การตั้งครรภ์เดือนที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการทารกในครรภ์

ว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 3 จะพบว่ารูปร่างเริ่มขยายใหญ่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นขนาดครรภ์ ขนาดหน้าอก สำหรับหน้าอกที่เพิ่มขนาดขึ้นนี้แนะนำว่าควรเปลี่ยนมาใส่เป็นชุดชั้นในสำหรับแม่ท้องโดยเฉพาะ เพราะจะช่วยรองรับน้ำหนักของเต้านมได้ดีทำให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น มาดูกันว่าในสี่สัปดาห์สุดท้ายของไตรมาสแรกนี้ร่างกายแม่ท้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง รวมทั้งพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการคนท้องเดือนที่ 3 ร่างกายของคุณแม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไม่อย่างมาก พร้อมทั้งอาการต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงลูกน้อยและคุณแม่ แม่ๆ จะรับมือกับช่วงเวลาเดือนที่ 3 ได้อย่างไร theAsianparent Thailand เตรียมข้อมูลมาให้คุณแม่ได้อ่านกันแล้วค่ะ

 

ร่างกายของคุณแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

  • อารมณ์ ถึงแม้ว่าจะยังมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากเท่าช่วงสองเดือนแรก นั่นเพราะระดับฮอร์โมนภายในร่างกายเริ่มมีความสมดุลมากขึ้น
  • อาการแพ้ท้อง จะเริ่มค่อยๆ ลดลงทำให้แม่ท้องทานอาหารได้อร่อยมากขึ้น
  • มดลูก ความกว้างของมดลูกขยายใหญ่มากขึ้น ซึ่งคุณหมอสามารถตรวจและคลำได้อย่างชัดเจน
  • น้ำหนักตัว ของคุณแม่เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย
  • ระบบไหลเวียนเลือด คุณแม่ท้องจะมีความดันโลหิตลดต่ำลง เนื่องจากผลของฮอร์โมนที่มีต่อการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้เลือดกระจายไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายได้อย่างสมดุล
  • ขนาดร่างกายขยายใหญ่มากขึ้น สังเกตได้จากบริเวณเต้านมทั้งสองข้าง ต้นแขน ต้นขา และสะโพก เป็นต้น
  • รก ถูกพัฒนาขึ้นมาทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจนไปมาระหว่างคุณแม่กับทารก ซึ่งรกจะหนาขึ้นพร้อมๆ กับเยื่อหุ้มทารกที่อยู่ภายในจะขยายขนาดใหญ่จนมาติดกับรก และล้อมด้านในของโพรงมดลูกไว้ทั้งหมด

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 3 

    • เมื่ออายุครรภ์ครบ 3 เดือน เราจะเรียกตัวอ่อนในครรภ์ว่าทารก เพราะเริ่มมีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว หากคุณแม่ได้ทำอัลตราซาวนด์ในช่วงนี้ คุณหมอจะชี้ให้เห็นว่าส่วนหัวของทารกจะมีขนาดใหญ่กว่าช่วงลำตัว ส่วนหัวทารกจะยาวประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความยาวลำตัว
    • ทารกมีการพัฒนาหน้าตา และนัยน์ตาอย่างสมบูรณ์แล้ว เริ่มเห็นคาง หน้าผาก จมูก มีเล็บมือ และเล็บเท้า
    • ช่วงลำตัวทารกจะเริ่มมีกระดูก ซี่โครง ในช่วงนี้ทารกมีความต้องการแคลเซียมจำนวนมากเพื่อนำมาสะสมใช้ในการสร้างกระดูกให้แข็งแรง ทารกจะดึงแคลเซียมจากคุณแม่มาใช้เป็นจำนวนมาก จึงแนะนำว่าคุณแม่ควรทานอาหารที่มีแคลเซียมเสริมให้ร่างกายของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
    • ทารกจะมีขากรรไกร เหง้าฟันแท้ทั้ง 32 ซี่ ที่ซ่อนอยู่ในปุ่มเหงือกอย่างครบถ้วน
    • การเต้นของหัวใจ เริ่มช้าลง ประมาณ 110-160 ครั้งต่อนาที ระบบกลืนเริ่มทำงาน ทารกเริ่มกลืนน้ำคร่ำและถ่ายปัสสาวะ
    • หัวใจ ตับ ปอด ม้าม ลำไส้ กระเพาะอาหาร และอวัยวะเพศ ถูกพัฒนาขึ้นมา ซึ่งอวัยวะต่างๆ ทั้งหมดภายในร่างกายของทารกจะยังไม่มีความสมบูรณ์ ซึ่งต่อพัฒนาให้สมบูรณ์มากขึ้นไปตลอดช่วงการตั้งครรภ์ทั้ง 40 สัปดาห์

อาหารที่ควรทานในช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 3 อ่านหน้าต่อไปคลิก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 3

  • คุณแม่ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว และในช่วงเดือนนี้มดลูกจะขยายใหญ่มากขึ้นทำให้ไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ
  • วิตามินซี ซึ่งมีอยู่ในผักผลไม้หลายชนิด นอกจากจะช่วยให้กระดูกและฟันของทารกแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ทำให้ช่วยลดโอกาสผิวบริเวณหน้าท้องแตกลายได้
  • แคลเซียม มีความจำเป็นต่อร่างกายของคุณแม่มาก นั่นเพราะส่วนหนื่งจะถูกส่งไปให้ทารกในครรภ์ใช้ในการสร้างกระดูก คุณแม่ควรต้องเน้นทานอาหารที่มีแคลเซียมมากๆ หรือแคลเซียมเม็ดที่คุณหมอแนะนำให้ทานก็ควรทานให้ครบ ตัวอย่างอาหารที่มีแคลเซียม เช่น งาดำ งาขาว ผักคะน้า บร็อกโคลี่ ข้าวโอ๊ต กุ้งแห้งตัวเล็ก ปลาซาร์ดีน ถั่วแระ กะปิ เนย นม ชีส โยเกิร์ต ถั่วเหลือง เต้าหู้เหลือง อัลมอนด์ ปลากรอบที่กินได้ทั้งกระดูก เป็นต้น

นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์แล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่คุณแม่ท้องมักมีความกังวลใจกันมาก นั่นคือเรื่องของผิวพรรณ เพราะขนาดครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ผิวหนังเกิดการยึดตาม ซึ่งทำให้คุณแม่เกิดอาการคันที่มาจากผิวหนังขาดความชุ่มชื้นจึงทำให้ผิวแห้ง เริ่มมีรอยแตกลายขาวๆ เกิดขึ้น  แนะนำว่าหากคันผิวไม่ควรเกา แต่ให้แก้ด้วยการทาครีม หรือน้ำมันสำหรับทาผิวเพื่อเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เพื่อลดอาการคันผิวลงค่ะ  ส่วนเรื่องการแตกลายของผิวอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับแม่ท้องทุกคน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคนด้วยว่ามีความยืดหยุ่น แข็งแรงมากแค่ไหน แต่เพื่อป้องกันเรื่องผิวแตกลาย แนะนำให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมากๆ หมั่นออกกำลังกาย ทาครีม ทาโลชั่นบำรุงผิวเป็นประจำ ซึ่งทั้งหมดนี้ควรทำก่อนมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ถึงจะได้ผลดีที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อาการคนท้องเดือนที่ 4 ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12

อาหาร 7 อย่างที่แม่ท้องไม่ควรกินตอนท้องว่าง

แม่ท้องขาดกรดโฟลิกทำให้ลูกเสี่ยงพิการและพัฒนาการล่าช้า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team