ทำไมแม่ท้องห้ามกลั้นปัสสาวะ

แม่ท้องปวดฉี่บ่อยๆ จนบางครั้งก็รำคาญตัวเอง ขี้เกียจลุก เลยกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ แต่รู้หรือไม่ เสี่ยงอันตรายทั้งตัวแม่เองและลูกในท้องเลยนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมแม่ท้องห้ามกลั้นปัสสาวะ แม่ท้องทำไม อั้นฉี่ไม่ได้ เมื่อเหล่าคุณแม่ ๆ ตั้งท้องไตรมาสแรก มักจะมีอาการปวดฉี่บ่อย ๆ สงสัยกันไหมคะ ? ว่าทำไมตอนท้องถึงได้ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ  นั่นก็เพราะมดลูกของคุณแม่ เริ่มขยายใหญ่ขึ้น จนเบียดกระเพาะปัสสาวะ แถมไตก็ยังทำงานหนักขึ้นด้วย ร่างกายเองก็ผลิตเลือดไปเลี้ยงมดลูก  เวลาที่เลือดผ่านไต ไตก็จะกรองเอาปัสสาวะออกมา ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ โดยเฉพาะในไตรมาสแรก และไปปวดปัสสาวะบ่อยๆ อีกที ในช่วงตั้งครรภ์ ไตรมาสสุดท้าย เพราะศีรษะของลูกลดต่ำลง จนไปเบียด กระเพาะปัสสาวะ

ทำไมแม่ท้องห้ามกลั้นปัสสาวะ แม่ท้องทำไม อั้นฉี่ไม่ได้

ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เมื่อเหล่าคุณแม่ ๆ กลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ

ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เมื่อแม่ท้องกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ หรือ กลั้นปัสสาวะ เป็นเวลานาน ๆ ก็คือ อาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ จนทำให้แม่ท้องปัสสาวะแสบขัด สีของปัสสาวะเปลี่ยนไป เป็นสัญญาณเตือนว่า คุณแม่ท้องติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเข้าให้แล้ว นี่แหละคือสาเหตุ ว่าทำไมแม่ท้องห้ามกลั้นปัสสาวะ

ด้วยการขยายขนาด และการบิดของมดลูก จนเบียดท่อไต ที่ขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน จะไปขัดขวางการไหลของปัสสาวะ ทั้งยังมีฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ที่มีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบ ของทางเดินปัสสาวะ จนเกิดการไหลย้อนกลับของปัสสาวะ เป็นเหตุให้ติดเชื้อ ขึ้นไปสู่ไตได้ง่าย

 

สำหรับอาการ และโรคที่พบได้บ่อย หากเหล่าคุณแม่ ๆ ที่ตั้งท้อง ทำการกลั้นปัสสาวะ

1.พบเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ แต่ยังไม่แสดงอาการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

3.กรวยไตอักเสบ

 

อ่าน : ทำไมแม่ท้องห้ามกลั้นปัสสาวะ และความเสี่ยงต่างๆ (ต่อหน้าถัดไป)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แม่ท้อง กลั้นปัสสาวะ เสี่ยงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

การที่เหล่าคุณแม่ ๆ ตั้งท้อง แล้วทำการกลั้นปัสสาวะนั้น อันตรายกว่าที่คิด มีผลต่อตัวเหล่าคุณแม่ ๆ และทารกในครรภ์ อย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะมีความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ความเสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ทารกตัวเล็ก คลอดออกมาอาจจะมีน้ำหนักน้อย และมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต อาจจะตายแรกคลอด ส่วนตัวคุณแม่เอง หากติดเชื้อรุนแรง เสี่ยงต่อภาวะไตล้มเหลว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ? เพื่อไม่ให้คุณแม่ ๆ ที่ตั้งท้อง ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์

- เหล่าคุณแม่ ๆ ที่ตั้งท้อง ห้ามกลั้นปัสสาวะ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ และไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ต้องลุกไปห้องน้ำทุกครั้ง ที่ปวดเพื่อกำจัดแบคทีเรียบางส่วนออกไป

- แม่ท้องต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ คุณแม่ที่ตั้งท้องบางคน ไม่อยากลุกไปห้องน้ำบ่อย ๆ ก็เลือกที่จะดื่มน้ำน้อย ๆ แทน วิธีนี้ ห้ามเด็ดขาด เพราะการปัสสาวะ คือการขับแบคทีเรีย และเชื้อโรคออกไป แม่ท้องจึงจำเป็นต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ

- เหล่าคุณแม่ ๆ ที่ตั้งท้องต้องใช้น้ำเปล่า ล้างทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ไม่สวนล้างช่องคลอด ป้องกันไม่ให้แบคทีเรีย ที่อยู่ในช่องคลอดถูกทำลาย  และควรใช้ผ้าซับให้แห้งทุกครั้ง หลังจากปัสสาวะ หรืออาบน้ำเสร็จ

นอกจากนี้ แม่ท้องต้องสวมใส่กางเกงใน ที่ระบายอากาศได้ดี ป้องกันการอับชื้น และเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย และต้องเลือกเข้าห้องน้ำที่ดูสะอาด ปลอดภัย ทำความสะอาดฝานั่งรอบโถ ก่อนการนั่ง ด้วยนะคะ

 

อย่าลืมนะคะ! เหล่าคุณแม่ ๆ ที่ตั้งท้อง ห้ามกลั้นปัสสาวะ เป็นอันขาด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เอง และลูกในท้อง ไม่ให้เสี่ยงต่อการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และทวีปเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และมีผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อ และเชื่อมาเสมอว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา : timesofindia.indiatimes.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สิวในเด็กทารก อีกปัญหาที่พ่อแม่กังวล

พ่อแม่ทุกคนต่างมีลูกคนโปรด

พื้นฐานวิธีห่อตัวทารก

เด็กเลือกกินต้องระวังโรคผิดปกติทางการกิน

บทความโดย

Tulya