วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก 10 กันยายน มาป้องกันเรื่องน่าเศร้านี้ไปพร้อมกัน

วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก หรือวันที่ 10 กันยายนของทุกปี มีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ได้หาคำตอบมาให้แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ตรงกับวันที่ 10 กันยายนของทุกปี ปัจจุบันประชาชนมีภาวะเครียดง่ายขึ้น ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่าใน 1 ปี จะมีผู้ที่ทำการฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อทราบเช่นนี้แล้วมาช่วยกันป้องกัน และดูแลเอาใจใส่คนรอบข้างของเราให้ดีกันค่ะ

 

ที่มาของวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ทำการกำหนดให้ วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) ตรงกับวันที่ 10 กันยายนของทุกปี ซึ่งทำการกำหนด และประกาศออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2546 และได้กำหนดให้มีการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตาย เพื่อให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาดังกล่าว และหันมาให้ความสนใจกับการป้องกันปัญหาที่ส่งผลให้ฆ่าตัวตายมากขึ้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน  วิธีดูแลสุขภาพจิตในช่วงทำงานที่บ้าน

 

ผู้คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายทุกปี

มีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า มีประชากรมากกว่า 800,000 คน ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย มีผู้ทำการฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ทุก 40 วินาที โดยก่อนที่จะมีการฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed suicide) ได้ผ่านการพยายามฆ่าตัวตาย (attempted suicide) มาแล้วมากถึง 20 ครั้ง ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ทำให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายนั้นสามารถป้องกันได้ ถ้าได้รับความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

 

สัญลักษณ์ของ วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

องค์การอนามัยโลกพบว่าสาเหตุการตายอันดับที่ 10 ของประชากรทั้งโลกนั้นมากจากการฆ่าตัวตาย และในประชากรที่มีอายุ 15 - 35 ปีนั้น การฆ่าตัวตายถือเป็นสาเหตุอันดับที่ 3 ที่ทำให้มีการเสียชีวิต โดยองค์การอนามัยโลกยังระบุไว้อีกว่าผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิงมากถึง 3 เท่า ยกเว้นในประเทศจีน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการโรคซึมเศร้าในผู้ชาย เป็นแบบไหนกัน สัญญาณซึมเศร้าในผู้ชาย? 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากประชากรที่ฆ่าตัวตายแล้ว องค์การอนามัยโลกยังพบว่ามีผู้ที่ทำการทำร้ายตัวเองมากถึง 10 - 20 เท่า จากการศึกษาทำให้พบว่าผู้ที่ทำร้ายตัวเองมีโอกาสที่จะทำร้ายตัวเองซ้ำ ๆ และสำเร็จในที่สุด ซึ่งข้อมูลตรงนี้ยังระบุไว้อีกว่าในระยะ 1 ปีหลังจากการทำร้ายตัวเองเกิดขึ้น อาจะมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด

 

ปัญหาการฆ่าตัวตาย

ปัญหาของการฆ่าตัวตายนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน และปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นความรุนแรงด้านสุขภาพจิตและจิตเวช สาเหตุของการฆ่าตัวตายที่เกี่ยวข้องอาจจะมาจาก ปัญหาทางด้านชีวะภาพ จิตวิยา และเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการเจ็บป่วยทางจิตเวชเป็นปัญหาที่ส่งผลให้มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด มีการศึกษาทางแพทย์ได้ระบุไว้ว่า 9 ใน 10 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยทางจิตเวชนั่นเอง

 

ในส่วนของปัญหาการฆ่าตัวตายในไทย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้เคยเปิดเผยข้อมูลเมื่อปีพ.ศ. 2561 ไว้ว่า สถานการณ์ของปัญหาการฆ่าตัวตายจากภาพรวม อัตราการฆ่าตัวตายทั้งประเทศจะอยู่ที่ 6.34 ต่อประชากร 1 แสนคน โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 4,137 คน โดนแบ่งเป็นเพศชาย 3,327 คน หรือคิดเป็น 80% และเพศหญิง 810 คน หรือคิดเป็น 20%

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กรมสุขภาพจิตยังได้นะบุไว้อีกว่า ในวันแรงงานไทยเป็นวันที่มีคนฆ่าตัวตายมากที่สุด ซึ่งบุคคลในช่วงอายุ 25 - 59 ปี จะเป็นวัยที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงสุด ซึ่งสาเหตุ และปัจจัยของการฆ่าตัวตายได้สำเร็จนั้น ได้แก่ ความน้อยใจ การถูกดุด่า การถูกตำหนิ รวมไปถึงการทะเลาะกับคนใกล้ชิด มีปัญหาเกี่ยวกับความรัก  หรืออาจจะต้องการการดูแลและใส่ใจ ทั้งยังมีสาเหตุมาจากปัญหาการดื่มสุรา ซึ่งส่งผลให้มีอาการมึนเมาระหว่างทำร้ายตนเอง ปัญหาด้านการเจ็บป่วยทางจิต และมีประวัติการทำร้ายตนเองซ้ำ

 

มาช่วยกันป้องกันปัญหาฆ่าตัวตายไปพร้อม ๆ กัน วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

สัญลักษณ์ของ วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

ในประเทศไทยมีดอกสะมาเรียสีขาว หรือดอกบัวดินใช้เป็นสัญลักษณ์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก โดยดอกสะมาเรียมีความหมายว่ามิตรภาพ และความหวังใหม่ ซึ่งถือเป็นการให้กำลังเพื่อนมนุษย์ที่กำลังเผชิญกับปัญหาของตัวเอง

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หากใครที่กำลังคิดว่ามีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง มีความคิดที่จะพยายามฆ่าตัวตาย หรือรวมไปถึงบุคคลใดก็ตามที่มีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสามารถขอความช่วยเหลือได้จากหน่วยงาน และองค์กรดังต่อไปนี้

  • กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธรณสุข
  • สายด่วนสุขภาพจิต1323
  • ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ
  • โครงการป้องกันผู้มีภาวะซึมเศร้า
  • โครงการช่วยเหลือผู้ที่ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  • สมาคมสะมาริตันส์ ป้องกันการฆ่าตัวตาย

 

ปัจจุบันมีหลายองค์กร หน่วยงาน และโรงพยาบาลไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชน ได้ทำการออกแบบทดสอบความเครียดไว้ให้ประชาชนเพื่อประเมินภาวะความเครียดของตัวเอง หากใครต้องการเช็กว่าตัวเองมีความเครียดอยู่หรือไม่ สามารถทำการค้นหาแบบทดสอบความเครียดต่าง ๆ เหล่านี้ได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อทำการวิเคราะห์ และประเมินตัวเองในเบื้องต้น หากไม่มั่นใจแนะนำให้ทำการติดต่อหน่วยงานข้างต้น หรือเข้ารับคำปรึกษากับจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทาง theAsianparent Thailand อยากให้ทุกคนช่วยกันดูแล และเอาใจใส่บุคคลรอบข้างตัวเองอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์แบบใดก็ตาม เมื่อเราหยิบยื่นความหวังดีเล็ก ๆ น้อย ๆ เราอาจจะช่วยเยียวยา และป้องกันการเกิดการฆ่าตัวตายได้

สำหรับใครก็ตามที่กำลังท้อแท้ และสิ้นหวังไม่ด้วยสาเหตุอันใด theAsianparent Thailand ขออยู่เคียงข้างทุกท่าน และเป็นกำลังใจให้ก้าวผ่านปัญหาต่าง ๆ ไปได้อย่างราบรื่น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในเด็ก มีอาการอย่างไร เด็กก็เศร้าเป็น

อาหารช่วยลดความเครียด สารอาหารสร้างสุข 14 อาหารลดความกังวล

ป้องกันการฆ่าตัวตายในเด็ก เริ่มต้นที่ครอบครัว

ที่มา : 1

บทความโดย

Khattiya Patsanan