ลูกตื่นแล้วร้องไห้ เกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

ลูกตื่นแล้วร้องไห้ เป็นแบบนี้ทุกวันผิดปกติไหม ลูกชอบร้องไห้เกิดจากสาเหตุอะไร ทำอย่างไรไม่ให้ทารกตื่นขึ้นมาร้องไห้บ้าง มาดูวิธีรับมือกันค่ะ

ลูกตื่นแล้วร้องไห้ เกิดจากอะไร

ทำไม ลูกตื่นแล้วร้องไห้ โดยเฉพาะตอนกลางคืน นอน ๆ อยู่ก็ต้องสะดุ้งตื่นทุกที พ่อกับแม่ก็แทบจะไม่ได้นอนเลยทีเดียว แล้วลูกจะเป็นแบบนี้อีกนานไหม เมื่อไหร่ลูกถึงจะหายเป็นปกติ

เหตุผลที่ทารกตื่นมาร้องไห้

  • อาการหวาดกลัวในเด็ก
  • ลูกเจ็บป่วย
  • ลูกหิว
  • รู้สึกแฉะ
  • อุณหภูมิในห้องผิดปกติ
  • นอนไม่พอ
  • เกิดความวิตกกังวล
  • ฟันกำลังจะขึ้น

พ่อแม่ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกชอบตื่นมาร้องไห้ อ่านต่อได้เลยค่ะ

 

ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ทำไมทารกถึงชอบร้องไห้กันนะ

การที่ทารกร้องไห้ ไม่ใช่แค่รู้สึกต้องการอะไรบางอย่างเพียงอย่างเดียว แต่เป็นสัญญาณของความอยู่รอดของทารก เพราะทารกยังไม่สามารถพูดได้ มีเพียงเสียงร้องเท่านั้น ที่สามารถบอกพ่อแม่ได้ค่ะ คราวนี้พ่อแม่ก็ต้องมาเดาใจว่า ลูกน้อยร้องเพราะอะไรกันแน่ และที่ทารกร้องไห้ตลอดเวลาก็เป็นเพราะว่า ทารกไม่ได้รู้หรอกว่าตอนนั้นเป็นเวลาไหน พวกเขารู้แต่เพียงว่า “หนูต้องการอะไรบางอย่าง ตอนนี้มีอะไรบางอย่างผิดปกติ ช่วยทำให้มันดีเหมือนเดิมด้วย”

 

สาเหตุที่ลูกตื่นขึ้นมาร้องไห้

1. อาการหวาดกลัวในเด็ก

เคยเห็นลูกนอนผวา ร้องไห้ ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ บ้างไหมคะ ทารกฝันร้ายได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเด็กมีอายุได้ 3-6 ปีแล้ว เพราะว่าเด็กเริ่มมีจินตนาการเข้ามาเกี่ยวข้องนั่นเอง และจะเกิดขึ้นช่วงประมาณตี 4 ตี 5 ทำให้เด็กสามารถจดจำได้ แต่หากทารกตื่นขึ้นมาร้องไห้กลางดึก อาจมาจากอาการหวาดกลัวในตอนกลางคืน ซึ่งมักจะเกิดหลังจากที่หลับได้ไม่นานมากนัก สาเหตุมาจากความเครียด เป็นไข้ ความผิดปกติขณะนอนหลับ และการถูกรบกวนขณะนอนหลับค่ะ

2. ลูกเจ็บป่วย

เวลาที่ลูกน้อยรู้สึกไม่สบาย เจ็บป่วย หรือ รู้สึกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เขาไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้พวกเขาแสดงอาการโดยการร้องไห้ออกมานั่นเองค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นไข้ ปวดคอ ปวดหู อาหารไม่ย่อย (กรณีที่เด็กเป็นโรคกรดไหลย้อน) เป็นต้นค่ะ

3. ลูกหิว

แน่นอนว่าเวลาที่ลูกร้องไห้ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะรู้ว่าลูกเรากำลังหิวอยู่แน่ ๆ หากคุณแม่สังเกตเวลาดี ๆ จะรู้ว่าช่วงเวลาไหนลูกจะตื่นขึ้นมาร้องไห้ขอกินนม แต่ถ้าคุณแม่ให้ลูกกินนมแล้วลูกยังร้องไห้ไม่หยุด หรือมีท่าทีไม่อยากกินนมให้คุณแม่สงสัยไว้ก่อนว่า ลูกเราอาจจะป่วยค่ะ

4. รู้สึกแฉะ

เวลาที่ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกว่าเนื้อตัวแฉะ เพราะผ้าอ้อมเต็มไปด้วยปัสสาวะของลูก ลูกน้อยก็จะร้องไห้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้พ่อแม่ทราบว่าเปลี่ยนผ้าอ้อมให้หนูทีเถอะนะคุณพ่อคุณแม่

5. อุณหภูมิในห้องผิดปกติ

ด้วยความที่ทารกยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เท่าที่ควร การร้องเท่านั้นที่จะเรียกให้คุณมาหา และบอกได้ว่าหนูน้อยต้องการอะไร ซึ่งถ้าเด็กรู้ตัวว่า อากาศในห้องนอนหนาวเกินไปเขาก็จะตื่นขึ้นมาร้องไห้ ในขณะที่ถ้ารู้สึกว่าร้อน อย่างมากก็จะทำได้แค่การถีบหรือปัดผ้าห่มออกบางส่วน แต่ก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่อยู่ดีค่ะ

6. นอนไม่พอ

ทารกบางคนอาจรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาจากการถูกรบกวน ทำให้เบบี๋ต้องตื่นขึ้นมาแล้วต้องร้องไห้งอแงอย่างหนัก เพื่อเป็นการบอกว่าหนูยังอยากนอนต่ออีก จะรบกวนหนูทำไม

7. เกิดความวิตกกังวล

ทารกในวัย 6 เดือน มักจะเกิดความวิตกกังวลขึ้นภายในจิตใจ ซึ่งพ่อแม่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มาก เพราะเหมือนกับว่า พอทารกถึงวัยนี้หลายคนจะแสดงอาการตื่นขึ้นมาร้องไห้หลางดึกเอง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จะสามารถทำได้เพียงปลอบประโลมให้ลูกสงบลงเท่านั้นค่ะ

8. ฟันกำลังจะขึ้น

ในช่วงที่ฟันกำลังจะขึ้น ทารกจะรู้สึกว่าไม่ค่อยสบายตัวเท่าไหร่ บางคนจะรู้สึกเจ็บปวด หรือไม่สบาย ทำให้ทารกต้องตื่นขึ้นมากลางดึกนั่นเองค่ะ

 

ทำอย่างไร เมื่อลูกตื่นขึ้นมาร้องไห้

1. ทำให้ลูกสงบ

ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องดูว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร หิวนม นอนไม่พอ หรือว่าเจ็บป่วย โดยต้องพยายามตอบสนองความต้องการลูกในขั้นแรกก่อน แล้วในระหว่างนั้นก็ค่อย ๆ ปลอบประโลมลูกเพื่อให้ลูกสงบลงค่ะ

2. จัดตารางเวลา

การจัดตารางเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลากินนม เวลาขับถ่าย หรือเวลานอนให้เป็นเวลาในทุก ๆ วัน อาจจะดูเหมือนเคร่งครัดเกินไป แต่หากทำได้ก็จะทำให้เด็กรับรู้ได้โดยอัตโนมัติว่าจะทำอะไรตอนไหน และเมื่อถึงเวลานอน ก็จะทำให้เด็กนอนหลับได้ง่าย หลับนาน หลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

3. ป้อนนมตอนใกล้เวลานอน

การให้นมลูกเมื่อใกล้ถึงเวลานอนในตอนกลางคืน หรือตอนที่เจ้าตัวน้อยใกล้หลับในตอนกลางคืน ในช่วงนี้เด็กจะดูดนมจนอิ่ม ทำให้นอนได้นานขึ้น และตื่นมาไม่ร้องไห้งอแง

4. สร้างบรรยากาศการนอน

การสร้างบรรยากาศชวนนอนจะทำให้ลูกนอนหลับสนิทขึ้น และอารมณ์ดีตอนตื่น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะสร้างบรรยากาศภายในห้องให้เงียบสงบ เปิดไฟแค่พอสลัว ๆ และอาจจะใช้ผ้าห่อตัวลูก เพื่อให้ทารกรู้สึกอบอุ่น เหมือนตอนอยู่ในครรภ์ แต่อย่ารัดแน่นเกินไป หรือหลวมจนเกินไปนะครับ

 

อาการโคลิค มักเกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิด จนถึง 3 เดือน

หลาย ๆ คนเชื่อว่า อาการโคลิคเกิดขึ้นจากความไม่สบายตัว จากการทำงานของระบบย่อยอาหาร แต่ก็ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริง อย่างไรก็ตามแม้ว่าอาการโคลิคอาจจะเกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิด ไปจนถึง 3 เดือน แต่ถ้าหากลูกทารกร้องไห้บ่อย ลูก 3 เดือน งอแงมาก ก็ไม่ได้หมายความว่า ลูกจะมีอาการโคลิค คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตว่าลูกอาจจะหิวนม หรือไม่สบายตัวต่าง ๆ แต่ถ้าหากลูกร้องไม่หยุด ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

Terrible Two เด็กอายุ 2 ขวบ งอแงมาก

เคยได้ยินไหมคะ ว่า ลูก 2 ขวบร้องตอนกลางคืน บ่อยมาก งอแงไม่มีสาเหตุ ร้องไห้ตลอดวัน พ่อแม่หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหานี้ เพราะเด็กวัย 2 ขวบกำลังเรียนรู้ที่จะเข้าสังคม พวกเขายังปรับตัวไม่ถูก และจัดการอารมณ์ตัวเองไม่ถูกเวลาไม่พอใจ คุณแม่อาจจะต้องทำความเข้าใจลูกน้อยวัย 2 ขวบ สร้างความมั่นใจให้ลูกน้อย ผ่านช่วงเวลานั้นไปด้วยกันค่ะ

 

ลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย มีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ลูก 7 เดือนร้องไห้ตอนกลางคืน ลูก 2 ขวบอารมณ์ดีมาก คุณพ่อคุณแม่อาจจะพบประสบการณ์ที่หลากหลาย อย่าเพิ่งวิตกกังวลหากลูกของคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เป็นไปตามสูตรที่เคยอ่าน สายใยความผูกพันระหว่างแม่ลูก จะทำให้คุณแม่เข้าใจลูกมากขึ้นเองค่ะ


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

source หรือ บทความอ้างอิง :  kidsimplified

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตารางการนอนทารกแรกเกิด – 15 เดือน ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ นอนกี่ครั้งต่อวัน

ลูกไม่ยอมนอนกลางคืน ทำอย่างไรดี มีวิธีอะไรช่วยให้ลูกหลับง่ายบ้าง

พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้… อย่าทำแบบนี้เวลาลูกนอน

บทความโดย

Khunsiri