ปู๊ด ป๊าด คือเรื่องธรรมชาติ
แก๊ส เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการย่อยอาหารของระบบทางเดินอาหารในร่างกายมนุษย์ และแก๊สก็ต้องได้รับการระบายออกจากร่างกายไม่ทางปากก็ทางทวารหนักค่ะ แม้บางทีการระบายแก๊สออกจากร่างกายจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ไปบ้าง หรือไม่สบายตัว แม้กระทั่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้ก็ตามค่ะ
ในแต่ละวันคนเราจะมีการขับแก๊สออกจากร่างกายประมาณ 1 – 3 ไพนต์ (1ไพนต์ เท่ากับ 2 ถ้วยตวง) และมีการขับแก๊สเป็นจำนวน 14 – 23 ครั้งต่อวันค่ะ
4 นิสัยเพิ่มแก๊สจนพุงป่อง
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- การกินหรือดื่มที่เร็วเกินกว่าปกติ
- การสูบบุหรี่
- ใส่ฟันปลอมที่หลวมเกินไป
บางครั้งแก๊สในร่างกายก็เป็นสาเหตุให้คุณแม่อึดอัดได้ ด้วยหลายเหตุผล เช่น การย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์ อย่างการแพ้แลคโตส หรือการแพ้กลูเตน คนจำนวน 1 ใน 3 ผลิตแก๊สมีเทนขึ้นลำไส้ (ซึ่งมีกลิ่นร้ายแรงมาก) โดยทำให้สิ่งปฏิกูลที่ขับออกมาสามารถลอยอยู่ในน้ำได้
การเคลื่อนตัวของแก๊สในร่างกาย จะเคลื่อนผ่านระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ขยาย ส่งผลให้มีเจ็บหรือปวดได้ หรืออาจจะทำให้เป็นตะคริว และอึดอัดได้ค่ะ โดยการปรับการกินอาหารด้วยตัวเองก็เป็นการแก้ไขอย่างหนึ่งค่ะ
ทำไมคุณแม่ถึงมีแก๊สเยอะ
เนื่องจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่สูงขึ้น ฮอร์โมนอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายผลิตแก๊สมากขึ้น นอกจากนี้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนยังทำให้การย่อยอาหารใช้เวลามากขึ้น คุณแม่จึงรู้สึกอึดอัด มีอาการท้องอืด และเรอบ้างเป็นบางครั้ง
วิธีลดแก๊สในร่างกายสำหรับคุณแม่พุงป่อง (เพราะแก๊ส)
- หลีกเลี่ยงอาหารทอดหรืออาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากเป็นการเพิ่มเวลาย่อยอาหาร
- ไม่ใช้หลอดดูดน้ำ เนื่องจากจะดูดเอาลมเข้าท้องไปด้วย
- นั่งหลังตรงหลังจากกินอาหาร ช่วยทำให้อาหารย่อยได้ดีขึ้น
- เดินย่อยอาหารบ้าง ยกเว้นว่าจะมีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย
- ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ โดยเฉพาะตรงหน้าท้อง
- ดื่มน้ำมากๆ จะช่วยในเรื่องของการย่อยอาหาร
- กินครั้งละน้อยๆ และถี่ๆ บ่อยๆ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ที่จะส่งผลให้รูปแบบการย่อยอาหารสอดคล้องกันมากขึ้น
ที่มา Medical News Today
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การผายลมของคนท้อง ห้ามไม่ได้ แต่เลี่ยงได้
ดื่มน้ำอัดลมเยอะ มีผลเสียต่อการคลอดอย่างไร