การตั้งครรภ์เดือนที่ 7: การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการทารกในครรภ์

ว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 7 น่าจะรู้กันคร่าวๆ แล้วว่าเจ้าหนูน้อยในท้องคุณแม่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย ช่วงนี้หากมีเวลาก็จัดเตรียมของใช้ไว้ให้ลูกได้เลยนะคะ ค่อยๆ ทยอยซื้อเลือกเอาที่จำเป็นก่อน เพื่อเวลาลูกคลอดมาแล้วจะได้ไม่ฉุกละหุกในการเตรียมของใช้ให้ลูกค่ะ ไปดูกันว่าร่างกายของคุณแม่ท้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างในเดือนนี้ รวมถึงพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ร่างกายของคุณแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

  • ขนาดมดลูกที่โตขึ้นทำให้ไปดันซี่โครงกระดูกด้านล่างขึ้นมา เป็นผลให้คุณแม่มีอาการจุกเสียดขึ้นมาบ้างเวลาที่ขยับตัว ลุก นั่ง หรือนอน
  • อาจมีอาการของกรดไหลย้อน ที่เป็นผลมาจากฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน ทำให้การย่อยอาหารในกระเพาะช้าลง
  • น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคุณแม่จะเริ่มรู้สึกอึดอัดมากขึ้น
  • การนอนหลับ ด้วยขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่นอนหลับได้ไม่ค่อยดี
  • อาการปวดหลัง น้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลังมากขึ้น บวกกับส่วนรับน้ำหนักด้านล่างคือกระดูกเชิงกรานขยายตัวเตรียมคลอด หลังจึงต้องรับน้ำหนักเต็มที่ จึงทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังขึ้นมาได้
  • ปวดปัสสาวะบ่อย ทารกในครรภ์มีขนาดร่างกายที่ใหญ่ขึ้นทำให้มดลูกขยายตัว น้ำหนักตัวและการดิ้นของทารกจะกดลงบนกระเพาะปัสสาวะ เป็นผลทำให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 7

  • อวัยวะเพศ ทารกในครรภ์มีการแบ่งเพศชายหญิงขึ้นอย่างชัดเจน ในทารกเพศหญิงจะมีการพัฒนาช่องคลอดขึ้นมาจนเป็นร่องลึก ในทารกเพศชายจะมีการพัฒนาลูกอัณฑะขึ้นมา
  • ทารกสามารถขยับนิ้ว กำมือ และมีการพัฒนาลายนิ้วมือที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา
  • ทารกเริ่มลืมตา และระบบนัยน์ตาพัฒนาขึ้นเกือบสมบูรณ์ แต่สีของนัยน์ตายังไม่ใช่สีที่ถาวร ซึ่งต้องหลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว 2-3 เดือน ถึงจะมีการปรากฎขึ้นมาว่าสีนัยน์ตาที่แท้จริงเป็นสีไหน เช่น ดำ น้ำตาล ฟ้า เขียว เป็นต้น
  • เซลล์สมองและระบบประสาท ช่วงนี้สมองของทารกพัฒนาขึ้นจนโตเต็มกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมอง ส่วน เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายกันอย่างสมบูรณ์ เริ่มมีไขมันห่อหุ้มเส้นประสาทเหมือนกับที่ไขสันหลัง
  • ทารกเริ่มมีผิวที่หนาขึ้น เพราะมีไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้นมาก
  • ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มทำงาน
  • ขนอ่อนตามร่างกายเริ่มหลุดร่วง มีเหลือไว้เฉพาะที่บริเวณไหล่ และหลัง
  • ทารกจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำประมาณวันละครึ่งลิตร

 

 

 

อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 7

ถึงแม้ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายแล้วก็ตาม ร่างกายของคุณแม่ และทารกในครรภ์ก็ยังต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่เหมือนเดิม ยิ่งในคุณแม่จะต้องทานอาหารที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปจากร่างกาย เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก ซึ่งสารอาหารทั้งสองอย่างนื้ทารกจะดึงเอาจากร่างกายของคุณแม่ไปเพื่อใช้ในการสร้างกระดูก ส่วนธาตุเหล็กจะนำไปสร้างเม็ดเลือดให้กับทารก ดังนั้นคุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารทั้งแคลเซียม ธาตุเหล็กอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนม การทานเนื้อสัตว์ ธัญพืช ปลากรอบที่ทานได้ทั้งกระดูก งาดำ โยเกิร์ต เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

อาการคนท้องเดือนที่ 8 ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29 – 32

100 สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้ในช่องการตั้งครรภ์เดือนที่ 7

อาหารสำหรับคุณแม่ท้องไตรมาส 3

การตั้งครรภ์เดือนที่ 6 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการทารกในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team