ลูกแพ้ไม่เป็น มีนิสัยชอบเอาชนะ หงุดหงิดเวลาแพ้ เพราะพ่อแม่สปอยล์จนเคยตัว

พ่อแม่ไม่ควรสปอยล์ลูก ยอมลูกทุกอย่าง แกล้งแพ้เพื่อให้ลูกชนะ จนทำให้กลายเป็น ลูกแพ้ไม่เป็น หากพ่อแม่รักลูก ควรสอนให้ลูกรู้จักแพ้ รู้จักชนะ และทำตามกฎกติกา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกแพ้ไม่เป็น พ่อแม่ทำยังไงดี

ลูกแพ้ไม่เป็น เคยชินกับการเป็นผู้ชนะ เพราะพ่อแม่คิดว่าลูกยังเล็กยอมๆ ลูกไปเถอะ แต่พ่อแม่รู้ไหมการที่ปล่อยให้ลูกชนะตลอดแบบนี้ส่งผลเสียให้ลูกมากกว่าที่คิด ถึงแม้ว่าการที่พ่อแม่ยอม อาจทำให้ลูกไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องหงุดหงิด หรือทำให้ลูกอารมณ์ดี และยอมทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้อื่น โดยวิธีที่จะฝึกให้ลูกน้อยรู้จักแพ้ รู้จักชนะนั้น พ่อแม่สามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

ปล่อยให้ลูกชนะเกิดอะไรขึ้น

การที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ชนะในเกมหรือกีฬา มีข้อดีตรงที่เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจ และมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีความมั่นใจเขาก็จะมีแนวโน้มที่จะพัฒนาความคิด และทัศนคติของตนเองได้ เพราะว่าประสบการณ์ต่างๆ ที่เด็กได้รับจะเป็นตัวสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสามารถบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้ในอนาคต

การแข่งขันต่างๆ ไม่ว่าจะเล่นเกม เล่นกีฬา ล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น เพราะจะทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ได้ดี หากลูกน้อยของคุณมีความรู้สึกอยากชนะการแข่งขัน พ่อแม่ก็ควรที่จะปลูกฝั่งให้ลูกเอาชนะการแข่งขันด้วยความคิดเชิงกลยุทธ์ ความสามารถของตนเอง ปฎิบัติตามกฎกจิกา โดยไม่ต้องโกง เพราะหากพ่อแม่โกงให้ลูกเห็น ลูกจะทำตามและติดเป็นนิสัย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเด็กแน่ๆ

อย่างไรก็ตามการปล่อยให้ลูกชนะบ่อยๆ ก็ไม่เป็นผลดีอีกเช่นกัน เพราะอาจทำให้ลูกเสพติดการชนะ เวลาเล่นเกมแพ้ ก็อาจทำให้ลูกเกิดอาการรับไม่ได้ขึ้นมาได้อีกเช่นกันค่ะ

ลูกแพ้ไม่เป็น

พ่อแม่ควรสอนลูกให้รู้จักแพ้-ชนะอย่างไร

อันดับแรก พ่อแม่ต้องทำความใจก่อนว่า การเล่นกีฬา และการแข่งขันนั้น มีจุดประสงค์อื่นที่สำคัญมากกว่าการที่เอาชนะเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากชนะ อยากได้ที่ 1 แต่คนที่ได้ครองแชมป์นั้นก็มาพร้อมกับอะไรหลายๆ อย่าง ทั้งการฝึกฝนอย่างหนักหน่วง การใช้ความคิด สติ สมาธิ รวมถึงแรงกายและแรงใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การแข่งขันทุกครั้งเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเรู้จักความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อให้ถึงเป้าหมาย การทำงานร่วมกันเป็นทีม ความร่วมมือ การเคารพคู่ต่อสู้ และการเรียนรู้กฎเกณฑ์ค่ะ สิ่งเหล่านี้คือจุดประสงคที่แท้จริงของการแข่งขัน การเล่นเกมกับเพื่อน

อย่าปล่อยให้ลูกเป็นเด็กแพ้ไม่เป็น

เมื่อลูกพ่ายแพ่พ่อแม่ควรสอนลูกยังไง

หากลูกเกิดแพ้การแข่งขัน แน่นอนว่าเด็กจะเกิดอาการไม่พอใจ หงุดหงิด และอาจร้องไห้งอแง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาทางอารมณ์ เกิดเป็นประสบการณ์ที่ดีในอนาคต ซึ่งพ่อแม่อาจเข้าไปปลอบลูก บอกลูกว่าให้ลูกฝึกมากขึ้น หรือปลอบว่าทุกคนมีสิ่งที่ตัวเองถนัดที่แตกต่างกัน เราไม่สามารถเก่งไปหมดทุกอย่างได้ แต่เราสามารถทำให้มันดีขึ้นได้ เป็นต้น

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า การที่ลูกได้เรียนรู้การพ่ายแพ้ก็มีประโยชน์เช่นกัน ตรงที่เด็กได้รู้จักการรับมือกับประสบการณ์ที่ไม่ได้ดั่งใจหวัง การรับมือกับอารมณ์ของตนเองที่มีต่อผู้อื่น และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นค่ะ

ดังนั้น พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกชนะบ้าง แพ้บ้างให้สมดุลกัน เพื่อที่ลูกจะได้รู้จักวิธีรับมือกับความพ่ายแพ้ของตัวเองได้ พอโตไปเด็กจะได้ไม่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าผู้อื่น เด็กจะได้รู้จักความพ่ายแพ้ ไม่ใช่รู้จักการที่แพ้ไม่เป็น และพยายามหาวิธีเอาชนะทุกรูปแบบโดยไม่สนกฎเกณฑ์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประโยชน์การที่เด็กได้พ่ายแพ้ คือ เด็กจะได้รู้จักข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดของตัวเอง รู้จักวิธีปรับเปลี่ยนรูปแบบ แบบแผนต่างๆ รู้จักการปรับปรุงตัวเองและแนวคิดต่างๆ เมื่อลูกได้รู้จักพัฒนาทักษะของตัวเองจากความผิดพลาดเหล่านี้ อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจนเอาชนะทั้งพ่อแม่หรือคู่แข่งได้ในอนาคตค่ะ พอลูกรู้จักการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการพ่ายแพ่ จนมาถึงวันที่ได้รับชัยชนะ เด็กก็จะรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง และมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองได้

อีกทั้ง เมื่อเด็กเคยแพ้มาก่อน พอวันใดวันหนึ่งเด็กชนะขึ้นมา เขาจะเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่าย และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่ในทางตรงกันข้าม หากเด็กเคยได้รับความชนะมาตลอด ไม่เคยแพ้เลย เด็กก็จะไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และแสดงท่าทางที่ไม่ให้เกียรติคู่ต่อสู้ค่ะ ซึ่งทำให้เด็กดูไม่ดีในสายตาของผู้อื่นอย่างแน่นอน

 

ที่มา: novakdjokovicfoundation

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิจัยชี้! เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ผลการเรียนตกต่ำ

ลูกติดเกม ติดมือถือ อันตราย! วิธีเลี้ยงดูลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกเสพติดจอ อย่าทำร้ายสุขภาพลูก

อยากให้ลูกเรียนเก่ง แบบไม่เครียด ไม่ต้องเร่งรัด พ่อแม่ต้องทำอย่างไร?

บทความโดย

Khunsiri