เลี้ยงลูกอยู่บ้าน โชคดีจัง มีเวลาอยู่กับเจ้าตัวน้อยทั้งวันทั้งคืน

คุณแม่ทำงานที่กำลังมองว่าแม่ที่ เลี้ยงลูกอยู่บ้าน โชคดีจัง มีเวลาอยู่กับเจ้าตัวน้อยทั้งวันทั้งคืน ไม่ปล่อยให้เวลาทำงานมาสร้างความคิดถึงไปในตอนที่ไม่ได้เจอหน้าลูก เรื่องแบบนี้อย่าเพิ่งอิจฉากันนะคะแม่ ๆ เพราะในความโชคดีที่มีเวลาให้กับลูกก็จริง แต่ก็ทำให้คุณแม่ที่อยู่บ้านนั้นไม่ได้สบายอย่างที่คิดไว้นะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ที่ เลี้ยงลูกอยู่บ้าน นั้นมีเรื่องให้เครียดไม่ต่างจากคุณแม่ที่ไปทำงานทุกวันเหมือนกันนะ แถมผลสำรวจยังชี้ว่า แม่ฟลูไทม์นั้นมีภาวะอารมณ์ในเชิงลบที่เทียบเท่าหรือมากกว่าแม่ทำงานอีกด้วย

อย่าเพิ่งอิจฉากัน ผลสำรวจเผย แม่ที่ เลี้ยงลูกอยู่บ้าน เครียด โกรธ  ซึมเศร้า ไม่ได้สบายอย่างที่คิดเล้ย!

สำรวจความคิดเห็นของบรรดาคุณแม่ในสหรัฐอเมริกา อายุระหว่าง 18-64 ปี ที่ร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 60,799 ราย ทางโทรศัพท์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน ในปี 2012 พบว่า แม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านเองนั้นกลับมีอารมณ์ในเชิงลบได้มาก แม่ฟูลไทม์ 41 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าตนเองนั้นกลายเป็นคนช่างวิตกกังวล ห่วงนู้นห่วงนี้ที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับเจ้าตัวน้อย ในขณะที่บรรดาคุณแม่ทำงานกลับมีความรู้สึกเช่นนี้ราว 34 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้แม่ฟลูไทม์ถึง 28 เปอร์เซ็นต์ตอบว่า ตนเองเคยเกิดภาวะซึมเศร้า ในขณะที่แม่ทำงานมีเพียง 17 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม่เฉพาะโอกาสที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อารมณ์โกรธที่ปี๊ดขึ้นมาก็มีสูงกว่าแม่ทำงาน

สาเหตุที่ภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นได้เป็นเพราะการที่แม่ต้องเลี้ยงลูกอยู่เพียงลำพัง รับมือกับเจ้าตัวน้อยอยู่เพียงคนเดียว ทั้งเลี้ยงลูก ทำงานบ้าน จนไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่ได้คุยกับใคร พูดน้อยลง หัวเราะน้อยลง จึงทำให้เกิดอารมณ์ในแง่ลบได้ แม้ทั้งวันจะมีความสุขที่ได้อยู่กับลูกน้อยก็ตาม เพราะ “งานแม่” นั้น เป็นงานที่ไม่มีวันจบจริงๆ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วคุณพ่อต้องคอยดูแลคุณแม่ คอยให้กำลังใจด้วยอีกทางหนึ่งนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการซึมเศร้าหลังคลอดเป็นยังไง มีวิธีรับมือกับอาการซึมเศร้าบ้างไหม?

อาการซึมเศร้าหลังคลอดเป็นยังไง แม่ท้องใกล้คลอดควรรู้ จะได้เตรียมรับมือกับอารมณ์ที่แปรปรวนของตัวเองได้ ซึมเศร้าหลังคลอดแก้ได้ ถ้าคุณแม่ทำตามวิธีเหล่านี้

เรา จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเราเป็นซึมเศร้าหลังคลอดหรือเปล่า? อาการซึมเศร้าหลังคลอดบางครั้งคนเป็นแม่อาจจะไม่รู้ตัว ต้องอาศัยคนรอบข้างคอยบอกคอยเตือน แนะนำว่าคุณแม่ควรบอกคนรอบข้างไว้ไม่ว่าจะสามี พ่อแม่ ตายาย หรือเพื่อนๆ จะได้มีคนช่วยเตือนสติ หรือถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์ที่แปลกไปไม่มีเหตุผลหลังจากคลอดลูก คุณแม่อาจจะเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าอยู่nลักษณะอาการของโรคซึมเศร้า

ช่วงหลังคลอดใหม่ๆ โดยพบได้มากที่สุดในช่วง 3 ถึง 6 เดือนหลังคลอด คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน สับสน เบื่อหน่าย ท้อแท้ บางคนอาจถึงกับร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล นอนไม่หลับ ได้ยินเสียงร้องกวนก็หงุดหงิดหรือร้องไห้ ทานอาหารไม่ลงหรือทานมากกว่าปกติ น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากไปมาก บางคนมีความคิดที่ไม่ดีเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก ต้องการทอดทิ้ง หรือถึงขนาดมีความคิดทำร้ายลูกขึ้นมาได้ ซึ่งมักจะตามมาด้วยความรู้สึกผิดและทำให้อาการของโรคซึมเศร้าหนักมากขึ้นไปอีก

แม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน ไม่ได้สบายอย่างที่คิด1

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่บางคนอารมณ์นี้อยู่เป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ หากความรู้สึกเศร้านั้นเป็นนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่ไม่ควรรีรอที่จะไปพบจิตแพทย์ เพื่อรับการประเมินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าหลังคลอด เพราะจิตแพทย์จะช่วยปรับทัศนคติและแนวทางในการดำเนินชีวิตเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้คุณแม่ค่อยๆ สามารถปรับตัวไปกับการเลี้ยงดูลูกอย่างมีความสุขได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

สาเหตุหลักๆ อาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น เอสโตรเจน (estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) และอื่นๆ แต่บางครั้งก็เกิดจากความเครียดและความกังวลใจในฐานะที่เป้นคุณแม่มือใหม่ เช่น ภาระที่ต้องแบกมากขึ้น การเลี้ยงดูลูก การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รวมไปถึงอิสรภาพที่ขาดหายไปทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด1. เล่าสิ่งที่อยู่ในใจให้กับคนที่คุณใกล้ชิดที่สุดฟังว่าคุณรู้สึกอย่างไร พยายามอย่าแยกตัวอยู่คนเดียวหรือเก็บความรู้สึกของคุณไว้เด็ดขาด เพราะจะรู้สึกซึมเศร้าหนักกว่าเดิม2. ถ้ารู้ว่าตัวเองมีอาการซึมเศร้ายาวนานขึ้น อย่าคิดว่าเดี๋ยวหายเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์จะดีที่สุด เพราะถ้าคุณหาหมอเร็วก็จะทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว3. หากิจกรรมทำ หรือการออกกำลังกายเพื่อการบำบัดอาการซึมเศร้า ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยบำบัดโรคนี้ได้ดีnเพลงกล่อมลูกช่วยรักษาอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้จากผลการศึกษาของนักวิจัยชื่อว่า โรซี่ เพอร์กินส์ ของ Imperial College ในกรุงลอนดอน พบว่า การร้องเพลงกล่อมลูกของแม่กับภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กัน ซึ่งหมายความว่า เวลาที่คุณแม่ร้องเพลงให้ลูกน้อยฟัง จะช่วยให้ลดอาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ได้ในระดับกลางถึงรุนแรง แถมยังช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่รวดเร็วขึ้นด้วยนะnนอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้หญิงที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดแล้วร้องเพลงให้ลูกฟัง จะสามารถลดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ร้องเพลงกล่อมลูกถึงร้อยละ 35

แม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน ไม่ได้สบายอย่างที่คิด2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นักวิจัยผู้นี้ยังบอกอีกว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่และครอบครัวรู้สึกท้อแท้ แต่งานวิจัยครั้งนี้ทำให้เขาทราบได้ว่า คุณแม่หลังคลอดจะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งได้เร็วยิ่งขึ้นหากคุณแม่ได้ร้องเพลงกล่อมลูก

แม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านไม่ได้สบายอย่างที่คิด 3

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


ที่มา :

www.manager.co.th

ไทยรัฐ

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เรื่องดีน่าแชร์! 4 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่นักโภชนาการยัน นมทารกไหนก็เลียนแบบนมแม่ไม่ได้

เลี้ยงลูกกับน้องหมาด้วยกันได้ไหม? สุนัขกับทารก มีผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้าง? 

เลี้ยงลูกยุคใหม่ ต้องไม่ตี วิจัยเผย ยิ่งตีลูกยิ่งทําให้ลูกคิดไม่เป็น ลูกเป็นซึมเศร้า

วิจัยเผย สุขภาพจิตหญิงตั้งครรภ์ สำคัญ แม่ท้องซึมเศร้ามีผลต่อลูกน้อยในครรภ์!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R