กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะแปลกอะไรถ้าคนสองคนจะมีกรุ๊ปเลือดไม่เหมือนกัน พ่อเลือดกรุ๊ป A แม่เลือดกรุ๊ป B มีลูกออกมา ลูกอาจจะมีเลือดกรุ๊ป A หรือ B หรือ AB หรือ O ก็ได้ เรื่องนี้ทุกคนทราบกันดี แต่ถ้าเมื่อไหร่ ที่แม่เลือดกรุ๊ป B แล้วลูกน้อยเกิดมาเลือดกรุ๊ป A เหมือนกับพ่อ กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ? ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา การแพทย์อาจจะไม่เป็นที่รู้กันมากในกรณีที่เลือดแม่ และลูกไม่เหมือนกัน ส่งผลให้เด็กเกิดสภาวะตัวเหลือง ซึ่ง ณ ช่วงเวลานั้น เมื่อเด็กมีอาการตัวเหลือง ก็มักจะถูกประเมินว่ามีความปกติทางด้านร่างกายเกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่สามารถรักษาให้หายได้ทัน จะส่งผลถึงพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก อาจจะให้มีการพัฒนาการที่ช้า หรือเกิดอาการเอ๋อ นั่นเอง

ภาวะตัวเหลืองของเด็กแรกเกิด

ภาวะตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึงร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิดครบกำหนด และพบได้สูงถึงร้อยละ 80 ของทารกเกิดก่อนกำหนด การที่พ่อแม่รู้เท่าทันภาวะตัวเหลือง ย่อมช่วยให้สามารถสังเกตอาการของลูก และพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดความรุนแรงให้เจ้าตัวน้อย ไม่ต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมา

อาการตัวเหลืองของทารกหลังคลอด แม้ว่าจะดูเป็นอาการที่น่าตกใจไม่น้อย ที่ลูกนั้นมีสีผิวเหลืองผิดปกติ แต่อาการดังกล่าว กลับเป็นเรื่องภาวะที่สามารถพบได้ทั่วไปในทารกแรกเกิด โดยเกิดจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นเกิดจาก ภาวะหมู่เลือดของแม่กับลูก ที่ไม่สัมพันธ์กัน เมื่อคุณหมอที่ทำคลอดได้ทำการประเมินพัฒนาการทุกด้านของทารก ตั้งแต่การกระตุ้นเสียงร้อง การวัดการเต้นของหัวใจ ระบบปอด ระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งภาวะทารกตัวเหลืองด้วย ซึ่งหากพบความผิดปกตินี้ขึ้น จะทำการส่งต่อไปยังกุมารแพทย์ เพื่อดูแลให้การรักษาภาวะทารกตัวเหลืองต่อไปค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน

ภาวะเลือดของแม่ และลูกไม่สัมพันธ์กัน คืออะไร?

เนื่องจากหมู่เลือดของลูกนั้น จะขึ้นอยู่กับหมู่เลือดของคุณพ่อ และคุณแม่ แล้วบังเอิญว่าหมู่เลือดของลูก อาจจะไปเหมือนกับทางคุณพ่อ  ซึ่งก็มีโอกาสที่จะเข้ากันไม่ได้กับของคุณแม่ค่ะ เป็นภาวะที่สามารถพบได้ 20 – 50% ของทารกแรกเกิด

Microspherocytes on a peripheral blood smear from autoimmune hemolytic anemia, Peripheral blood smear, blood examination with microscope.

ประเภทของหมู่เลือด

โดยหมู่เลือดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หมู่เลือด ABO

  • หมู่เลือดหลักคือ  A , B และ O
  • หมู่เลือด Rh โดยแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ Rh+ และ Rh-

หมู่เลือด A , B และ O เป็นระบบที่คุ้นเคยกันดี ในระบบนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 4 หมู่ คือ A , B , AB และ O ซึ่งจะถูกกำหนดโดยโปรตีนที่เกาะบนผิวของเม็ดเลือดแดง โดยสารโปรตีนนี้คือ แอนติเจน (Antigen) เป็นตัวจำแนกหมู่เลือด ในระบบ ABO มีอยู่ 2 ชนิด คือ สารโปรตีน A (Antigen-A) และสารโปรตีน B (Antigen-B)

ในกรณีที่คุณแม่ต้องการทราบว่าลูกมีหมู่เลือดใด ในระบบ ABO สามารถคำนวณได้เองคร่าว ๆ จากหมู่เลือดของคุณพ่อ และคุณแม่ เพราะการจะตรวจกรุ๊ปเลือดของทารกในครรภ์นั้น ทำได้ค่อนข้างยาก และก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับการตั้งท้อง การตรวจหลังคลอดจะเป็นการดีที่สุดค่ะ

หมู่เลือด Rh

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วน Rh เป็นหมู่เลือดอีกระบบ เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ คุณหมอจะเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่า คุณแม่มีหมู่เลือดชนิดใด โดยเจาะดูทั้ง 2 หมู่เลือด ซึ่งผลการตรวจ จะรายงานว่า คุณแม่มีหมู่เลือดแตกต่างกันอย่างไร เช่น คุณแม่บางรายมีหมู่เลือด O Rh+ ในขณะที่ คุณแม่บางราย มีหมู่เลือด B Rh- เป็นต้น โดยหมู่เลือดในระบบ Rh แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

  • หมู่เลือด Rh+ (Rh positive) จะมีแอนติเจนอยู่ในเม็ดเลือดแดง เป็นหมู่โลหิตธรรมดา ซึ่งในคนไทย มีหมู่เลือด Rh+ เป็นส่วนมากเกือบร้อยละ 100
  • หมู่เลือด Rh- (Rh negative) ไม่มีแอนติเจนอยู่ในเม็ดเลือดแดง เป็นหมู่โลหิตหายาก หรือหมู่โลหิตพิเศษ ในคนไทย มีหมู่เลือด Rh- ไม่ถึงร้อยละ 1

ซึ่งในร่างกายของคนที่มีหมู่เลือด Rh- ไม่รู้จักแอนติเจนในเม็ดเลือดแดง เมื่อได้รับเลือดจากหมู่เลือด Rh+ เข้าไป ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเม็ดเลือดแดงนั้น ๆ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่แชร์ ญาติแอบป้อนน้ำองุ่นทารก คิดว่าจะหายตัวเหลือง สุดท้ายลูกเกือบตาย

 

Baby has high level of jaundice, and is put in blue light to reduce jaundice level.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของภาวะตัวเหลือง

การเกิดภาวะเลือดแม่ และเลือดลูกไม่เข้ากัน ในหมู่เลือด ABO มักมีอาการไม่รุนแรงนัก โดยมีสาเหตุจาก แอนติบอดี้ในเลือดของคุณแม่ สามารถซึมผ่านรก เข้าไปในเลือดของทารกในครรภ์ แอนติบอดี้ที่ผ่านรกเข้าไปในเลือดของลูก จะทำลายเม็ดเลือดของลูก ทำให้เม็ดเลือดแตก

แต่การไม่เข้ากันของเลือดแม่ และลูกมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่เม็ดเลือดแดงของลูกแตกมาก จนทำให้มีการปล่อยสารที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง หรือ “บิลิรูบิน” สารที่มีสีเหลือง ออกมาในกระแสเลือด มาเกาะที่ผิวหนัง และเยื่อบุตาขาว ทำให้ทารก มีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองหลังคลอดได้ค่ะ

ในกรณีคุณแม่ที่มีเลือดกลุ่ม Rh+ หรือ Rh- ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ ยกเว้นกรณีคุณแม่ที่มีกลุ่มเลือด Rh- แต่ลูกในครรภ์มีกลุ่มเลือด Rh+ อาจทำให้เกิดปัญหาเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน จึงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเลือดของลูกที่เป็น Rh+ เข้าสู่ร่างกายของแม่ จะทำให้ร่างกายคุณแม่ สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก

การป้องกัน และการรักษา

การป้องกันที่ดีที่สุดในกรณีหมู่เลือด Rh ของแม่ และลูกไม่ตรงกัน คือการไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากตรวจพบ การไม่เข้ากันของเลือดแม่ และลูก ในการตั้งครรภ์ครั้งแรก คุณหมอจะฉีดยาลดการสร้างภูมิต้านทานต่อเลือดของลูกให้ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดของแม่ ไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก ในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปแต่ก็ไม่มีปัญหาใด ๆ สำหรับการคลอดซึ่งคุณแม่ที่มีกลุ่มเลือด Rh- ยังสามารถคลอดได้ตามปกตินะคะ

ส่วนของการรักษาภาวะตัวเหลือง ต้องรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก ร่วมกับการลดระดับบิลิรูบินลง โดยการเพิ่มการกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย เช่น การส่องไฟรักษา หรือ นำบิลิรูบินออกจากร่างกายโดยตรง เช่น การเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นต้นค่ะ

 

ผลข้างเคียงของอาการตัวเหลือง

ในบางกรณี ถ้าระดับของบิลิรูบินสูงมาก บิลิรูบินจะไปจับกับตัวเนื้อสมอง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมองได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการชัก และมีการทำลายเนื้อสมองอย่างถาวร และยังพบว่า มีโอกาสที่จะเกิดภาวะ I.Q. ต่ำ รวมถึงอาจเกิดภาวะการได้ยินผิดปกติอีกด้วย

ถึงแม้ว่าภาวะตัวเหลือง จะสามารถพบได้บ่อย แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะมีโอกาสที่ทารกได้รับอันตราย หรือเสียชีวิตในครรภ์มีน้อยมาก แต่อย่างไรก็ดี เมื่อคุณแม่สงสัย หรือทราบว่าตัวเองจะตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ไว้เลยนะคะ เพราะจะได้มีคุณหมอดูแลให้ นอกจากนี้ ยังควรตรวจร่างกายให้ให้อย่างสม่ำเสมอ เพราะการดูแลที่ต่อเนื่อง จนถึงการคลอดมีผลต่อสุขภาพของลูกน้อยอย่างยิ่งค่ะ

 

ที่มา : pobpad , bangkokhospital

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Arunsri Karnmana