เมื่อไหร่ถึงควรพาลูกไปหาหมอ

พ่อแม่ที่มีลูกคนแรกมักมีความระมัดระวังอย่างมาก คุณจะเห็นว่าพวกเขาพยายามโทรศัพท์หาแพทย์หรือพาลูกไปหาหมอในทุกเรื่องเลย บางครั้งการพาลูกไปหาหมอก็เป็นสิ่งประกันว่าคุณจะได้คำตอบที่ถูกต้อง แต่ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดี บทความนี้จะช่วยแนะนำคุณว่าเมื่อไหร่คุณควรพาลูกไปหาหมอ และเมื่อไหร่ที่คุณสามารถดูแลลูกได้เองโดยไม่ต้องพึ่งคำแนะนำจากแพทย์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ถึงควรพาลูกไปหาหมอ

เมื่อไหร่ถึงควรพาลูกไปหาหมอ?

การพาลูกไปหาหมอในหลาย ๆ สถานการณ์เป็นเรื่องสำคัญและคุณจำเป็นต้องทำ แต่การพาลูกไปหาหมอเพื่อปรึกษาในทุกเรื่องที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยเกิดใหม่ก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะคุณไม่เพียงแต่เปลืองค่าน้ำมันพาลูกไปพบกุมารแพทย์ แต่คุณยังไม่ให้ลูกน้อยได้พักผ่อนเต็มที่เพราะลูกน้อยของคุณต้องถูกอุ้มไปนั่นมานี่ ใช่อยู่ที่บางครั้งคุณก็ต้องโทรปรึกษาแพทย์บ้าง แต่สำหรับบางอาการที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยแล้ว คุณอาจเพียงใช้น้ำอุ่น ๆ รักษาลูกเท่านั้น

พ่อแม่หลายคนพยายามโทรศัพท์หาแพทย์หรือพาลูกไปหาหมอในทุกเรื่องเลย บางครั้งก็ควรทราบว่า เมื่อไหร่ถึงควรพาลูกไปหาหมอ? ข้อควรระวังสำหรับคุณพ่อคุณแม่

เมื่อลูกป่วย..ไม่สบาย ควรดูแลอย่างไร

เมื่อลูกป่วย  คุณแม่ไม่ควรทำตามสัญชาตญาณคือตามใจเด็ก  ถ้าอาการไม่หนักหนาเกินไป และ รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ภายใน 2-3 วันอาการป่วยก็หายแล้วค่ะ คุณแม่ ไม่ควรวิตกกังวลตามอาการที่เด็กแสดงออกมา อาทิ  งอแงมากเกินไป  หรือ เรียกร้องในสิ่งที่ต้องการเป็นการแลกเปลี่ยน  เมื่อถึงเวลาต้องนอนพัก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติตามได้ยากเพราะ ลูกอยู่ในวัยกำลังซนแล้ว คุณแม่อาจหากิจกรรมที่สามารถทำบนเตียงนอนได้ อาทิ วาดรูประบายสีด้วยสีไม้ หรือ ของเล่นอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เขาออกไปซนด้านนอก และ ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือ ต้องนอนนานเกินสัปดาห์ คุณแม่อาจหากิจกรรมมาทำร่วม อาทิ สอนการบ้าน หรือสอนงานประดิษฐ์ที่เด็กทำได้ การอ่านนิทานหรือเล่าเรื่องสนุก ๆ ทำให้เขาสนใจ

ถ้าเด็กต้องได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานานที่โรงพยาบาลแล้ว ผู้ปกครองควรบอกเขาตั้งแต่เนิน ๆ ว่าจะต้องไปโรงพยาบาล ไม่ควรหลอกเขาว่าจะพาไปเล่นหรือไปเที่ยว และ ควรอธิบายให้เขาเข้าใจได้ง่าย ๆ หากมีการรักษาหรือตรวจโรค เช่น การเจาะเลือด ควรอธิบายหรืออยู่ข้าง ๆ เด็ก และไม่ควรแสดงออกทางสีหน้าที่ชัดเจนว่าวิตกกังวล เพราะลูกของคุณจะรับรู้ได้เช่นกัน

เมื่อลูกมีไข้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แน่นอนว่า มีบางครั้งลูกจะมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น นั่นเป็นเพราะลูกกำลังมีการพัฒนาเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่รอบตัวเขา หากลูกตัวร้อน กุมารแพทย์มักแนะนำว่าอย่าวิตกหากอุณหภูมิของลูกต่ำกว่า 37.8 องศาเซลเซียส หรือว่าร่างกายลูกจะมีอุณหภูมิสูงกว่านั้น ให้ลองให้ยาแก้ไข้กับลูกก่อน แต่หากลูกคุณมีอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38.8 องศาเซลเซียส ให้คุณโทรปรึกษาแพทย์ได้

อาการไอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไม่สบาย ปรึกษาหมอ เด็กเฉพาะทางฟรี 24 ชม.

เด็กเกิดใหม่หลาย ๆ คนยังจะมีอาการไอเบา ๆ อยู่บ้างเล็กน้อยเมื่อกลับมาที่บ้านหลังจากคลอดแล้ว  อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการปกติเนื่องจากในคอของลูก ยังมีสิ่งเกาะอยู่เมื่อเขาอยู่ในท้อง และ ต้องใช้เวลาสักระยะถึงจะหายไป แต่หากลูกคุณไอติดต่อกันมากกว่าหนึ่งครั้งหรือลูกมีปัญหาในการหายใจเนื่องมาจากอาการไอ ให้โทรปรึกษาแพทย์โดยทันทีเพราะนี่อาจเป็นสัญญาณว่ามีบางสิ่งติดอยู่ในปอดของลูก ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

น้ำลายไหลย้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไม่สบายตัวทั้งวัน

เด็กจะมีอาการน้ำลายไหลย้อยเป้นปกติ  และ บ่อยครั้ง คุณพ่อ คุณเเม่ จะพบว่า ลูกเป็นเช่นนี้เมื่อคุณเพิ่งเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ให้ เฮ้อ! โดยปกติแล้ว อาการน้ำลายไหลยืดนี้เป็นอาการปกติ แต่คุณก็ควรจำไว้ว่า หากลูกมีน้ำลายไหลย้อยในปริมาณที่มากขึ้น มีสีปนหรือมีลักษณะเหมือนนมบูด ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ดู ในแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่จำนวนมากที่มีอาการกรดไหลย้อน นี่อาจเป็นการเจริญเติบโตตามปกติ เพียงแต่ อาจสร้างความรำคาญให้คุณและลูกได้ในบางครั้งเท่านั้นเอง ไม่ต้องกังวลไปค่ะ

ของเสียที่ผ้าอ้อมมีลักษณะเปลี่ยนไป

ลูกไม่ สบายทำไงดี?

หากคุณสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติอยู่บ่อยครั้งเมื่อคุณเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก เช่น มีกลิ่นเหม็นรุนแรง  ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยน  ไม่มีน้ำปัสสาวะ หรือ จุดเลือดที่ของเสียของลูก คุณควรพาลูกไปหาหมอทันที  เพราะนี่เป็นสิ่งที่แพทย์ควรทราบ และ ให้ความช่วยเหลือ บางครั้งอาจจะไม่มีอะไร แต่คุณเองก็ไม่รู้ว่ามันจะร้ายแรงหรือไม่ ควรป้องกันไ้ว้ก่อนค่ะ

อาการอาเจียน

ลูกอ้วกตลอดเวลา

บางครั้ง อาการอาเจียนอาจแสดงถึงอาการร้ายแรงได้  หากลูกน้อยของคุณอาเจียนมาก และ มีอาการสำลักด้วย คุณไม่ควรมองข้ามอาการเช่นนี้เด็ดขาด  เด็กบางคนอาจอาเจียน  เพราะขวดนมเนื่องจากจุกนมเข้าไปลึกจนเกินไป  แต่หากคุณทราบแล้วว่าลูกอาเจียนเพราะสาเหตุอื่น  หรือเมื่อคุณเอาเขานอนลงบนเตียง คุณอาจจำเป็นต้องปรึกษากุมารแพทย์ถึงอาการนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม ด้วยวัยของเขาที่ยังไม่รู้อะไรมากมายเหมือนผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น การแสดงออกคุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการที่แสดงออก และควรบอก พร้อมอธิบายให้เขาเข้าใจ เด็กจะเข้าใจได้ง่าย และ สามารถปรับตัวรับสถานการณ์นั้นได้ เพื่อการรักษาให้หายและไม่เป็นปมภายใจใน  หลายครั้งต้องแสดงออกอย่างร่าเริงเพื่อเป็นกำลังใจเขา ซึ่งมาจากคุณพ่อคุณแม่คอยให้กำลังใจอยู่ข้าง ๆ นั่นเองค่ะ

 

The Asianparent Thailand

เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง 

The Asianparent Thailand  ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และ ตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

ที่มา : 1

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ

: อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!

https://www.maerakluke.com

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team