อุ้มลูกน้อยด้วยแขนข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

อุ้มลูกข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ สังเกตไหมคะว่าคุณเเม่ส่วนใหญ่มักจะอุ้มลูกไว้ซ้ายมือของตัวเอง เพราะเเขนซ้ายเเข็งเเรงกว่าหรือว่าเพราะคุณเเม่ถนัดซ็าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อุ้มลูกน้อยด้วยแขนข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

พอเริ่มเป็นคุณพ่อคุณแม่ ไม่ว่าใครก็คงทำตัวไม่ค่อยถูก ทำแบบนี้ แบบนั้นจะผิดไหมนะ? บางคนทำไปก็ไม่รู้ว่าจะอันตรายกับลูกหรือเปล่า โดยเฉพาะท่าอุ้มลูกที่พ่อแม่มือใหม่มักเป็นกังวล เพราะเจ้าหนูยังบอบบาง กลัวอุ้มลูกไปจะไปโดนอวัยวะส่วนไหนแล้วน้องเจ็บ หรือไม่สบายตัว รวมถึงความปลอดภัยในการอุ้มอีกด้วย ดังนั้นท่าอุ้มลูกในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องศึกษาไว้นะ อุ้มลูกน้อยด้วยแขนข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ สังเกตไหมคะว่าคุณเเม่ส่วนใหญ่มักจะอุ้มลูกไว้ซ้ายมือของตัวเอง เพราะอะไรกันแน่

0-3 เดือน

ละลายในอ้อมแขน

1. ท่าอุ้มไกวเปล

ท่าอุ้มลูกแบบไกวเปลเป็นท่าที่นิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะเป็นท่าที่ใช้ให้นม และกล่อมลูกน้อยหลับ วิธีอุ้มท่านี้ ถ้าลูกนอนอยู่ให้ใช้มือข้างหนึ่งช้อนจับคอลูก แล้วสอดแขนอีกข้างให้ศีรษะของลูกอยู่ตรงข้อศอก ส่วนมือข้างที่จับคอให้เอามารองก้นและสะโพกของลูกเอาไว้ ท่าอุ้มลูกนี้จะทำให้ลูกหลับสบาย และยังสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกผ่านการสบตาได้อีกด้วย

2. ท่าอุ้มพาดบ่า

ท่าอุ้มลูกพาดบ่าเป็นท่าที่สบายกับลูกน้อย และยังสร้างความอบอุ่นให้กับลูกได้อีกด้วยล่ะ เพราะลูกจะได้สัมผัสไออุ่นจากอกและเสียงหัวใจของคุณแม่ โดยวิธีอุ้มคือให้ศีรษะของลูกน้อยพาดพอดีกับไหล่ โดยหันหน้าออกจากตัวแม่ มือข้างหนึ่งให้ประคองก้นลูก ส่วนอีกข้างประคองศีรษะเอาไว้ คุณแม่จะอุ้มลูกไป ร้องเพลงกล่อมไปก็ได้บรรยากาศที่ดีไปอีกแบบ

3. ท่าอุ้มนอนคว่ำ

ท่าอุ้มลูกนี้เป็นการวางลูกคว่ำไว้บนแขน เหมาะกับพ่อแม่ที่แขนแข็งแรง แต่ถ้าแขนเล็กมากเกินไป มีแต่กระดูกก็ อาจจะไม่เหมาะกับการใช้ท่าอุ้มแบบนี้เพราะลูกอาจเจ็บหรือไม่สบายตัวได้นะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนวิธีอุ้มคือให้เอาลูกพาดลงบนแขน โดยให้ศีรษะอยู่ใกล้ ๆ ข้อพับศอก แขนและขาให้ห้อยลง ส่วนมืออีกข้างของคุณพ่อคุณแม่ให้จับที่หลัง เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย การอุ้มลูกในท่านี้จะช่วยให้ลูกนอนหลับสบายและผ่อนคลายมากขึ้น และยังช่วยให้ลูกเรอ ระบายลมในท้องได้ดีอีกด้วย

4. ท่าอุ้มวางตัก

ท่าอุ้มลูกแบบวางตักเป็นท่าที่เหมาะแก่การคุยเล่นกับลูกทีเดียวล่ะ วิธีก็คือให้พ่อแม่วางลูกบนหน้าขาที่ชิดกัน แล้วเอามือขนาบข้างลำตัวของลูกไว้ เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย อาจจะต้องระวังเป็นพิเศษถ้าลูกดิ้นแรงเวลาหัวเราะ แต่ข้อดีของท่านี้ก็ช่วยให้เขาได้เห็นหน้าพ่อกับแม่ พ่อแม่ก็จะได้พูดคุยเล่นกับลูกน้อยเพื่อสานสัมพันธ์รัก นอกจากนี้ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้ว่าใครคือคนที่จะทำให้เขารู้สึกปลอดภัยอีกด้วย

3-4 เดือนขึ้นไป

เปิดปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมการอุ้มลูกข้างซ้ายจึงเป็นที่นิยมกัน เพราะเเขนคุณเเม่เเข็งเเรงกว่าเหรอ หรือเด็กๆ จริงๆ เเล้ว อุ้มลูกข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

มีการเก็บข้อมูลค่ะว่า 80% ของคุณเเม่ จะอุ้มลูกเอาไว้ข้างซ้าย ซึ่งเชื่อว่าการที่คุณเเม่อุ้มลูกไว้ข้างซ้าย มือขวาของคุณเเม่จะได้ว่าง ทำอะไรต่อมิอะไรได้

1. ท่าอุ้มเข้าเอว

ท่าอุ้มลูกเข้าเอวเป็นท่ายอดฮิตที่มนุษย์แม่ทุกคนชอบอุ้ม แต่การที่จะอุ้มท่านี้ได้ลูกต้องคอแข็งก่อนนะ! ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กจะคอแข็งประมาณอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป ดังนั้น ก่อนจะอุ้มลูกในท่านี้พ่อแม่ต้องสังเกตร่างกายของลูกดี ๆ ซึ่งวิธีอุ้มลูกคือให้ขาทั้งสองข้างของลูกขนาบกับสะโพกของคุณพ่อคุณแม่ ส่วนมืออีกข้างจับหลังของลูกไว้ เพื่อไม่ให้หงายหลัง

2. ท่านั่งเก้าอี้

ท่าอุ้มลูกแบบนั่งเก้าอี้เป็นท่าที่เหมาะแก่การอุ้มลูกไปเดินเล่น เพราะจะช่วยให้เขามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างมากขึ้น ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นได้ดีเลยล่ะ แต่ต้องรอให้ลูกคอแข็งอีกเช่นเดียวกัน วิธีอุ้มให้พ่อแม่ใช้มือหนึ่งประคองก้น ส่วนอีกมือโอบรัดตัวลูกไว้ แต่จะบอกไว้ก่อนว่าท่าอุ้มลูกแบบนี้อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เมื่อยได้ แนะนำว่าให้เปลี่ยนท่าอุ้มบ่อย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อุ้มลูกซ้ายมือ ดียังไง

จริงๆ เเล้ว สมองด้านขวาของคนเราจะรับสัญญาณจากร่างกายด้านซ้าย กลับกันสมองด้านซ้ายก็จะรับสัญญาณจากร่างกายด้านขวาค่ะ ซึ่งสมองด้านขวานั้นมีความสำคัญในการจดจ่อ เเปลงสัญญาณ เเละสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม

การอุ้มลูกเอาไว้ด้านซ้ายมือของคุณเเม่ จึงช่วยให้คุณเเม่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เเละระมัดระวังภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คอยปกป้องลูกจากอันตรายรอบด้าน นอกจากนี้ยังช่วยให้การสานสัมพันธ์กับลูกน้อยได้ด้วย จากการช่วยเหลือของสมองซีกขวา สิ่งเหล่านี้ก็คือเหตุผลเเละเเนวโน้มตามธรรมชาติที่คุณเเม่ส่วนใหญ่อาจจะไม่ทราบกันก็เป็นได้ค่ะ

6 ท่าอุ้ม ที่ห้ามทำเด็ดขาด เพราะอันตรายต่อลูก ! 

  

การอุ้มลูกวัยทารกดูดนม อุ้มไล่ลม อุ้มกล่อม อุ้มเดินเล่น เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ แต่หากพ่อแม่อุ้มไม่ถูกต้อง ข้อเสียที่เกิดขึ้นกับลูกมีหลายอย่างเลยนะคะ

1. วัย 0-3 เดือน อุ้มไม่ได้ประคองคอและหลัง เด็กวัยนี้กล้ามเนื้อคอและหลังยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกโดยไม่ประคองคอและหลัง จะทำให้กล้ามเนื้อของลูกอักเสบได้

2. วัย 3-6 เดือน ไม่ได้ประคองหลัง เด็กวัยนี้แม้กล้ามเนื้อคอจะพัฒนาจนชันคอได้แล้ว แต่กล้ามเนื้อหลังยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้กล้ามเนื้อหลังของลูกอักเสบได้

3. อุ้มเขย่าหรืออุ้มโยน ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากทำให้เลือดออกในสมองของลูกได้

4. อุ้มลูกในท่าที่คอพับหรือหงายเกินไป ทำให้ลูกหายใจได้ไม่สะดวก ควรสังเกตลูกตลอดว่าคอลูกพับลงมาจนทำให้คางติดหน้าอกหรือเปล่า หรือว่าอุ้มแล้วลูกแหงนหน้าจนเกินไปหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. อุ้มเข้าเอวเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อลูกและกล้ามเนื้อของพ่อแม่อักเสบได้ และลูกจะเห็นมุมมองที่ซ้ำๆ เดิมๆ ไม่เห็นมุมมองใหม่ๆ ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกด้วย

6. อุ้มลูกนอน คุณพ่อคุณแม่บางคนอุ้มลูกจนหลับไป แต่ลืมระมัดระวังศีรษะของลูก หากอุ้มพาดบ่าลูกอาจจะหลับคอพับคออ่อน นอกจากจะเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อของลูกแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

เลี้ยงลูกคนโต ไม่ให้เขารู้สึกขาดความรัก

นอกจากนี้..เพราะสุขภาพของลูกเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องใส่ใจ ยิ่งหากคุณเป็นคุณแม่มือใหม่ด้วยแล้ว การเรียนรู้ ศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องสุขภาพทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อต้องห้ามหลังคลอดต่างๆ ทั้งต่อตัวคุณเองและตัวลูกน้อยเองนั้น ย่อมถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเลยล่ะ ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าข้อต้องห้ามที่คุณแม่ควรเฝ้าระวังและไม่ควรปฏิบัติกับเจ้าตัวน้อยที่คุณรักนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

1.ห้ามออกนอกบ้านก่อน 3 เดือนละเจ็บป่วยด้านอื่นๆ แทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้ค่ะ

เพราะภูมิคุ้มกันและระบบต่างๆ ทั้งภายในภายนอกของลูกน้อยยังทำงานไม่เต็มที่ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กออกนอกบ้าน รวมถึงการเดินทางไปที่สาธารณะที่มีคนเยอะๆ ด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ร่างกายของลูกติดเชื้อและเจ็บป่วยด้านอื่นๆ แทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้ค่ะ

2.ห้ามทานอาหารเสริมก่อนถึงวัย 6เดือน
สำหรับเด็กแรกคลอดนั้น ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ จึงไม่ควรให้ทานอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ จนกว่าจะถึงวัยที่รับประทานอาหารเสริมอื่นๆ ได้

3.ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
ผิวหนังของทารกมีความบอบบางมาก อาจเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวได้ง่าย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู หรือข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ควรเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ที่สำคัญแป้งเด้ก คุณแม่ควรตรวจสอบส่วนผสมด้วยค่ะ ว่า มีสารต้องห้าม ทัลคั่มด้วยหรือเปล่า ห้ามใช้นะคะ

4.ห้ามนอนหรืออุ้มเด็กผิดท่า
กระดูกและกล้ามเนื้อของทารกยังคงบอบบาง จึงควรจัดท่าทางการนอนหรือการอุ้มด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงระวังบริเวณข้อต่อต่างๆ และคอด้วย หากให้ดีแนะนำให้คุณแม่ควรศึกษาท่าอุ้มลูกในอิริยาบถต่างๆ ไว้เนิ่นๆ ล่วงหน้าก่อนคลอดจะดีกว่าเพื่อให้เกิดการทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจนก่อนที่วันคลอดจะมาถึง ทำให้การอุ้มลูกหลังจากคลอดแล้วเต็มไปด้วยความเข้าใจและระมัดระวังมากกว่าความเก้ๆ กังๆ และความประหม่าที่อาจมีมากกว่า

5.ห้ามกดบริเวณกระหม่อม
กระหม่อมของเด็กทารกยังคงบอบบางมาก อีกทั้งยังพัฒนาไม่เต็มที่จึงมีโอกาสฉีกขาดสูงหากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง จนอาจเกิดภาวะร้ายแรงตามมาและอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ดังนั้นห้ามกดหรือทำกิจกรรมที่จะไปกระทบสมองของลูกน้อยเด็ดขาด

เมื่อได้ทราบข้อห้ามเหล่านี้แล้วก็อย่าลืมใส่ใจและระมัดระวังกันให้มากนะคะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งของคุณแม่ รวมถึงความปลอดภัยต่อลูกน้อยด้วย หลายข้ออาจดูเหมือนยุ่งยากแต่จริงๆ แล้วปฏิบัติได้ง่ายมาก เพียงแค่ต้องหมั่นเอาใจใส่เท่านั้นเองค่ะ

ที่มา momjunction

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทำไมพ่อถึงเป็นอีกคนที่ควรอุ้มลูกแบบเนื้อแนบเนื้อ

ท่าอุ้มลูกที่ถูกวิธี แม่ปลอดภัย ไม่เป็นเอ็นข้อมืออักเสบ

https://parenttown.com/