วันดาวน์ซินโดรมโลก (WDSD) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี องค์การดาวน์ซินโดรมทั่วโลกจะจัดและเข้าร่วมงานที่ต้องการให้สาธารณชนเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับโรคดาวน์ซินโดรม แล้วทำไมวันดาวน์ซิมโดรมโลกถึงจะต้องตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี วันนี้เราได้นำข้อมูลมาให้ทุกคนได้ศึกษากันแล้ว ไปดูกันเลย !
วันดาวน์ซินโดรมโลก 21 มีนาคม
เหตุผลที่กำหนดวันดาวน์ซินโดรมโลกเป็นวันที่ 21 มีนาคม มาจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นที่มาของโรคดาวน์ซินโดรม ที่มีสาเหตุมาจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกิดความผิดปกติ เนื่องจากปกติแล้วคนเราจะมีโครโมโซมทั้งหมด 21 คู่ เพียง 2 แท่ง แต่ในกลุ่มที่มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นจะมี 3 แท่ง อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดกิจกรรมขึ้นในวันดาวน์ซินโดรมโลก เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรมโลกได้มีโอกาสพูดและรับฟังความคิดเห็น แสดงให้โลกเข้าใจว่าพวกเขาสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป
ประวัติของวันดาวน์ซินโดรมโลก
- 1993 : เริ่มต้นจากการประชุมระหว่าง Jo Mills ,Penny Robertson ,Sylvia Escamilla ที่เป็นผู้วางโครงสร้างพร้อมกำหนดเป้าหมายหลักขององค์กร
- 2002 : DSI ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศล
- 2009 : DSI ได้เริ่มโครงการอย่างจริงจัง เช่น โปรแกรมการอบรมต่าง ๆ
- 2011 : ในเดือนธันวาคม สหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก
จุดประสงค์ในการแต่งตั้งวันดาวน์ซินโดรมโลก
การแต่งตั้งวันดาวน์ซินโดรมโลก หรือเรียกย่อ ๆ กันว่า DSI เป็นองค์การเพื่อพิการระดับนานาชาติ ที่มีสมาชิกอยู่ทั่วโลก จุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรม ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและความเท่าเทียมในสังคม
ดาวน์ซินโดรม คือ
ดาวน์ซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน ทำให้ผู้ป่วยมีเชาวน์ปัญญาต่ำ พูดช้า มีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อ และมีลักษณะภายนอกที่สังเกตได้ค่อนข้างชัดเจน หน้าแบน หัวแบน จมูกแบน ตาเล็กเป็นวงรี คอสั้น ตัวเตี้ยกว่าคนในวัยเดียวกันเมื่อโตขึ้น และอาจมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอายุสั้นกว่าคนปกติ
อาการดาวน์ซินโดรมเป็นอย่างไร
- มีใบหน้าที่โดดเด่น เช่น หน้าแบน หัวเล็ก หูเล็ก หูผิดรูปร่าง ปากเล็ก ตาเรียว หางตาเฉียงขึ้น มีจุดสีขาวที่ตาดำ คอสั้น แขนขาสั้น ตัวเตี้ยกว่าคนในวันเดียวกัน เมื่อโตขึ้น
- นิ้วสั้น มือสั้น เท้าสั้น เส้นลายมือตัดเป็นเส้นเดียว
- ลิ้นจุกอยู่ที่ปาก
- ไม่ค่อยแข็งแรง กล้ามเนื้อหย่อน ข้อต่อหลวม
- เชาวน์ปัญญาต่ำ ทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการ
ใครที่เสี่ยงตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
- แม่ท้องที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก หรือตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี โอกาสที่ทารกจะเป็นซิมโดรมสูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปีเมื่อตั้งครรภ์จะไม่มีความเสี่ยงมากเท่าไหร่นัก
- เคยคลอดบุตรคนก่อนที่เป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป โอกาสที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน
- มีประวัติในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม
- ผลการตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น ขาสั้น ลิ้นสั้นกว่าปกติ
ดาวน์ซิมโดรมป้องกันได้หรือไม่ ?
ดาวน์ซินโดรมป้องกันไม่ได้ แต่สามารถคัดกรองได้ เนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรม จึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถตรวจเพื่อทำการคัดกรองได้ เพื่อลดความเสี่ยงตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ ในปัจจุบันสามารถตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของลูกได้ 3 วิธี ดังนี้
-
การเจาะน้ำคร่ำ
คือการเจาะเข้าไปในถุงน้ำที่ห่อหุ้มตัวทารก และดูดน้ำคร่ำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยทำในช่วงที่มีอายุครรภ์ 16 – 20 สัปดาห์ และแนะนำในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำและได้มาตรฐาน แต่มีความเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดการแท้งได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?
-
การตรวจเลือดด้วยการหาสารชีวเคมีในเลือด
ตรวจเลือด 2 ช่วง คือ ช่วงอายุครรภ์ 12 – 14 สัปดาห์ และช่วงอายุ 17 – 20 สัปดาห์ พร้อมกับการทำอัลตราซาวด์ เพื่อหาความเสี่ยง ซึ่งวิธีนี้จะมีความแม่นยำอยู่ที่ 80 – 85 เปอร์เซ็นต์ และเป็นสิทธิประโยชน์ที่หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปสามารถตรวจได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
-
การตรวจเลือดมารดาด้วยเทคโนโลยี NIPT
เป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัยกับทารกในครรภ์ละแม่นยำถึง 99 เปอร์เซ็นต์ โดยการตรวจครรภ์จะอยู่ในช่วง 9 – 12 สัปดาห์
การตรวจเลือดโดยเทคโนโลยี NIPT คืออะไร ?
การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดของแม่ท้อง วิธีนี้เป็นวิธีคัดกรองลดความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่จะเกิดกลุ่มอาการดาวน์ซิมโดรม หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมอื่น ๆ การทดสอบโดยปกติ เลือดของคุณแม่จะมีชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมจากรกปน การทดสอบ NIPT เป็นการตรวจคัดกรองที่ใช้ตัวอย่างเลือดมารดาเพียงเล็กน้อย การทดสอบด้วยวิธีนี้ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อครรภ์ทารก ระยะเวลาการทดสอบประมาณ 5 – 14 วัน
การตรวจ NIPT ไม่เหมาะกับแม่ตั้งครรภ์
- เป็นมะเร็ง
- มีความปิดปกติของโครโมโซมชนิด trisomy
- ได้รับเลือดภายในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
- ผ่านการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
- ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
ดาวน์ซินโดรมมีอาการเป็นอย่างไร อาการดาวน์ซินโดรมสามารถติดต่อทางพันธุกรรม ได้หรือไม่
โรคดาวน์ซินโดรม โรคทางพันธุกรรมที่มักพบได้ในเด็ก ป้องกันและรักษาอย่างไร
การตรวจคัดกรองคนท้อง หาอาการดาวน์ซินโดรม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 14
ที่มา : bangpo-hospital innnews