คุณแม่หลายคนสงสัยถึงอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของคนท้อง ทั้งเหนื่อยง่าย ง่วงบ่อย วิงเวียน ปวดเมื่อย และอาการอื่นๆ อีกมากมาย แต่ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมคนท้องง่วงบ่อย นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ มันเป็นเพราะอะไร มีอาหารแก้ง่วงสำหรับคนท้องไหมนะ
สาเหตุที่คนท้องง่วงนอนบ่อยนั้น เกิดจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆ กับขนาดของท้องที่โตขึ้นเรื่อยๆ และสิ่งที่ตามมาทันทีเลยก็คือ คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย แถมยังง่วงนอนบ่อยด้วยค่ะ
ทำอย่างไรไม่ให้ห่วงบ่อย
สำหรับวิธีการแก้ง่วงคุณแม่คงรู้แยู่แล้วว่า การได้นอนคงเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ก็นั่นแหละค่ะ คุรแม่บางคนต้องทำงาน จะให้แอบไปงีบนอนได้อย่างไรจริงไหมค่ะ แต่คุณแม่สามารถทำได้เพียงแค่รีบกินข้าว แล้วก็รีบงีบสักหน่อย เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมทำงานในช่วงบ่ายค่ะ
อาหารแก้ง่วงสำหรับคนท้อง
1.น้ำเปล่า
งงใช่ไหมค่ะว่าน้ำเปล่าจะช่วงแก้ง่วงได้อย่างไร วิธีดื่มน้ำเปล่าแก้ง่วง คือ ให้คุณแม่จิบน้ำในช่วงที่ง่วง เนื่องจากว่าน้ำเปล่าที่ดื่มเข้าไปนั้น จะช่วยเข้าไปเพิ่มระดับออกซิเจนในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นขึ้นนั่นเองค่ะ
2.กินโปรตีนให้มากขึ้น
อาหารที่มีโปรตีน ได้แก่ เนื้อ นม ไข่ ให้มากขึ้น ลดคาร์โบไฮเดรตลง ซึ่งก็คือพวกข้าว แป้ง น้ำตาล เพราะว่าอาหารพวกนี้จำเป็นต้องใช้พลังงานในการย่อยมาก พอร่างกายต้องการพลังงานก็จะดึงเอาเลือดจากสมองมาเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ไปย่อยอาหารที่กระเพาะ เมื่อสมองมีเลือดหล่อเลี้ยงน้อยเกินไป จึงเกิดอาการง่วงนอนได้ค่ะ
3.กินธัญพืชเมื่อหิว
เวลาที่คุณแม่หิวแนะนำให้กินผลไม้หหรือขนมขบเคี้ยวที่ทำจากธัญพืช อย่างเช่น คุ้กกี้ที่ผสมผลไม้ คุ้กกี้ผสมข้าวโอ้ต องุ่นสักพวง โยเกิร์ต แครอท เซเลอรี่ ถั่วอัลมอนด์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะไม่ทำให้คุณแม่ง่วงนอนหลังจากกินของว่างค่ะ
ทำอย่างไรไม่ให้ง่วงตลอดทั้งวัน
- กินอาหารให้ถูกหลัก แนะนำให้กินภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากการตื่นนอนจะดีที่สุดค่ะ เพราะว่าการทานอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลมีความสมดุลไปตลอดทั้งวัน
- หลับตาสักหน่อยเมื่อรู้สึกง่วง อาจจะหลับตาลงสักประมาณ 10-15 นาที ก็เพียงพอแล้วค่ะ
- ยืดเส้นยืดสายบ้าง สำหรับคุณแม่ที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน แนะนำให้ลุกขึ้นยืดกล้ามเนื้อ บริหารร่างกายสักประมาณ 10 นาที แค่นี้ก็ช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวแล้วค่ะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
แม่ท้องกังวล ฉีดยากันแท้ง กลัวมีผลเสียกับลูกในท้อง
วิตามินบำรุงก่อนคลอด วิตามินเสริมคนท้องมีอะไรบ้าง วิตามินเสริมจำเป็นไหม