยงมากต่อชีวิต
- เมื่ออยู่ในห้องคลอดคุณแม่ควรควบคุมการหายใจของตัวเองให้ดี มีสมาธิอยู่ที่ลมหายใจระหว่างที่มีอาการมดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนนูนแข็ง จะช่วยให้คุณแม่ควบคุมตัวเองจากการเจ็บท้องคลอดได้ดี
การตั้งครรภ์เดือนที่ 9 กับพัฒนาการทารกในครรภ์ และเตรียมกระเป๋าไปคลอด อ่านหน้าต่อไปคลิก
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 9
- สัดส่วนของทารก จะมีลำตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร หนักประมาณ 3,000 กรัม
- การหายใจ ต่อมหมวกไตจะเร่งสร้างฮอร์โมนเพิ่มความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรกในชีวิตที่ต้องออกจากครรภ์ของคุณแม่
- ในลำไส้ของทารกเต็มไปด้วยขี้เทา ซึ่งเกิดจากสารที่หลั่งในระบบทางเดินอาหาร ปะปนกับขนอ่อนและเซลล์ต่างๆ ที่หลุดออกตามทางเดินอาหารของทารก
- ผิวหนังของทารกยังคงมีไขสีขาวเวอร์นิกซ์ (Vernix) เหลืออยู่ ก็เพื่อช่วยหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
- ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่อยู่ในครรภ์คุณแม่ ร่างกายทารกจะขับของเสียเป็นเมือกสีเขียวเข้มออกมาในลำไส้ ของเสียที่ทารกขับออกมานี้ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดที่แตกตัว เซลล์ที่ลอกตัวออกจากลำไส้ เซลล์ผิวหนังและขนอ่อนที่หลุดเข้าไปปนอยู่ในน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไป และขับเป็นของเสียออกมา สารที่เป็นเมือกสีเขียว เป็นของเสียชนิดแรกที่ทารกขับออกมาในตอนแรกคลอด ทำให้ทารกมีเมือกสีเขียวเปื้อนอยู่ทั่วร่างกายตอนคลอดนั่นเอง
เพื่อไม่ให้เกิดความฉุกละหุกขึ้นมาเวลาที่ปวดท้องคลอด ในระหว่างนี้คุณแม่ควรเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับตัวเองและของลูกน้อยลงกระเป๋าไว้ให้พร้อมด้วยนะคะ สิ่งที่ควรเตรียมมีดังนี้ค่ะ
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
- ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ เช่น ผ้าขนหนู สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ฯลฯ
- เสื้อชั้นในสำหรับให้นมลูก กางเกงชั้นใน
- ผ้าอนามัย 1 ห่อ
- ชุดใส่กลับบ้าน 1 ชุด ของคุณแม่
- ผ้าห่อตัวลูก
- ผ้าอ้อมสำเร็จรูป Newborn Size
- ชุดใส่กลับบ้าน 1 ชุด ของลูก
ถึงเวลาที่ต้องคลอดลูกแล้ว ขอให้ว่าที่คุณแม่คนใหม่โชคดีกันทุกคนนะคะ ^_^
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
100 อาการคนท้องเดือนที่ 9 ที่คุณแม่ต้องรู้
ของเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่มือใหม่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ?
ผ่าคลอดแนวตั้ง กับผ่าคลอดแนวนอน ต่างกันอย่างไร
การคลอดแบบธรรมชาติดีกว่าผ่าคลอดจริงหรือไม่?
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!