เด็กชอบพูดคนเดียว เป็นเด็กฉลาด แต่ก็เกิดปัญหาได้ พ่อแม่ควรทำอย่างไร

เด็กชอบพูดคนเดียว มักจะเป็นเด็กฉลาด มีความมั่นใจ มีจินตนาการ แต่การที่ลูกชอบพูดคนเดียวมากเกินไปจนอยู่กับตัวเองมากๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเหมือนกันนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กชอบพูดคนเดียว พฤติกรรมแปลกๆ ที่คุณพ่อคุณแม่อาจตกใจได้ แต่ว่ากันว่า เด็กที่ชอบพูดคนเดียวนั้น กลับเป็นเด็กที่ส่อแววว่าเป็นเด็กฉลาดและอัจฉริยะ ซึ่งพฤติกรรมนี้สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต

 

เด็กวัยเตาะแตะชอบพูดคนเดียว

เด็กวัย 2-3 ขวบ เป็นวัยที่กำลังหัดพูดหัดคุย กำลังเก็บรายละเอียดความจำที่พวกเขาได้ยินมา บางครั้งจะพูดออกมาเลยลอยๆ จนผู้ใหญ่จับได้ว่า นั่นเป็นคำพูดของคุณพ่อคุณแม่หรือสิ่งที่เด็กเพิ่งได้ยินมาไม่นานมานี้ ซึ่งพวกเขาจะพูดออกมาโดยไม่รู้ตัว เพราะว่า

 

1. เด็กชอบที่จะได้ยินเสียงตัวเอง

คุณเคยเห็นเด็กเล็กๆ ฮัมเพลงออกมาไหมคะ เพลงที่คุณเปิดฟังบ่อยๆ นั่นเพราะพวกเขาจดจำเสียงที่ผ่านมาได้จึงเผลอพูดออกมาขณะที่อารมณืเพลินๆ ซึ่งเป็นเพราะเด็กวัยนี้ชอบที่จะได้ยินเสียงตัวเอง พิสูจน์ตัวเองลึกๆ ว่าสามารถมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เด็กพยายามฝึกภาษา

ช่วงวัยเด็กเล็ก พวกเขารู้ว่า ตัวเองเริ่มพูดได้ ร้องเพลงได้ เลียนแบบได้ เด็กๆ จึงพยายามฝึกภาษาด้วยตัวเองออกมาเป็นคำพูด เช่น บางครั้งได้ยินรายการภาษาอังกฤษ ก็จะพยายามออกเสียงตาม หรือจำได้ว่า เคยได้ยินมาจากไหนสักแห่ง ซึ่งเด็กในวัยนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ให้เรียนภาษาต่างประเทศเพิ่ม เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน พวกเขาจะค่อยๆ ซึมซับเข้าไปในสมอง ดังนั้นจะพบว่า เด็กวัยนี้สามารถจดจำพูดภาษาที่สามได้เร็วขึ้น

 

3. เด็กรู้สึกว่าตนเองกำลังมีปัญหา

อย่าเพิ่งแปลกใจว่า เด็กตัวแค่นี้ก็มีปัญหากลุ้มอกกลุ้มใจเสียแล้ว จริงๆ แล้วเด็กมีปัญหาตั้งแต่แรกเกิดค่ะ กินไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ไม่สบาย การพูดคนเดียวในเด็กเล็ก อาจคล้ายๆ การบ่นกับปัญหาที่แก้ไม่ตก หรือไม่อยากบอกคุณพ่อคุณแม่ เช่น พวกเขาอาจจะเผลอบ่นขึ้นมาว่า วันนี้ขนมไม่อร่อยเลย ซึ่งอาจจะไปร้านที่คุณเพิ่งพาลูกไปกินขนมนั้นมา

 

4. เด็กต้องการแรงสนับสนุน

คุณเคยปรึกษาปัญหาเพื่อนสักเรื่องโดยที่ไม่ต้องการคำตอบแต่ต้องการแรงสนับสนุนไหม เด็กๆ เองก็เช่นกัน บางครั้ง เขาอาจจะพูดลอยๆ ขึ้นมาว่า “ไปทะเลหรือไปสวนสนุกดีนะ” ทั้งที่คุณพ่อคุณแม่ทราบอยู่แล้วว่า ลูกคุณนั้นชอบไปทะเลมากที่สุด หากคุณได้ยินลูกพูดหรือ บ่นคนเดียว ลองถามเขาดูว่า “หนูว่าทะเลดียังไง แล้ว สวนสนุกเล่นอะไรดีล่ะ” เขาจะตอบสิ่งที่ต้องการทันที หรืออาจจะต้องการแรงสนับสนุนจากคุณพ่อคุณแม่ว่า “แม่ว่าไปทะเลได้เล่น...” เขาจะรู้สึกว่าได้รับความสนใจ แรงสนับสนุบจากจากคุณพ่อคุณแม่ทันที ตรงนี้ในอนาคต เขาจะเป็นเด็กที่ไม่มีความลับกับครอบครัวด้วยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 บทความที่เกี่ยวข้อง: อยากรู้ว่าลูกฉลาดแค่ไหน แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหัวไว ส่อแววอัจฉริยะ เทคนิคการเลี้ยงลูกให้ฉลาด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กอนุบาลถึงวัยประถม พูดคนเดียวเพราะอะไร

ในวัยเด็กอนุบาลถึงประถามต้น จะเป็นวัยที่เข้าโรงเรียน มีสังคมเพื่อนเล่นแล้ว บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกชอบเล่นคนเดียว พูดคนเดียว หรือครูประจำชั้นจะคอยรายงานด้วยความเป็นห่วง แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ พวกเขามีเหตุผล เช่น

 

1. เด็กกำลังการสื่อสารกับตัวเอง

เคยไหมที่บางครั้งเราคิดอะไรในหัวแล้วเผลอพูดโต้ตอบกับตัวเอง บางครั้งก็ควบคุมได้ บางครั้งก็พูดออกมาโดยไม่รู้ตัว เด็กเล็กๆ เองก็เช่นกัน พวกเขายังไม่มีการควบคุมจึงเผลอพูดออกมาคนเดียวให้เราได้ยินบ่อยๆ เวลาที่กำลังเล่นเพลิดเพลินอยู่กับตัวเอง ซึ่งนักจิตวิทยากล่าวว่า เพราะเด็กเหล่านี้กำลังสำรวจโลกในจินตนาการและกำลังฝึกพูด เลียนแบบตามสิ่งที่พวกเขาเห็นมา เช่น เด็กๆ อาจดูการ์ตูนแล้ว จำมาแสดงบทบาทสมมติหน้ากระจกหรือเล่นกับตุ๊กตา พูดกับหุ่นยนต์ของพวกเขาอย่างเพื่อนเล่นสนุก

 

2. เด็กจะมั่นใจขึ้นเมื่อพูดกับตัวเอง

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ในรัฐเวอร์จิเนีย พบว่าเด็กอายุ 5 ขวบ จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น เมื่อพูดกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือได้รับคำสั่งจากคุณพ่อคุณแม่ เช่น การบอกตัวเองหรือเรียกชื่อตัวเองว่า ฉันทำได้ จะสร้างความมั่นใจให้เด็กๆ มากขึ้น ดังนั้น ช่วงอายุ 5 ขวบหรือวัยอนุบาล พ่อแม่ควรสร่งความมั่นใจให้ลูกมากกว่าส่งพลังลบให้พวกเขา

 

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อพบว่า ลูกกำลังพูดกับตัวเอง

หากสังเกตเห็นว่า เด็กชอบพูดกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกเรา หรือลูกของคนอื่น ผู้ใหญ่ไม่ควรขัดจินตนาการของพวกเขา เช่น ถ้าคุณเห็นเด็ก 3 ขวบกำลังคุยกับตุ๊กตาไดโนเสาร์ แสดงบบาทสมมติ คุณไม่ควรขัดเด็กๆ อย่างเช่น “ทำไมหนูถึงพูดกับไดโนเสาร์ล่ะ มันพูดไม่ได้” นั่นอาจทำให้เด็กๆ เกิดความสับสน เพราะอย่างในการ์ตูน Toy Story เราจะเห็นว่าตุ๊กตาสัตว์ต่างๆ พูดได้  ในทางกลับกัน คุณพ่อคุณแม่ควรสวมบทบาทไปกับลุกๆ เช่น “ถามไดโนเสาร์ของลูกสิ ว่าหิวไหม หนูชวนไดโนเสาร์ไปกินข้าวด้วยกันสิ” วิธีนี้นอกจากจะไม่ขัดจินตนาการลูกแล้ว ยังเป็นอุบายให้ลูกกินข้าวอย่างมีความสุขอีกด้วย

 

สิ่งที่ต้องกังวลเมื่อพบว่า เด็กชอบพูดคนเดียว มากเกินไป

เรามักจะได้ยินว่า คนพูดคนเดียวคือคนฉลาด แต่ในพฤติกรรมของเด็กๆ หากพบบ่อยและมากเกินไปจนชอบอยู่สันโดษ คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังและคอยสังเกตว่า พวกเขากำลังเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ ซึ่งโรคนี้มักจะชอบเก็บตัวและ พูดกับตัวเองมากกว่าคนอื่น ซึ่งมาจากหลายสาเหตุเช่น

  • ลูกติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป จะทำให้เด็กหมกมุ่น ไม่เป็นตัวของตัวเอง มีโลกส่วนตัวสูงแบบที่ไม่ยอมพูดกับใคร
  • การสูญเสีย เช่น สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สูญเสียสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าสัตว์เลี้ยงนั้นจะหายตัวไปหรือตาย พ่อแม่จะพบว่า บางครั้งลูกๆ ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน พูดอยู่คนเดียว พูดถึงสัตว์เลี้ยงของพวกเขา
  • เด็กเคยถูกปฏิเสธ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน หรือการถูกปฏิเสธจากพ่อแม่ไม่ให้ทำอะไรสักอย่าง พวกเขาจะจดจำและขาดความมั่นใจ ไม่กล้าเสนอตัว กลายเป็นเด็กเก็บกด ชอบพูดคนเดียว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อดีของการพูดคนเดียว

จากการวิจัยหลายชิ้น มักจะบอกว่า การพูดหรือการรำพึงรำพันคนเดียวเป็นเรื่องดี บ่งบอกว่าว่าคนนั้นฉลาดหรือถ้าเป็นเด็กก็คือ เด็กอัจฉริยะ ด้วยเหตุผลที่ว่า การพูดคนเดียวคือ การตั้งคำถามกับตัวเอง พยายามหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง หรือ เป็นการทบทวนในสิ่งที่กำลังจะทำ ซึ่งมีข้อดีคือ

 

1. สมองทำงานได้ดี

นักจิตวิทยากล่าวว่า การพูดคนเดียวทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะภาษาไม่ได้เป็นเพียงวิธีการสื่อสารกับคนอื่นเท่านั้น เมื่อสามารถนำมาให้ตัวเอง เช่น พูดกับตัวเองว่า จะต้องทำอะไร หรือบอกตัวเองว่าเห็นภาพอะไร ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราคิดเป็นภาพได้ชัดเจนขึ้น แต่ยังช่วยให้เราจดจำสิ่งที่เราตั้งใจทำมากขึ้นอีกด้วย

 

2. เกิดความท้าทาย

เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า “บอกตัวเองว่า ฉันทำได้” นั่นคือการสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง เช่นเดียวกับข้างต้น ในวัยเด็กเล็กที่พูดกับตัวเองว่า หนูทำได้ ก็คือสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองเช่นกัน ซึ่งในหลายๆ ครั้งยามที่เรามีปัญหา ไม่ต้องไปขอกำลังใจจากใคร การอยู่กับตัวเอง พูดกับตัวเอง ก็เปรียบเสมือนสร้างกำลังใจ และเกิดความท้าทายในการจะทำสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ

 

3. พูดคนเดียวคลายเครียด

เปรียบเสมือการตั้งคำถามของผู้อื่น เช่น เมื่อคุณได้ฟังปัญหาของผู้อื่น คุณจะรู้สึกเครียดน้อยลง ทั้งที่ปัญหานั้นคุณอาจเคยเผชิญกับมันมาก่อน เช่น เมื่อคุณพ่อคุณแม่ พูดขึ้นมาว่า น้องหมาของเด็กข้างบ้านหายไป ซึ่งลูกของคุณอาจจะรำพึงขึ้นมาว่า “ทำไมน้องหมาหายไปน้า น้องหมาหายไปไหน” ทั้งที่ก่อนหน้านี้ น้องหมาของลูกอาจจะเคยหายไปหรือเสียชีวิต จนลูกร้องไห้ฟูมฟาย แต่เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กคนอื่น ลูกเราอาจจะแค่ตั้งคำถามในใจ แค่นั้นเอง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด และมีพรสวรรค์ พัฒนาความสามารถของลูกให้ดียิ่งขึ้น

 

พ่อแม่ควรทำความเข้าใจกับลูกที่ชอบพูดคนเดียว

ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจในพฤติกรรมเด็กชอบพูดคนเดียว จะมีข้อดีคือช่วยพัฒนาขีดความสามารถของเด็กๆ ได้

  • พยายามเข้าไปฟังว่าลูกกำลังคิดอะไรหรือทำอะไร ซึ่งเป็นทางที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกๆ ได้มากขึ้น
  • พยายามช่วยเหลือพวกเขาทางอ้อม โดยไม่ขัด เพื่อดูทักษะความสามารถในการต่อยอดการเรียนในอนาคตได้
  • อย่าตี หรือดุด่า คุณพ่อคุณแม่ห้ามตีหรือว่าลูกว่า บ้า เป็นอันขาด เพราะจะไปกดความสามารถและการเปิดใจของลูกเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือจากเรา

 

อย่างน้อยการพูดคนเดียวของเด็ก ก็ทำให้พวกเขาเปิดใจออกมาโดยไม่รู้ตัว สร้างจินตาการตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรที่ผู้ใหญ่ควรเฝ้ามองมากกว่าห้ามปรามอย่างจริง  เมื่อลูกโตและพูดได้มากกว่านี้ พวกเขาจะเริ่มรู้จักใช้ความคิดเงียบๆ มากขึ้น ไตร่ตรองพิจารณาการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม แล้วอาการพูดคนเดียวก็จะหายไปค่ะ

 

 

บทความที่น่าสนใจ

เทคนิคเลือกของเล่น ให้พัฒนาการลูกสมวัย 

3 เทคนิคช่วยฝึกภาษาให้ลูก กลายเป็นเด็ก 2 ภาษา ตั้งแต่แรกเกิด

เทคนิคเลี้ยงลูกให้ฉลาดตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่ต้องสอนลูกด้วยวิธีเหล่านี้

ที่มา todaysparent , sanook

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan